Search This Blog

Wednesday, September 25, 2013

ประกาศยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 24 ขนาน พ.ศ 2556

ประกาศยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 
24 ขนาน พ.ศ. 2556



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


ประกาศยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 
พ.ศ. ๒๕๕๖

รากไคร้เครือที่ถูกเอาออกจากตำรับยา

ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 24 ขนาน พ.ศ. 2556

1

ยาประสะกะเพรา

9

ยาธรณีสันฑะฆาต

17

ยาหอมเทพจิตร

2

ยาวิสัมพยาใหญ่

10

ยาถ่าย

18

ยาหอมทิพโอสถ

3

ยาประสะกานพลู

11

ยาเหลืองปิดสมุทร

19

ยาหอมอินทจักร์

4

ยาแสงหมีก

12

ยาธาตุบรรจบ

20

ยาหอมนวโกฐ

5

ยามันทธาตุ

13

ยาจันทน์ลีลา

21

ยาอำมฤควาที

6

ยาประสะเจตพังคี

14

ยาประสะจันทน์แดง

22

ยาประสะมะแว้ง

7

ยามหาจักรใหญ่

15

ยาเขียวหอม

23

ยาประสะไพล

8

ยาตรีหอม

16

ยามหานิลแท่งทอง

24

ยาประสะเปราะใหญ่


ประกาศยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ๒๕๕๖

หน้า  ๓๐
เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง ยาสามัญประจําบ้านแผนโบราณ พ.ศ.  ๒๕๕๖

      โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจําบ้านแผนโบราณให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางการแพทย์และการสาธารณสุขในปัจจุบัน
      อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๗๖(๕) (๗) (๘)และ(๙) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ.๒๕๑๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา(ฉบับที่  ๓)  พ.ศ.  ๒๕๒๒  อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  ซึ่งมาตรา  ๒๙  ประกอบกับมาตรา  ๓๓มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  บัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของคณะกรรมการยา  จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
    ข้อ  ๑  ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องยาสามัญประจําบ้านแผนโบราณ  ลงวันที่
๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๒
    ข้อ  ๒  ให้ยาแผนโบราณตามตํารับยาที่มีตัวยาสําคัญตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัว  ดังต่อไปนี้
เป็นยาสามัญประจําบ้าน

    (๑)  ยาขับลม (แก้ท้องอืด  ท้องเฟ้อ  บํารุงธาตุ) 

           ตัวยาตรง  ได้แก่  กระเทียม(หัว)  กระวาน(ผล)  กะทือ(เหง้า)  กะเพราแดง(ใบ) 
กานพลู(ดอก)  กุ่มน้ํา(เปลือกต้น)  กุ่มบก(เปลือกต้น)  ขมิ้นชัน(เหง้า)  ขมิ้นอ้อย(เหง้า)  ข่า(เหง้า) ขิง(เหง้า)  จันทน์เทศ(รกหรือเมล็ด)  เจตพังคี(ราก)  ช้าพลู(ราก)  ดีปลี(ผล)  ตะไคร้(ต้นหรือเหง้า) เบญจกูล ผักแพวแดง(ต้น)  พริกไทย(เมล็ดหรือผล)  มหาหิงคุ์(ยาง  หรือgum - oleoresin) เร่ว(เมล็ดหรือผล)  สมุลแว้ง(เปลือกต้น)  สะค้าน(เถา)  หัสคุณเทศ(ต้น)  แห้วหมู(หัว)  อบเชย(เปลือกต้น) 

          ตัวยาช่วย  ได้แก่  กระพังโหม(ต้น)  กะเพราขาว(ใบ)  การบูร  กําจัด(เปลือกผล) 
ข่าต้น(เนื้อไม้)  ข่าลิง(เหง้า)  จันทน์แปดกลีบ(ผล)  เทพทาโร(เปลือกต้นหรือเนื้อไม้)  เทียนขาว
เทียนข้าวเปลือก  เทียนดํา  เทียนแดง  เทียนตาตั๊กแตน  เทียนเยาวพาณี  เทียนสัตตบุษย์  เปราะป่า(หัว)  เปราะหอม(หัว)  เปล้าน้อย(ใบ)  เปล้าใหญ่(ใบ)  ผักชีลา(ผล)  ผักชีล้อม(ผล)  แฝกหอม(ราก)  พริกหอม(ผล)  พริกหาง(ผล)  มะกรูด(ผิวผลหรือใบ)  มะนาว(ผิวผลหรือใบ)  มะรุม(เปลือกต้น) ลําพันขาว(เหง้า)  ลําพันแดง(เหง้า)  ลําพันหางหมู(เหง้า)  สวาด(ใบ)  สะค้าน(ผล)  สะระแหน่(ใบ)  หอม(หัว)  หอมแดง(หัว) 

         โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา 

หน้า  ๓๑
เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖


       (๒)  ยาถ่าย หรือยาระบาย

              ตัวยาตรง ได้แก่ โกฐน้ําเต้า(เหง้า)  คูน(เนื้อในฝักแก่)  ชุมเห็ดเทศ(ใบหรือดอก)  ดีเกลือ
ตองแตก(ราก)  มะกา(ใบ)  มะขามแขก(ใบหรือฝัก)  มะขามเปียก(เนื้อในฝัก)  ยาดํา  สมอดีงู(ผล) 
สมอเทศ(เนื้อผล)  สมอไทย(เนื้อผล) 

              ตัวยาช่วย ได้แก่  กรรณิการ์(ราก)  กระเทียม(หัว)  กระพังโหม(ต้น)  กระวาน(ผล) 
กะทือ(เหง้า)  กะเพราขาว(ใบ)  กะเพราแดง(ใบ)  กานพลู(ดอก)  กําจัด(เปลือกผล)  กุ่มน้ํา
(เปลือกต้น) กุ่มบก(เปลือกต้น)  เกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ ขมิ้นชัน(เหง้า) ขมิ้นอ้อย(เหง้า)  ข่า(เหง้า) 
ข่าต้น(เนื้อไม้) ข่าลิง(เหง้า) ขิง(เหง้า) ขี้เหล็ก(ดอกหรือแก่น) จันทน์เทศ(รกหรือเมล็ด) จันทน์แปดกลีบ
(ผล)  เจตพังคี(ราก)  ช้าพลู(ราก)  ดีปลี(ผล)  ตะไคร้(ต้นหรือเหง้า)  เทพทาโร(เปลือกต้นหรือเนื้อไม้) 
เทียนขาว  เทียนข้าวเปลือก  เทียนดํา  เทียนแดง  เทียนตาตั๊กแตน  เทียนเยาวพาณี  เทียนสัตตบุษย์
เปราะป่า(หัว) เปราะหอม(หัว) เปล้าน้อย(ใบ) เปล้าใหญ่(ใบ)  ผักชีลา(ผล)  ผักชีล้อม(ผล)  ผักแพวแดง
(ต้น)  แฝกหอม(ราก)  พริกไทย(เมล็ดหรือผล)  พริกหอม(ผล)  พริกหาง(ผล)  มะกรูด(ผิวผลหรือใบ) 
มะดัน(ใบหรือรกมะดัน)  มะนาว(ผิวผลหรือใบ)  มะรุม(เปลือกต้น)  เร่ว(เมล็ดหรือผล)  ลําพันขาว(เหง้า) 
ลําพันแดง(เหง้า)  ลําพันหางหมู(เหง้า)  ส้มป่อย(ฝักหรือใบ)  สมุลแว้ง(เปลือกต้น)  สวาด(ใบ) 
สะค้าน(เถาหรือผล)  สะระแหน่(ใบ)  หอม(หัว)  หอมแดง(หัว)  หัสคุณเทศ(ต้น)  แห้วหมู(หัว) 
อบเชย(เปลือกต้น)
 
            โดยสูตรส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน  และขนาดบรรจุ  ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

     (๓)  ยาแก้ท้องเสีย

            ตัวยาตรง  ได้แก่  กระท้อน(ราก)  โกฐพุงปลา  (Gall)  ขี้อ้าย(เปลือกต้น)  ไข่เน่า
(เปลือกต้น)  ครั่ง  แค(เปลือกต้น)  ชา(ใบ)  ซิก(เปลือกต้น)  ทับทิม(เปลือกผล)  เนระพูสี(ต้น) 
เบญกานี (Gall) ปอบิด(ผล)  ฝรั่ง(ใบหรือผลดิบ)  ฝิ่นต้น(เปลือกต้น)  เพกา(เปลือกต้น)  ฟ้าทะลายโจร
(ใบหรือต้นก่อนมีผล)  มหาสดํา(เหง้า)  มะเดื่อชุมพร(เปลือกต้น)  มะตูม(ผลดิบ)  มังคุด(เปลือกผล) 
สีเสียดเทศ(สิ่งสกัดจากกิ่งและใบโดยการต้มเคี่ยวกับน้ํา) สีเสียดไทย(สิ่งสกัดจากเนื้อไม้โดยการต้มเคี่ยวกับน้ํา) สีเสียดเปลือก(เปลือกต้น)  หว้า(เปลือกต้น) 

           ตัวยาช่วย ได้แก่ กรัก(แก่นขนุน)  กล้วยน้ําว้า(ผลดิบ)  ก้างปลาขาว(ราก)  ก้างปลาแดง
(ราก) ขมิ้นเครือ(เถา) ขมิ้นชัน(เหง้า) ตาล(ราก)  พิลังกาสา(ผล)  มะพร้าว(ราก)  โมกหลวง(เปลือกต้น) 
หมากสง(เมล็ด)
 
          โดยสูตรส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน  และขนาดบรรจุ  ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา 

หน้า  ๓๒
เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๔)  ยาแก้ไข้

           ตัวยาตรง  ได้แก่  กระดอม(ผลอ่อน)  กรุงเขมา(ราก)  กอมขม(เนื้อไม้)  กันเกรา
(แก่น)  คนทา(ราก)  จันทน์ขาว(แก่น)  จันทน์แดง(แก่น)  จันทน์เทศ(แก่น)  ชิงช้าชาลี(เถา)  ชิงชี่
(ราก)  เท้ายายม่อม(ราก)  บอระเพ็ด(เถา)  ปลาไหลเผือก(ราก)  ฟ้าทะลายโจร(ใบหรือต้นก่อนมีผล) 
มะเดื่อชุมพร(ราก)  ย่านาง(ราก)  ลูกใต้ใบ(ทั้งต้น)  สะเดาไทย(เปลือกต้นหรือก้านใบ)  เหมือดคน(ราก) 

           ตัวยาช่วย ได้แก่  กรรณิการ์(ดอก)  กระเจี๊ยบแดง(กลีบเลี้ยงและริ้วประดับ)  เก๊กฮวย
(ดอก)  แก้วแกลบ  โกฐก้านพร้าว  โกฐจุฬาลัมพา  โกฐสอ  ขลู่(ต้นหรือใบ)  ข้าวโพด(เกสรตัวเมีย) 
ขี้กาแดง(ราก)  ขี้ครอก(ต้น)  โคกกระสุน(ต้น)  โคกกระออม(เถา)  จันทน์ชะมด(แก่น) 
เฉียงพร้านางแอ(เปลือกต้น)  ชะลูด(เปลือกต้น)  เดือย(เนื้อในเมล็ด)  โด่ไม่รู้ล้ม(ทั้งต้น)  ตะไคร้(ทั้งต้น) 
ไทรย้อย(รากอากาศ)  เนระพูสี(ต้น)  บานไม่รู้โรยดอกขาว(ราก)  ผักกาดน้ํา(ต้น)  ผักหวานบ้าน(ราก) 
ฝ้ายแดง(ใบ)  แฝกหอม(ราก)  พญายา(เนื้อไม้)  พิมเสนต้น(ใบ)  ฟักข้าว(ราก)  มหาสดํา(ต้น) 
มะกรูด(ราก)  มะนาว(ราก)  มะปราง(ราก)  มะเม่า(ราก)  มะระขี้นก(เนื ้อผลดิบ)  มะละกอ(ราก) 
ลําเจียก(ราก)  ว่านกีบแรด(เหง้า)  สน(แก่น)  สัก(แก่นหรือใบ)  สับปะรด(เหง้า)  สายน้ําผึ้ง(ดอก) 
สารพัดพิษ(ผล)  สารส้ม เสนียด(ใบหรือดอก)  ไส้หญ้าปล้อง หญ้าขัดมอน(ราก)  หญ้าคา(เหง้าและราก) 
หญ้าชันกาด(เหง้าและราก) หญ้าไซ(ทั้งต้น) หญ้าใต้ใบ(ทั้งต้น)  หญ้าถอดปล้อง(ทั้งต้น)  หญ้าพันงู(ราก) หญ้าหนวดแมว(ใบอ่อน)  หมากผู้หมากเมีย(ใบ)  หวายตะค้า(เถา)  แห้วหมู(หัว)  อ้อยแดง(ลําต้น) อินทนิลน้ํา(ใบ)  อีเหนียวเล็ก(ราก) 

           โดยสูตรส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน  และขนาดบรรจุ  ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

    (๕)  ยาแก้ร้อนใน

            ตัวยาตรง  ได้แก่  ก้างปลาขาว(ราก)  ก้างปลาแดง(ราก)  เก๊กฮวย(ดอก)  งิ้ว(ดอก) 
จันทน์แดง(แก่น)  จันทน์เทศ(แก่น)  ตําลึง(ใบ)  เตยหอม(ใบ)  ผักกระโฉม(ใบหรือต้น)  แฝกหอม(ราก) 
พิมเสนต้ น(ใบ)  พุงทะลาย(เปลือกหุ้มเมล็ดที่พองตัวเต็มที่แล้ว)  เพกา(เมล็ด)  ฟ้าทะลายโจร(ใบหรือต้นก่อนมีผล)  มะระขี้นก(เนื้อผลดิบ)  สันพร้ามอญ(ต้นหรือใบ)  สันพร้าหอม(ต้นหรือใบ)  สายน้ําผึ้ง(ดอก) หญ้าใต้ใบ(ต้น) 

            ตัวยาช่วย ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง(กลีบเลี้ยงและริ้วประดับ) กระพี้เขาควาย(เนื้อไม้)  แก้วแกลบ
ขลู่(ต้นหรือใบ)  ข้าวโพด(เกสรตัวเมีย)  ขี้ครอก(ต้น)  คงคาเดือด(เนื้อไม้)  โคกกระสุน(ต้น) 
เฉียงพร้านางแอ(เปลือกต้น)  เดือย(เนื้อในเมล็ด)  โด่ไม่รู้ล้ม(ทั้งต้น)  ตะไคร้(ทั้งต้น)  ตับเต่าน้อย(ราก) 
ตับเต่าใหญ่(ราก)  ถั่วเขียว(เมล็ด)  ไทรย้อย(รากอากาศ)  น้ําเต้า(ผลหรือใบ)  บัวบก(ต้น) 
บานไม่รู้โรยดอกขาว(ราก)  ผักกาดน้ํา(ต้น)  ผักโขมหัด(ราก)  ผักโขมหิน(ราก)  มะเม่า(ราก) 
มะละกอ(ราก)  ลําเจียก(ราก)  สัก(แก่นหรือใบ)  สับปะรด(เหง้า)  สารส้ม  ไส้หญ้าปล้อง  หญ้าคา
(เหง้าและราก)  หญ้าชันกาด(เหง้าและราก)  หญ้าไซ(ทั้งต้น)  หญ้าตีนนก(ต้น)  หญ้าถอดปล้อง
(ทั้งต้น)  หญ้าพันงู(ราก)  หญ้าหนวดแมว(ใบอ่อน)  หม่อน(ใบ)  หัวถั่วพู  แห้วหมู(หัว)  อ้อยแดง
(ลําต้น)  อินทนิลน้ํา(ใบ)  อีเหนียวเล็ก(ราก) 

          โดยสูตรส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน  และขนาดบรรจุ  ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๖)  ยาบรรเทาหัด  อีสุกอีใส

          ตัวยาตรง  ได้แก่  คนทา(ราก)  จันทน์แดง(แก่น)  จันทน์เทศ(แก่น)  ชิงชี่(ราก) 
เท้ายายม่อม(ราก) เนระพูสี(ต้น)  ผักกระโฉม(ใบหรือต้น)  พญายอ(ใบ)  พิมเสนต้น(ใบ)  มหาสดํา(ต้น) 
มะคําดีควาย(ผลแก่สุมไฟ)  มะเดื่อชุมพร(ราก)  มะระขี้นก(ใบ)  ย่านาง(รากหรือใบ)  ว่านกีบแรด(เหง้า) 
สันพร้ามอญ(ต้น)  สันพร้าหอม(ต้นหรือใบ) 

          ตัวยาช่วย ได้แก่  ชิงช้าชาลี(เถา)  บอระเพ็ด(เถา) 

          โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   (๗)  ยาแก้ลมวิงเวียน

          ตัวยาตรง ได้แก่ กระลําพัก(จากแก่นสลัดได)  กฤษณา(เนื้อไม้)  เกล็ดสะระแหน่ ขอนดอก
(จากแก่นพิกุล)  จันทน์ชะมด(แก่น)  จันทน์เทศ(แก่น)  จันทน์หอม(เนื้อไม้)  ชะมดเช็ด(เมือกหรือไข
จากต่อมกลิ่น)  ชะลูด(เปลือก)  เทียนขาว  เทียนข้าวเปลือก  เทียนดํา  เทียนแดง  เทียนตาตั๊กแตน
บัวหลวง(เกสร)  บุนนาค(ดอก)  เปราะหอม(หัว)  แฝกหอม(ราก)  พิกุล(ดอก)  พิมเสน  พิมเสนต้น
(ใบ)  มะกรูด(ผิวผล)  มะงั่ว(ผิวผล)  มะนาว(ผิวผล)  มะลิ(ดอก)  ส้มเขียวหวาน(ผิวผล)  ส้มจีน
(ผิวผล)  ส้มซ่า(ผิวผล)  ส้มตะรังกะนู(ผิวผล)  ส้มมือ(ผิวผล)  ส้มโอ(ผิวผล)  สมุลแว้ง(เปลือกต้น) 
สารภี(ดอก)  หญ้าฝรั่น(เกสรตัวเมีย)  อบเชย(เปลือกต้น) 

          ตัวยาช่วย ได้แก่ กระดังงาไทย(ดอก)  กระทิง(ดอก)  การบูร  โกฐเขมา  โกฐจุฬาลัมพา
โกฐเชียง  โกฐสอ  โกฐหัวบัว  จําปา(ดอก)  จําปี(ดอก)  ลําเจียก(ดอก)  ลําดวน(ดอก)
 
          โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

  (๘)  ยาแก้ไอ  ขับเสมหะ

          ตัวยาตรง  ได้แก่  ชะเอมเทศ(ราก)  พระจันทร์ครึ่งซีก(ทั้งต้น)  มะกล่ําต้น(ราก) 
มะขามป้อม(เนื้อผล)  มะขามเปียก(เนื้อในฝัก)  มะเขือขื่น(ผล)  มะนาว(ผลหรือน้ําในผล)  มะแว้งเครือ
(ผล)  มะแว้งต้น(ผล)  ส้มกุ้ง(ราก)  ส้มป่อย(ใบ)  สวาด(ใบ)  เสนียด(ใบ) 

         ตัวยาช่วย  ได้แก่  กระเจี๊ยบแดง(กลีบเลี้ยงและริ้วประดับ)  ขิง(เหง้า)  พลับจีน(ผล) 
เพกา(เมล็ดแก่)  มะกรูด(น้ําในผล)  มะกล่ําเครือ(เถาหรือราก)  มะงั่ว(ผล)  มะเฟือง(ผล)  มะยม
(ผล)  ไมยราบ(ราก)  เล็บเหยี่ยว(ผล)  ส้มจี๊ด(ผล)  ส้มซ่า(น้ําในผล)  สมอไทย(ผล)  สับปะรด(ผล) 
หม่อน(ใบ) 

        โดยสูตรส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน  และขนาดบรรจุ  ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา 

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๙)  ยากษัยเส้นหรือยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย (ยาสําหรับใช้รับประทาน) 

          ตัวยาตรง  ได้แก่  ขี้เหล็ก(แก่น)  โคคลาน(เถา)  แจง(ราก)  เถาเมื่อย(เถา) 
เถาวัลย์เปรียง(เถา)  เถาเอ็นอ่อน(เถา)  มะคําไก่(ราก)  รางแดง(เถาและราก)  แส้ม้าทะลาย(เถา) 

          ตัวยาช่วย  ได้แก่  กรรณิการ์(ราก)  กระเทียม(หัว)  กระพังโหม(ต้น)  กะทือ(เหง้า) 
กะเพราขาว(ใบ)  กะเพราแดง(ใบ)  กานพลู(ดอก)  กําจัด(เปลือกผล)  กําลังช้างสาร(เนื้อไม้) 
กําลังวัวเถลิง(เนื้อไม้)  กําลังเสือโคร่ง(เปลือกต้น)  กําลังหนุมาน(เนื้อไม้)  กุ่มน้ํา(เปลือกต้น)  กุ่มบก
(เปลือกต้น)  เกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ โกฐน้ําเต้า(เหง้า)  ขมิ้นชัน(เหง้า)  ขมิ้นอ้อย(เหง้า)  ข่า(เหง้า) 
ข่าต้น(เนื้อไม้)  ข่าลิง(เหง้า)  ขิง(เหง้า)  ขี้เหล็ก(ดอก)  คูน(เนื้อในฝักแก่)  จันทน์เทศ(รกหรือเมล็ด) 
เจตพังคี(ราก)  ช้าพลู(ราก)  ชุมเห็ดเทศ(ใบหรือดอก)  ดีเกลือ ดีปลี(ผล)  ตองแตก(ราก)  เทพทาโร
(เปลือกต้นหรือเนื้อไม้)  เทียนขาว  เทียนข้าวเปลือก  เทียนดํา  เทียนแดง  เทียนตาตั๊กแตน
เทียนเยาวพาณี  เทียนสัตตบุษย์  เปราะป่า(หัว)  เปราะหอม(หัว)  เปล้าน้อย(ใบ)  เปล้าใหญ่(ใบ) 
ผักชีลา(ผล)  ผักชีล้อม(ผล)  ผักแพวแดง(ต้น)  แฝกหอม(ราก)  พริกไทย(เมล็ดหรือผล)  พริกหอม(ผล) 
พริกหาง(ผล) มะกา(ใบ)  มะขามแขก(ใบหรือฝัก) มะขามเปียก(เนื้อในฝัก)  ยาดํา เร่ว(เมล็ดหรือผล) 
สมอดีงู(ผล)  สมอเทศ(เนื้อผล)  สมอไทย(เนื้อผล)  สมุลแว้ง(เปลือกต้น)  สะค้าน(เถาหรือผล) 
สายน้ําผึ้ง(เถา)  หม่อน(กิ่ง)  หัสคุณเทศ(ต้น)  แห้วหมู(หัว)  อบเชย(เปลือกต้น) 

           โดยสูตรส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน  และขนาดบรรจุ  ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   (๑๐) ยาทาบรรเทาอาการปวดเมื่อย(ยาสําหรับใช้ภายนอก) 

           ตัวยาตรง ได้แก่ โคคลาน(เถา)  เถาวัลย์เปรียง(เถา)  เถาเอ็นอ่อน(เถา)  น้ํามันระกํา
ไพล(เหง้าหรือน้ํามันจากเหง้า)  ว่านเอ็นเหลือง(เหง้า) 

           ตัวยาช่วย ได้แก่ กานพลู(ดอกหรือน้ํามันจากดอก)  การบูร เกล็ดสะระแหน่ น้ํามันเขียว
พิมเสน

          โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา 

   (๑๑) ยาบรรเทาริดสีดวงทวารหนัก

           ตัวยาตรง  ได้แก่  โกฐกักกรา  ขลู่(ต้น)  ผักแพวแดง(ต้น)  พลูแก(เถา)  เพชรสังฆาต
(เถา)  แพงพวยน้ํา(ต้น)  อัคคีทวาร(ต้น) 

           ตัวยาช่วย  ได้แก่  กรรณิการ์(ราก)  กระเทียม(หัว)  กระพังโหม(ต้น)  กะทือ(เหง้า) 
กะเพราขาว(ใบ)  กะเพราแดง(ใบ)  กานพลู(ดอก)  กําจัด(เปลือกผล)  กุ่มน้ํา(เปลือกต้น)  กุ่มบก
(เปลือกต้น)  เกลือสมุทร  เกลือสินเธาว์  โกฐน้ําเต้า(เหง้า)  ขมิ้นชัน(เหง้า)  ขมิ้นอ้อย(เหง้า)  ข่า
(เหง้า)  ข่าต้น(เนื้อไม้)  ข่าลิง(เหง้า)  ขิง(เหง้า)  ขี้เหล็ก(ดอก)  คูน(เนื้อในฝักแก่)  จันทน์เทศ
(รกหรือเมล็ด)  เจตพังคี(ราก)  ช้าพลู(ราก)  ชุมเห็ดเทศ(ใบหรือดอก)  ดีเกลือ  ดีปลี(ผล)  ตองแตก
 (ราก)  เทพทาโร(เปลือกต้นหรือเนื้อไม้)  เทียนขาว  เทียนข้าวเปลือก  เทียนดํา  เทียนแดง
เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี  เทียนสัตตบุษย์  เปราะป่า(หัว)  เปราะหอม(หัว)  เปล้าน้อย(ใบ) 
เปล้าใหญ่(ใบ)  ผักชีล้อม(ผล)  ผักชีลา(ผล)  แฝกหอม(ราก)  พริกไทย(เมล็ดหรือผล)  พริกหอม
(ผล)  พริกหาง(ผล)  มะกา(ใบ)  มะขามแขก(ใบหรือฝัก)  มะขามเปียก(เนื้อในฝัก)  ยาดํา  เร่ว
(เมล็ดหรือผล)  สมอดีงู(ผล)  สมอเทศ(เนื้อผล)  สมอไทย(เนื้อผล)  สมุลแว้ง(เปลือกต้น)  สะค้าน
(เถาหรือผล)  หัสคุณเทศ(ต้น)  แห้วหมู(หัว)  อบเชย(เปลือกต้น) 

            โดยสูตรส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน  และขนาดบรรจุ  ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖ 

    (๑๒) ยาถ่ายพยาธิตัวกลม

             ตัวยาตรง  ได้แก่  ไข่เน่า(เปลือกต้น)  ตานทั้งห้า  ถอบแถบเครือ(ต้นยกเว้นผล) 
ทองหลางใบมน(ใบ)  มะกล่ําต้น(เมล็ดใน)  มะขาม(เนื้อในเมล็ด)  มะหาด(เนื้อไม้)  เล็บมือนาง
(ผลหรือราก)  สะแก(เมล็ดคั่ว) 

             ตัวยาช่วย  ได้แก่  โกฐน้ําเต้า(เหง้า)  ขิง(เหง้า)  คูน(เนื้อในฝักแก่)  ดีเกลือ  ตองแตก
(ราก)  น้ําเต้า(เมล็ด)  บวบเหลี่ยม(เนื้อในเมล็ด)  ผักเสี้ยนผี(ทั้งต้น)  มะกา(ใบ)  มะขามแขก
(ใบหรือฝัก)  มะขามเปียก(เนื้อในฝัก)  ยาดํา  สมอดีงู(ผล)  สมอเทศ(เนื้อผล)  สมอไทย(เนื้อผล) 

            โดยสูตรส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน  และขนาดบรรจุ  ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

    (๑๓) ยาบรรเทาอาการผื่นคันตามผิวหนัง(ยาสําหรับใช้รับประทาน) 

             ตัวยาตรง  ได้แก่  ขันทองพยาบาท(เนื้อไม้)  ข้าวเย็นใต้(หัว)  ข้าวเย็นเหนือ(หัว) 
คงคาเดือด(เปลือกต้น)  ทองพันชั่ง(ใบหรือราก)  เหงือกปลาหมอ(ทั้งต้น)
 
             ตัวยาช่วย ได้แก่ ขมิ้นอ้อย(เหง้า)  มะยม(ราก)  สารส้ม

            โดยสูตรส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน  และขนาดบรรจุ  ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   (๑๔) ยาบรรเทาอาการผื่นคันตามผิวหนัง(ยาสําหรับใช้ภายนอก)
 
            ตัวยาตรง  ได้แก่  ขมิ้นชัน(เหง้า)  คงคาเดือด(เปลือกต้น)  ทองพันชั่ง(ใบ)  พลู
(ใบหรือน้ํามันจากใบ)  สํามะงา(ใบ)  เหงือกปลาหมอ(ทั้งต้น) 

            ตัวยาช่วย ได้แก่ กํามะถันเหลือง ขมิ้นอ้อย(เหง้า)  ข่า(เหง้า)  ชุมเห็ดเทศ(ใบ)  ดินสอพอง
พิมเสน  ว่านนางคํา(เหง้า)  สารส้ม

            โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานั กงานคณะกรรมการอาหารและยา 

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๑๕) ยาแก้กลากเกลื้อน(ยาสําหรับใช้ภายนอก) 

            ตัวยาตรง  ได้แก่  กระเทียม(หัว)  กํามะถันเหลือง  ขันทองพยาบาท(เปลือกต้น)  ข่า
(เหง้า)  ข่าแดง(เหง้า)  ข่าลิง(เหง้า)  ข่าใหญ่(เหง้า)  คนทีเขมา(ใบ)  คนทีสอ(ใบ)  ชุมเห็ดเทศ(ใบ) 
ทองพันชั่ง(ใบ)  พลู (ใบหรือน้ํามันจากใบ)  สะบ้ามอญ(เนื้อในเมล็ด)  เหงือกปลาหมอ(ทั้งต้น) 

            ตัวยาช่วย ได้แก่ คูน(ราก)  จามจุรี(เมล็ด)  ชะมดต้น(ใบ)  ตีนเป็ดน้ํา(กระพี้หรือใบ) 
เทียนกิ่ง(ใบ)  น้อยหน่า(ใบ)  โมกหลวง(เปลือกต้น) 

            โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   (๑๖) ยาแก้หิด(ยาสําหรับใช้ภายนอก) 

            ตัวยาตรง ได้แก่ กระเบา(เมล็ด)  กระเบียน(เมล็ด)  กํามะถันเหลือง  น้อยหน่า(เมล็ด) 
สะบ้ามอญ(เนื้อในเมล็ด)  หนอนตายหยาก(ราก) 

           โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   (๑๗) ยาบรรเทาฝีแผล (ยาสําหรับใช้ภายนอก) 

            ตัวยาตรง  ได้แก่  แก้ว(ราก)  ขี้กาแดง(ใบหรือราก)  เขยตาย(เปลือกต้น,รากหรือใบ) 
จักรนารายณ์(ใบ)  ต้อยติ่ง(เมล็ด)  ทับทิม(เปลือกผล)  เทียนกิ่ง(ใบ)  เทียนบ้าน(ใบหรือดอก) 
ฟ้าทะลายโจร(ใบหรือต้นก่อนมีผล)  มังคุด(เปลือกผล)  ว่านมหากาฬ(ใบ)  ว่านหางจระเข้(วุ้นจากใบ) 
สีเสียดเทศ(สิ่งสกัดจากกิ่งและใบโดยการต้มเคี่ยวกับน้ํา) สีเสียดไทย(สิ่งสกัดจากเนื้อไม้โดยการต้มเคี่ยวกับน้ํา) สีเสียดเปลือก(เปลือกต้น)  หมากสง(เมล็ด)  เหงือกปลาหมอ(ทั้งต้น) 

            ตัวยาช่วย  ได้แก่  กระโดน(ผล)  โกฐน้ําเต้า(ที่ยังไม่ทําให้สุก)  ขมิ้นอ้อย(เหง้า)  ชบา
(ราก)  ชา(ใบ)  ทองหลางใบมน(ใบ)  เบญกานี(Gall)  ยางสน

            โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   (๑๘) ยาทาแผลไฟไหม้  น้ําร้อนลวก (ยาสําหรับใช้ภายนอก) 

            ตัวยาตรง  ได้แก่  โกฐน้ําเต้า(ที่ยังไม่ทําให้สุก)  ขมิ้นชัน(เหง้า)  ขมิ้นอ้อย(เหง้า) 
น้ํามันงา  น้ํามันมะพร้าว  ว่านมหากาฬ(ใบ)  ว่านหางจระเข้(วุ้นจากใบ) 

           โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   (๑๙) ยาทาบรรเทาอาการแมลงกัดต่อย(ยาสําหรับใช้ภายนอก) 

            ตัวยาตรง ได้แก่ เกล็ดสะระแหน่  พญายอ(ใบ)  เสลดพังพอนตัวผู้(ใบ) 

            ตัวยาช่วย ได้แก่ กานพลู(ดอกหรือน้ํามันจากดอก)  การบูร ขมิ้นชัน(เหง้า)  น้ํามันเขียว
พิมเสน 

           โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

    (๒๐) ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ

             ตัวยาตรง ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร(ใบหรือต้นก่อนมีผล) 

             ตัวยาช่วย  ได้แก่  เกล็ดสะระแหน่  ชะเอมเทศ(ราก)  พิมเสน  มะขามป้อม(ผล) 
สายน้ําผึ้ง(ดอก) 

            โดยสูตรส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน  และขนาดบรรจุ  ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   (๒๑) ยาทาแก้ลิ้นเป็นฝ้า

            ตัวยาตรง ได้แก่ เบญกานี(Gall)  เบี้ยผู้ ลิ้นทะเล

            ตัวยาช่วย  ได้แก่  เกล็ดสะระแหน่  พิมเสน  สีเสียดเทศ(สิ่งสกัดจากกิ่งและใบโดย
การต้มเคี่ยวกับน้ํา)  หมากสง(เมล็ด) 

            โดยสูตรส่ วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

   (๒๒) ยาทา หรือดมบรรเทาอาการคัดจมูกเนื่องจากหวัด

            ตัวยาตรง ได้แก่ การบูร  เกล็ดสะระแหน่  น้ํามันยูคาลิปตัส  พิมเสน  ส้มมือ(ผล) 

            ตัวยาช่วย  ได้แก่  มะกรูด(ผิวผล)  มะงั่ว(ผิวผล)  มะนาว(ผิวผล)  ส้มเขียวหวาน
(ผิวผล)  ส้มจีน(ผิวผล)  ส้มจุก(ผิวผล)  ส้มซ่า(ผิวผล)  ส้มตะรังกะนู(ผิวผล)  ส้มโอ(ผิวผล) 

            โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทํา สรรพคุณ ขนาดการใช้ และขนาดบรรจุ ต้องได้รับความเห็นชอบ
จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

     ข้อ  ๓  ตํารับยาสามัญประจําบ้านตามข้อ  ๒ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
                 ๓.๑  ตํารับยาจะต้องมีตัวยาตรงตามที่ระบุไว้ในประกาศไม่น้อยกว่า  ๓  ชนิด  ยกเว้น
ตํารับยากลุ่มยาทาบรรเทาอาการแมลงกัดต่อย ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาทาแก้ลิ้นเป็นฝ้า ที่อาจมีตัวยาตรงได้ไม่น้อยกว่า  ๑  ชนิด  และอาจมีตัวยาช่วยได้  แต่ต้องเป็นตัวยาช่วยที่อยู่ในกลุ่มยาเดียวกับตัวยาตรงที่ระบุไว้ในประกาศนี้ และชนิดของตัวยาตรงรวมกับตัวยาช่วยในตํารับ จะต้องมีไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบ
ของตํารับที่ระบุไว้ในประกาศ  ยกเว้นตํารับยาเดี่ยวที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเท่านั้น
                 ๓.๒  สูตรตํารับอาจมีส่วนประกอบอื่นที่ไม่ใช่ตัวยาตรงหรือตัวยาช่วยได้ เช่น วัตถุกันเสีย
วัตถุแต่งสี กลิ่น รส เป็นต้น ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักวิชาการเภสัชกรรมที่เหมาะสม

     ข้อ  ๔  ให้ตํารับยาแผนโบราณซึ่งมี  ชื่อ  ส่วนประกอบ  วิธีทํา  สรรพคุณ  ขนาดรับประทาน
คําเตือน  และขนาดบรรจุ ต่อไปนี้เป็นยาสามัญประจําบ้าน 

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

    (๑)  ยาประสะกะเพรา

วัตถุส่วนประกอบ  พริกไทย  ขิง  ดีปลี  กระเทียม  
หนักสิ่งละ  ๒  ส่วน  ชะเอมเทศ มหาหิงคุ์ หนักสิ่งละ  ๘  ส่วน  
เกลือสินเธาว์  หนัก  ๑  ส่วน  ผิวมะกรูด  หนัก  ๒๐  ส่วน  
ใบกะเพรา หนัก  ๔๕ ส่วน

วิธีทํา บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๑ กรัม

สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ละลายน้ําสุก 
หรือน้ําใบกะเพราต้ม  แก้ท้องแน่นจุกเสียด 
ใช้ไพลเผาไฟพอสุก  ฝนแทรก

ขนาดรับประทาน  รับประทานเช้า  เย็น
    เด็กอายุ  ๑- ๓ เดือน  ครั้งละ ๑- ๒ เม็ด
    เด็กอายุ  ๔- ๖ เดือน  ครั้งละ ๒- ๓ เม็ด
    เด็กอายุ  ๗- ๑๒ เดือน  ครั้งละ ๔- ๖ เม็ด

ขนาดบรรจุ ไม่เกิน  ๓๐ เม็ด

   (๒)  ยาวิสัมพยาใหญ่

วัตถุส่วนประกอบ  ลูกผักชีลา  ลูกจันทน์  ดอกจันทน์  
หนักสิ่งละ  ๘  ส่วน  กระวาน กานพลู โกฐสอ โกฐเขมา  
โกฐหัวบัว  โกฐเชียง  โกฐจุฬาลัมพา  อบเชย  สมุลแว้ง  
สมอเทศ  สมอไทย ว่านน้ํา  บอระเพ็ด  ขิงแห้ง 
พญารากขาว หนักสิ่งละ  ๒  ส่วน ดีปลี  หนัก  ๕๔ ส่วน

วิธีทํา ชนิดผง บดเป็นผง
    ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒๕ กรัม
    ชนิดแคปซูล บดเป็นผง  บรรจุผงยาแคปซูลละ ๐.๒๕ กรัม

สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ จุกเสียด

ขนาดรับประทาน รับประทานทุก  ๔ ชั่วโมง
    ชนิดผง ผู้ใหญ่ ครั้งละ  ๑ ช้อนชา  ใช้น้ําสุกเป็นกระสาย
                 หรือผสมน้ําผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
    ชนิดเม็ด ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๔  เม็ด
    ชนิดแคปซูล ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๔ แคปซูล

ขนาดบรรจุ  ชนิดผงไม่เกิน  ๓๐ กรัม
    ชนิดเม็ดไม่เกิน  ๑๒๐ เม็ด
    ชนิดแคปซูลไม่เกิน  ๑๒๐ แคปซูล

   (๓)  ยาประสะกานพลู

วัตถุส่วนประกอบ  เทียนดํา  เทียนขาว  โกฐสอ  โกฐกระดูก  
กํามะถันเหลือง  การบูร เปลือกเพกา  เปลือกขี้อ้าย  ใบกระวาน  
ลูกกระวาน  ลูกผักชีลา  แฝกหอม  ว่านน้ํา  หัวกระชาย
เปราะหอม รากแจง กรุงเขมา หนักสิ่งละ ๔ ส่วน รากข้าวสาร 
เนื้อไม้ ลูกจันทน์ ขมิ้นชัน หนักสิ่งละ ๘ ส่วน ขิงแห้ง ดีปลี 
หนักสิ่งละ ๓ ส่วน ไพล เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู 
หนักสิ่งละ  ๒  ส่วนเปลือกซิก หนัก ๑๐ ส่วน พริกไทย 
หนัก ๑ ส่วน กานพลู หนัก ๑๒๕ ส่วน 
 
วิธีทํา ชนิดผง บดเป็นผง
    ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒๕ กรัม
    ชนิดแคปซูล บดเป็นผง  บรรจุผงยาแคปซูลละ ๐.๒๕ กรัม

สรรพคุณ  แก้ปวดท้อง  เนื่องจากธาตุไม่ปกติ  
ใช้ไพลเผาไฟฝนกับน้ําปูนใส  ถ้าหาน้ํากระสายไม่ได้  
ให้ใช้น้ําสุกแทน

ขนาดรับประทาน รับประทานทุก  ๓ ชั่วโมง
    ชนิดผง ผู้ใหญ่ ครั้งละ  ๑ ช้อนชา
    ชนิดเม็ด ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๔ เม็ด
    ชนิดแคปซูล ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๔ แคปซูล

ขนาดบรรจุ  ชนิดผงไม่เกิน  ๑๕ กรัม
    ชนิดเม็ดไม่เกิน  ๖๐  เม็ด
    ชนิดแคปซูลไม่เกิน  ๖๐ แคปซูล

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๔)  ยาแสงหมึก 

วัตถุส่วนประกอบ หมึกหอม จันทน์ชะมด ลูกกระวาน จันทน์เทศ  
ใบพิมเสน  ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู  ใบสันพร้าหอม  
หัวหอม  ใบกะเพรา  หนักสิ่งละ  ๔ ส่วน พิมเสน  หนัก  ๑ ส่วน

วิธีทํา บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒ กรัม

สรรพคุณ  แก้ตัวร้อน ละลายน้ําดอกไม้เทศ
แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง ละลายน้ําใบกะเพราต้ม
แก้ไอ  ขับเสมหะ  ละลายน้ําลูกมะแว้งเครือ  
หรือลูกมะแว้งต้นกวาดคอแก้แผลในปาก  แก้ละออง 
 ละลายน้ําลูกเบญกานีฝนทาในปาก

ขนาดการใช้ ใช้กวาดคอ  วันละ ๑  ครั้ง 
หลังจากนั้นรับประทานทุก  ๓ ชั่วโมง
    เด็กอายุ  ๑- ๖ เดือน  ครั้งละ  ๒ เม็ด
    เด็กอายุ  ๗- ๑๒ เดือน  ครั้งละ ๓  เม็ด
    ใช้ทาในปาก  วันละ  ๑ ครั้ง

ขนาดบรรจุ  ไม่เกิน  ๓๐ เม็ด

   (๕)  ยามันทธาตุ

วัตถุส่วนประกอบ โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง 
โกฐจุฬาลัมพา เทียนดํา เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก 
เทียนตาตั๊กแตน ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา การบูร กระเทียม 
เปลือกสมุลแว้ง เปลือกโมกมัน จันทน์แดง จันทน์เทศ  กานพลู  
ดีปลี  รากช้าพลู  เถาสะค้าน  รากเจตมูลเพลิงแดง 
พริกไทยล่อน  ลูกจันทน์  หนักสิ่งละ  ๑ ส่วน ขิง ลูกเบญกานี  
หนักสิ่งละ  ๓  ส่วน 

วิธีทํา  ชนิดผง บดเป็นผง
        ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒๕ กรัม
        ชนิดแคปซูล บดเป็นผง บรรจุผงยาแคปซูลละ ๐.๒๕ กรัม

สรรพคุณ  แก้ธาตุไม่ปกติ  แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ

ขนาดรับประทาน รับประทาน  วันละ ๓  ครั้ง ก่อนอาหาร
    ชนิดผง เด็กอายุ ๖-๑๒ ปี ครั้งละ ครึ่ง ช้อนชา ละลายน้ําสุก
                 ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๑ ช้อนชา  ละลายน้ําสุก
    ชนิดเม็ด  เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ๑- ๒  เม็ด
                    ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๔ เม็ด
    ชนิดแคปซูล เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ๑- ๒  แคปซูล
                         ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๔ แคปซูล
ขนาดบรรจุ  ชนิดผงไม่เกิน  ๓๐ กรัม
    ชนิดเม็ดไม่เกิน  ๑๒๐ เม็ด
    ชนิดแคปซูลไม่เกิน  ๑๒๐ แคปซูล

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๖)  ยาประสะเจตพังคี

วัตถุส่วนประกอบ  ดอกจันทน์  ลูกจันทน์  ลูกกระวาน  
ใบกระวาน  กานพลู  กรุงเขมา การบูร  ลูกสมอทะเล  
พญารากขาว  เปลือกหว้า  เกลือสินเธาว์  หนักสิ่งละ  ๑  ส่วน  
พริกไทยล่อนบอระเพ็ด หนักสิ่งละ  ๒ ส่วน ข่า หนัก  ๑๖ ส่วน 
ระย่อม หนัก  ๒ ส่วน เจตพังคี หนัก  ๓๓ ส่วน

วิธีทํา  ชนิดผง บดเป็นผง
      ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒๕ กรัม
      ชนิดแคปซูล บดเป็นผง  บรรจุผงยาแคปซูลละ ๐.๒๕ กรัม

สรรพคุณ  แก้กษัยจุกเสียด

ขนาดรับประทาน  รับประทานเช้าและเย็น  ก่อนอาหาร
         ชนิดผง ครั้งละ ๑ ช้อนชา  ละลายน้ําสุก                      
         ชนิดเม็ด ครั้งละ  ๒- ๔  เม็ด
         ชนิดแคปซูล ครั้งละ ๒- ๔ แคปซูล

ขนาดบรรจุ  ชนิดผงไม่เกิน  ๑๕ กรัม
                   ชนิดเม็ดไม่เกิน  ๖๐  เม็ด
                   ชนิดแคปซูลไม่เกิน  ๖๐ แคปซูล

   (๗)  ยามหาจักรใหญ่

วัตถุส่วนประกอบ  โกฐสอ  โกฐเขมา  โกฐพุงปลา  
โกฐก้านพร้าว  โกฐกระดูก  เทียนดํา เทียนแดง เทียนขาว 
เทียนข้าวเปลือก เทียนเยาวพาณี สมอไทย (เอาแต่เนื้อ) 
สมอพิเภก (เอาแต่เนื้อ) มะขามป้อม (เอาแต่เนื้อ)  ลูกจันทน์  
ดอกจันทน์  ลูกกระวาน  กานพลู  ชะเอมเทศ  
เมล็ดโหระพาลูกผักชีลา สารส้ม ขมิ้นอ้อย 
หัวกระเทียม หนักสิ่งละ ๑ ส่วน ยาดําสะตุ หนัก ๔ ส่วน 
ใบกระพังโหม หนัก  ๓๐ ส่วน

วิธีทํา  บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๕ กรัม

สรรพคุณ  แก้ลมทราง แก้อาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ

ขนาดรับประทาน  รับประทานกับน้ําสุกก่อนอาหาร  เช้า- เย็น  
        เด็กอายุต่ํากว่า ๕ ปี รับประทานครั้งละ ๑- ๓ เม็ด 
        เพิ่มและลดได้ตามส่วน

ขนาดบรรจุ ไม่เกิน  ๒๐ เม็ด

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๘)  ยาตรีหอม

วัตถุส่วนประกอบ  เนื้อลูกสมอเทศ  เนื้อลูกสมอพิเภก  
เนื้อลูกมะขามป้อม  ลูกผักชีลาหนักสิ่งละ ๔ ส่วน 
โกฐสอ ชะเอมเทศ ลูกซัดคั่ว หนักสิ่งละ ๑ ส่วน 
เนื้อลูกสมอไทย โกฐน้ําเต้าใหญ่นึ่งสุก  หนักสิ่งละ  ๒๒ ส่วน

วิธีทํา  บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒ กรัม

สรรพคุณ  แก้เด็กท้องผูก  ระบายพิษไข้

ขนาดรับประทาน  รับประทานก่อนอาหารเช้า  
              เด็กอายุ  ๑- ๒ เดือน  ครั้งละ  ๒- ๓  เม็ด
              เด็กอายุ  ๓- ๕ เดือน  ครั้งละ  ๔- ๕  เม็ด
              เด็กอายุ  ๖- ๑๒ เดือน  ครั้งละ ๖- ๘ เม็ด

ขนาดบรรจุ ไม่เกิน  ๓๐ เม็ด

   (๙)  ยาธรณีสันฑะฆาต

วัตถุส่วนประกอบ  ลูกจันทน์  ดอกจันทน์  ลูกกระวาน  กานพลู  
เทียนดํา  เทียนขาว หัวดองดึง หัวบุก หัวกลอย หัวกระดาดขาว 
หัวกระดาดแดง ลูกเร่ว ขิง ชะเอมเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง
โกฐกระดูก โกฐเขมา โกฐน้ําเต้า หนักสิ่งละ ๑ ส่วน 
ผักแพวแดง เนื้อลูกมะขามป้อม หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
เนื้อลูกสมอไทย  มหาหิงคุ์  การบูร  หนักสิ่งละ  ๖  ส่วน  
รงทอง(ประสะแล้ว)  หนัก  ๔  ส่วน  ยาดํา หนัก  ๒๐ ส่วน 
พริกไทยล่อน หนัก  ๙๖ ส่วน

วิธีทํา  ชนิดผง บดเป็นผง
    ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒๕ กรัม
    ชนิดแคปซูล บดเป็นผง บรรจุผงยาแคปซูลละ ๐.๒๕ กรัม

สรรพคุณ  แก้กษัยเส้น  เถาดาน  ท้องผูก

ขนาดรับประทาน  รับประทาน  วันละ ๑ ครั้ง 
                             ก่อนอาหารเช้าหรือก่อนนอน
        ชนิดผง  ผู้ใหญ่  ครั้งละ  ครึ่ง- ๑  ช้อนชา  ละลายน้ําสุก  
                      หรือผสมน้ําผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน   
        ชนิดเม็ด ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๔ เม็ด    
        ชนิดแคปซูล ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๔ แคปซูล 

คําเตือน  ๑  คนเป็นไข้  เด็กหรือสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
               ๒  ผู้สูงอายุควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

ขนาดบรรจุ  ชนิดผง ไม่เกิน  ๑๕  กรัม
                   ชนิดเม็ด ไม่เกิน  ๖๐ เม็ด
                   ชนิดแคปซูล ไม่เกิน  ๖๐ แคปซูล

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๑๐)  ยาถ่าย

วัตถุส่วนประกอบ ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไทร 
ใบไผ่ป่า ฝักคูน รากขี้กาแดง รากขี้กาขาว รากตองแตก 
เถาวัลย์เปรียง หัวหอม ฝักส้มป่อย  สมอไทย สมอดีงู 
หนักสิ่งละ ๑ ส่วน ขี้เหล็กทั้ง ๕ หนัก  ๑ ส่วน ยาดํา 
หนัก  ๔ ส่วน ดีเกลือฝรั่ง  หนัก  ๒๐  ส่วน

วิธีทํา  ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๕ กรัม
           ชนิดแคปซูล บดเป็นผง  บรรจุผงยาแคปซูลละ ๐.๕ กรัม

สรรพคุณ  แก้ท้องผูก

ขนาดรับประทาน รับประทาน  วันละ ๑ ครั้ง ก่อนนอน  
            ชนิดเม็ด ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๕ เม็ด  
            ตามธาตุหนักธาตุเบา  
            ชนิดแคปซูล ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๕ แคปซูล  
            ตามธาตุหนักธาตุเบา

ขนาดบรรจุ  ชนิดเม็ด ไม่เกิน  ๑๐ เม็ด  
                   ชนิดแคปซูล ไม่เกิน  ๑๐ แคปซูล

   (๑๑) ยาเหลืองปิดสมุทร

วัตถุส่วนประกอบ  แห้วหมู  ขมิ้นอ้อย  เปลือกเพกา  
รากกล้วยตีบ กระเทียมคั่ว  ดีปลี ชันย้อย ครั่ง สีเสียดเทศ 
สีเสียดไทย ใบเทียน ใบทับทิม หนักสิ่งละ  ๑  ส่วน ขมิ้นชัน 
หนัก  ๖ ส่วน

วิธีทํา  บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๑ กรัม

สรรพคุณ  แก้ท้องเสีย  ใช้น้ําเปลือกลูกทับทิมหรือเปลือกแคต้ม
กับน้ําปูนใสเป็นกระสาย ถ้าหาน้ํากระสายไม่ได้ให้ใช้น้ําสุกแทน  
และให้รับประทานร่วมกับน้ําละลายเกลือแกงด้วย

ขนาดรับประทาน  รับประทานวันละ ๓  ครั้ง ก่อนอาหาร   
             เด็กอายุ  ๓- ๕ เดือน  ครั้งละ  ๒ เม็ด   
             เด็กอายุ  ๖- ๑๒ เดือน  ครั้งละ ๓- ๔ เม็ด   
             เด็กอายุ  ๑- ๕ ปี  ครั้งละ  ๔- ๗  เม็ด  
             เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ๘- ๑๐ เม็ด

ขนาดบรรจุ ไม่เกิน  ๓๐ เม็ด

   (๑๒) ยาธาตุบรรจบ

วัตถุส่วนประกอบ  ขิง  โกฐเขมา  โกฐพุงปลา  โกฐเชียง  
โกฐสอ  เทียนดํา  เทียนขาว เทียนสัตตบุษย์  เทียนเยาวพาณี 
เทียนแดง  ลูกจันทน์  ดอกจันทน์  กานพลู  การบูร  
เปลือกสมุลแว้ง ลูกกระวาน ลูกผักชีลา ใบพิมเสน ดีปลี 
เปราะหอม หนักสิ่งละ ๔ ส่วน โกฐก้านพร้าว หนัก ๘ ส่วน 
เนื้อลูกสมอไทย  หนัก  ๑๖  ส่วน 

วิธีทํา  ชนิดผง บดเป็นผง

สรรพคุณ  แก้ธาตุไม่ปกติ ท้องเสีย  ใช้เปลือกแคหรือเปลือกสะเดา  
หรือเปลือกลูกทับทิม ต้มกับน้ําปูนใส  แก้ท้องขึ้น  ท้องเฟ้อ  
ใช้กระเทียม  ๓  กลีบ  ทุบชงน้ําร้อน  หรือใช้ใบกะเพรา
ต้มเป็นกระสาย  ถ้าหาน้ํากระสายไม่ได้  ให้ใช้น้ําสุกแทน

ขนาดรับประทาน  รับประทาน  วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร   
                ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๑ ช้อนชา    
                เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ครึ่ง ช้อนชา

ขนาดบรรจุ ไม่เกิน  ๒๐ กรัม

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๑๓) ยาจันทน์ลีลา

วัตถุส่วนประกอบ โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา  จันทน์ขาว  
จันทน์แดง  ลูกกระดอม บอระเพ็ด  รากปลาไหลเผือก  
หนักสิ่งละ  ๔ ส่วน พิมเสน  หนัก  ๑ ส่วน

วิธีทํา  ชนิดผง บดเป็นผง
           ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๕ กรัม
           ชนิดแคปซูล บดเป็นผง  บรรจุผงยาแคปซูลละ ๐.๕ กรัม

สรรพคุณ  แก้ไข้  แก้ตัวร้อน

ขนาดรับประทาน รับประทานทุก  ๔ ชั่วโมง
             ชนิดผง         เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ครึ่ง- ๑ ช้อนชา
                                  ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๑- ๒ ช้อนชา
             ชนิดเม็ด       เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ๑- ๒  เม็ด
                                  ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๔ เม็ด
             ชนิดแคปซูล เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ๑- ๒  แคปซูล
                                  ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๔ แคปซูล

ขนาดบรรจุ   ชนิดผง ไม่เกิน  ๑๕  กรัม
                    ชนิดเม็ด ไม่เกิน  ๓๐ เม็ด
                    ชนิดแคปซูล ไม่เกิน  ๓๐ แคปซูล

   (๑๔) ยาประสะจันทน์แดง

วัตถุส่วนประกอบ รากเหมือดคน รากมะปรางหวาน  รากมะนาว  
เปราะหอม  โกฐหัวบัว  จันทน์เทศ ฝางเสน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน 
เกสรบัวหลวง ดอกบุนนาค  ดอกสารภี  ดอกมะลิ  
หนักสิ่งละ ๑ ส่วน จันทน์แดง หนัก ๓๒ ส่วน

วิธีทํา  ชนิดผง บดเป็นผง
           ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒๕ กรัม
           ชนิดแคปซูล บดเป็นผง บรรจุผงยาแคป
           ซูลละ ๐.๒๕ กรัม 

สรรพคุณ  แก้ไข้ตัวร้อน กระหายน้ํา

ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓  ชั่วโมง
           ชนิดผง    เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ครึ่ง ช้อนชา  
                           ละลายน้ําสุกหรือน้ําดอกมะลิ
                           ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๑ ช้อนชา  
                           ละลายน้ําสุกหรือน้ําดอกมะลิ
           ชนิดเม็ด  เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ๑- ๒  เม็ด
                           ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๔ เม็ด
           ชนิดแคปซูล เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ๑- ๒  แคปซูล
                           ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๒- ๔ แคปซูล

ขนาดบรรจุ  ชนิดผง ไม่เกิน  ๑๕  กรัม
                   ชนิดเม็ด ไม่เกิน  ๖๐ เม็ด
                   ชนิดแคปซูล ไม่เกิน  ๖๐ แคปซูล

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๑๕) ยาเขียวหอม

วัตถุส่วนประกอบ  ใบพิมเสน  ใบผักกระโฉม  ใบหมากผู้  
ใบหมากเมีย ใบสันพร้าหอม รากแฝกหอม เปราะหอม 
จันทน์เทศ  จันทน์แดง ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง เนระพูสี 
พิษนาศน์มหาสดํา  ดอกพิกุล  ดอกบุนนาค  ดอกสารภี  
เกสรบัวหลวง  หนักสิ่งละ  ๑ ส่วน

วิธีทํา  บดเป็นผง

สรรพคุณ  แก้ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ํา  ละลายน้ําสุก  
หรือน้ําดอกมะลิ แก้พิษหัด พิษสุกใส  ละลายน้ํารากผักชีต้ม  
ทั้งรับประทานและชะโลม

ขนาดการใช้  รับประทาน  วันละ ๔- ๖ ครั้ง
        ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๑ ช้อนชา
        เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ครึ่ง ช้อนชา

ขนาดบรรจุ  ไม่เกิน  ๓๐ กรัม

   (๑๖) ยามหานิลแท่งทอง

วัตถุส่วนประกอบ  เนื้อในเม็ดสะบ้ามอญสุม  หวายตะค้าสุม 
เม็ดมะกอกสุม ลูกมะคําดีควายสุม ถ่านไม้สัก จันทน์แดง  
จันทน์เทศ  ใบพิมเสน  ใบย่านาง  หมึกหอม  
หนักสิ่งละ  ๑ ส่วน เบี้ยจั่นคั่วให้เหลือง  ๓  เบี้ย

วิธีทํา  บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  ปิดทองคําเปลว  
หนักเม็ดละ  ๐.๕ กรัม

สรรพคุณ  แก้ไข้  แก้กระหายน้ํา
แก้หัด  อีสุกอีใส  รับประทานร่วมกับน้ํารากผักชีต้ม

ขนาดรับประทาน  รับประทาน  วันละ ๒ ครั้ง   
             ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๓- ๔ เม็ด    
             เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ๑- ๒  เม็ด

ขนาดบรรจุ ไม่เกิน  ๓๐ เม็ด 

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๑๗) ยาหอมเทพจิตร

วัตถุส่วนประกอบ  ลูกจันทน์  ดอกจันทน์  ลูกกระวาน  กานพลู  
จันทน์แดง  จันทน์ขาว กฤษณา กระลําพัก ขอนดอก  ชะลูด  
อบเชย  เปราะหอม  แฝกหอม  หนักสิ่งละ  ๒  ส่วน  ผิวมะกรูด
ผิวมะงั่ว ผิวมะนาว ผิวส้มตะรังกะนู ผิวส้มจีน ผิวส้มโอ 
ผิวส้มเขียวหวาน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน ผิวส้มซ่าหนัก ๒๘ ส่วน 
ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี เกสรบัวหลวง ดอกบัวขม 
ดอกบัวเผื่อน หนักสิ่งละ ๔  ส่วน  การบูร  หนัก  ๑  ส่วน  
โกฐสอ  โกฐเขมา  โกฐหัวบัว  โกฐเชียง  โกฐจุฬาลัมพา  
โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี 
หนักสิ่งละ ๔ ส่วน เทียนดํา เทียนแดง เทียนขาว 
เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน  เทียนเยาวพาณี  
เทียนสัตตบุษย์  เทียนเกล็ดหอย  เทียนตากบ  
หนักสิ่งละ  ๔  ส่วน พิมเสน  หนัก  ๔ ส่วน ดอกมะลิ  
หนัก  ๑๘๓ ส่วน

วิธีทํา  บดเป็นผง  ผสมน้ําดอกไม้เทศ  ทําเป็นเม็ด  
หนักเม็ดละ  ๐.๒ กรัม

สรรพคุณ  แก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย  บํารุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น

ขนาดรับประทาน ครั้งละ ๕- ๗ เม็ด เมื่อมีอาการ  
ไม่ควรรับประทานเกินวันละ  ๓ ครั้ง

ขนาดบรรจุ ไม่เกิน  ๓๐ เม็ด

   (๑๘) ยาหอมทิพโอสถ

วัตถุส่วนประกอบ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ 
เกสรบัวหลวง ดอกกระดังงา ดอกจําปา ดอกบัวจงกลนี 
หัวแห้วไทย กระจับ ฝาง จันทน์แดง จันทน์ขาว จันทน์เทศ 
กฤษณา ชะลูด อบเชย สมุลแว้ง สนเทศ ว่านน้ํา กระชาย 
เปราะหอม ดอกคําไทย ชะเอมเทศ สุรามฤต ข่าต้น ลูกจันทน์
ดอกจันทน์  หนักสิ่งละ  ๔  ส่วน  โกฐสอ  โกฐเขมา  โกฐหัวบัว  
โกฐเชียง  โกฐจุฬาลัมพา  โกฐกระดูกโกฐก้านพร้าว 
โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี หนักสิ่งละ ๒ ส่วน เทียนดํา 
เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน 
เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนเกล็ดหอย 
เทียนตากบ การบูร หนักสิ่งละ ๑ ส่วน พิมเสน หนัก ๒ ส่วน

วิธีทํา  ชนิดผง บดเป็นผง
           ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒ กรัม

สรรพคุณ  แก้ลมวิงเวียน ละลายน้ําดอกไม้หรือน้ําสุก

ขนาดรับประทาน  รับประทานเมื่อมีอาการ  
                             ไม่ควรรับประทานเกินวันละ  ๓  ครั้ง    
            ชนิดผง ครั้งละ ครึ่ง- ๑  ช้อนชา    
            ชนิดเม็ด ครั้งละ  ๓- ๕  เม็ด

ขนาดบรรจุ  ชนิดผง ไม่เกิน  ๑๕  กรัม   ชนิดเม็ด 
ไม่เกิน  ๗๕ เม็ด

   (๑๙) ยาหอมอินทจักร์

วัตถุส่วนประกอบ สะค้าน รากช้าพลู ขิง ดีปลี 
รากเจตมูลเพลิงแดง  ลูกผักชีลา  โกฐสอ โกฐเขมา  
โกฐก้านพร้าว  โกฐพุงปลา  โกฐจุฬาลัมพา  โกฐเชียง  
โกฐกักกรา  โกฐน้ําเต้า  โกฐกระดูก เทียนดํา เทียนขาว 
เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนเยาวพาณี  จันทน์แดง  
จันทน์เทศ  เถามวกแดง เถามวกขาว รากย่านาง เปลือกชะลูด 
อบเชย เปลือกสมุลแว้ง กฤษณา กระลําพัก บอระเพ็ด 
ลูกกระดอมกํายาน ขอนดอก ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน 
กานพลู ลําพันแดง ดอกสารภี ดอกพิกุล ดอกบุนนาค
ดอกจําปา  ดอกกระดังงา  ดอกมะลิ  ดอกคําไทย ฝางเสน  
ดีวัว พิมเสน  หนักสิ่งละ  ๑ ส่วน

วิธีทํา  ชนิดผง บดเป็นผง
           ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม

สรรพคุณ  แก้ลมบาดทะจิต  ใช้น้ําดอกมะลิ
แก้คลื่นเหียนอาเจียน  ใช้น้ําลูกผักชี  เทียนดําต้ม 
ถ้าไม่มีใช้น้ําสุก แก้ลมจุกเสียด  ใช้น้ําขิงต้ม

ขนาดรับประทาน  รับประทานทุก ๓  ชั่วโมง    
                    ชนิดผง ครั้งละ ครึ่ง- ๑  ช้อนชา    
                    ชนิดเม็ด ครั้งละ  ๓- ๕  เม็ด

ขนาดบรรจุ  ชนิดผง ไม่เกิน  ๑๕  กรัม
                    ชนิดเม็ด ไม่เกิน  ๗๕ เม็ด

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๒๐) ยาหอมนวโกฐ

วัตถุส่วนประกอบ  ขิงแห้ง  ดีปลี  เจตมูลเพลิงแดง  สะค้าน  
ช้าพลู  หนักสิ่งละ  ๓  ส่วน แห้วหมู โกฐสอ โกฐเขมา 
โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา  โกฐกระดูก  
โกฐก้านพร้าว  โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี เทียนดํา เทียนแดง 
เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี
เทียนสัตตบุษย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ  สักขี ลูกราชดัด  
ลูกสารพัดพิษ  ลูกกระวาน  กานพลู  ดอกจันทน์ ลูกจันทน์  
จันทน์เทศ  จันทน์แดง  อบเชยญวน  เปลือกสมุลแว้ง  
หญ้าตีนนก  แฝกหอม  เปลือกชะลูด เปราะหอม เนื้อไม้ 
ขอนดอก กระลําพัก เนื้อลูกมะขามป้อม เนื้อลูกสมอพิเภก  
ชะเอมเทศ  ลูกผักชีลา ลูกกระดอม บอระเพ็ด เกสรบัวหลวง 
ดอกบุนนาค ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกมะลิ แก่นสน 
หนักสิ่งละ ๔ ส่วน พิมเสน  หนัก  ๑ ส่วน

วิธีทํา  ชนิดผง บดเป็นผง
           ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒ กรัม

สรรพคุณ  แก้ลมคลื่นเหียนอาเจียน  ใช้น้ําลูกผักชี  
เทียนดําต้ม แก้ลมปลายไข้  ใช้ก้านสะเดา  ลูกกระดอม  
และบอระเพ็ด  ต้มเอาน้ํา  ถ้าหา น้ํากระสายไม่ได้ใช้น้ําสุกแทน

ขนาดรับประทาน  รับประทานทุก ๓  ชั่วโมง    
               ชนิดผง ครั้งละ ครึ่ง- ๑  ช้อนชา     
               ชนิดเม็ด ครั้งละ  ๓- ๕  เม็ด

ขนาดบรรจุ  ชนิดผง ไม่เกิน  ๑๕  กรัม  
                    ชนิดเม็ด ไม่เกิน  ๗๕ เม็ด 

หน้า  ๔๗
เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๒๑) ยาอํามฤควาที

วัตถุส่วนประกอบ  โกฐพุงปลา  เทียนขาว  ลูกผักชีลา  
เนื้อลูกมะขามป้อม  เนื้อลูกสมอพิเภก  หนักสิ่งละ  ๑ ส่วน 
ชะเอมเทศ  หนัก  ๕ ส่วน

วิธีทํา  บดเป็นผง

สรรพคุณ  แก้ไอ  ขับเสมหะ  ละลายน้ํามะนาวแทรกเกลือ  
ใช้จิบหรือกวาดคอ

ขนาดการใช้ ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๑ ช้อนชา   เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  
ครั้งละ ครึ่ง ช้อนชา

ขนาดบรรจุ  ไม่เกิน  ๑๕ กรัม

   (๒๒) ยาประสะมะแว้ง

วัตถุส่วนประกอบ สารส้ม หนัก ๑ ส่วน ขมิ้นอ้อย หนัก ๓ ส่วน 
ใบสวาด ใบตานหม่อน ใบกะเพรา  หนักสิ่งละ  ๔ ส่วน 
ลูกมะแว้งต้น  ลูกมะแว้งเครือ  หนักสิ่งละ  ๘ ส่วน

วิธีทํา  บดเป็นผง  ผสมน้ําสุกแทรกพิมเสนพอควร ทําเป็นเม็ด  
           หนักเม็ดละ  ๐.๒ กรัม

สรรพคุณ แก้ไอ  แก้เสมหะ  ละลายน้ํามะนาวแทรกเกลือ
               รับประทานหรือใช้อม

ขนาดการใช้  เด็กอายุ  ๖- ๑๒ ปี  ครั้งละ ๑- ๒  เม็ด
                      ผู้ใหญ่  ครั้งละ ๕- ๗ เม็ด

ขนาดบรรจุ  ไม่เกิน  ๓๐ เม็ด

   (๒๓) ยาประสะไพล

วัตถุส่วนประกอบ ผิวมะกรูด ว่านน้ํา กระเทียม หัวหอม พริกไทย  
ดีปลี  ขิง  ขมิ้นอ้อย เทียนดํา เกลือสินเธาว์  หนักสิ่งละ  ๘  ส่วน 
การบูร  หนัก  ๑  ส่วน ไพล หนัก  ๘๑ ส่วน

วิธีทํา  ชนิดผง บดเป็นผง
           ชนิดเม็ด บดเป็นผง  ทําเป็นเม็ด  หนักเม็ดละ  ๐.๒๕ กรัม
           ชนิดแคปซูล บดเป็นผง 
           บรรจุผงยาแคปซูลละ ๐.๒๕ กรัม

สรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ระดูไม่ปกติ  ขับน้ําคาวปลา

ขนาดรับประทาน รับประทาน  วันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร
          ชนิดผง ครั้งละ ๑ ช้อนชา  ละลายน้ําสุก  หรือน้ําสุรา
          ชนิดเม็ด ครั้งละ  ๒- ๔  เม็ด
          ชนิดแคปซูล ครั้งละ ๒- ๔ แคปซูล

ขนาดบรรจุ  ชนิดผงไม่เกิน  ๓๐ กรัม
                   ชนิดเม็ด ไม่เกิน  ๑๒๐ เม็ด
                   ชนิดแคปซูล ไม่เกิน  ๑๒๐ แคปซูล 

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

   (๒๔) ยาประสะเปราะใหญ่

วัตถุส่วนประกอบ โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง 
โกฐจุฬาลัมพา เทียนดํา เทียนแดงเทียนขาว เทียนข้าวเปลือก 
เทียนตาตั๊กแตน  ลูกจันทน์  ดอกจันทน์  ลูกกระวาน  กานพลู  
จันทน์ขาวจันทน์แดง ดอกบุนนาค  ดอกสารภี  ดอกพิกุล  
เกสรบัวหลวง  หนักสิ่งละ  ๑  ส่วน  เปราะหอม  หนัก ๒๐ ส่วน

วิธีทํา  บดเป็นผง

สรรพคุณ  ถอนพิษไข้ตานทรางสําหรับเด็กอายุต่ํากว่า ๕ ปี 
ละลายน้ําดอกไม้เทศ หรือน้ําสุก รับประทาน  
หรือผสมน้ําสุราสุมกระหม่อม

ขนาดการใช้  รับประทานทุก ๓  ชั่วโมง ครั้งละ ครึ่ง- ๑ ช้อนชา

ขนาดบรรจุ ไม่เกิน  ๑๕ กรัม

       ข้อ  ๕  ตํารับยาสามัญประจําบ้านตามข้อ ๒ มีสรรพคุณได้เพียงกลุ่มเดียว ยกเว้น ยากลุ่มที่ ๔
ยาแก้ไข้  อาจรวมกับยากลุ่มที่  ๕ ยาแก้ร้อนใน โดยมีสูตรส่วนประกอบเป็นไปตามข้อ  ๓

       ข้อ  ๖  ฉลากยาสามัญประจําบ้านตามประกาศนี้  ต้องแสดงข้อความดังต่อไปนี้
                  ๖.๑  ชื่อยาตามที่ระบุในประกาศ  ในกรณีเป็นตํารับยาที่มีการกําหนดชื่อยาไว้ใน
ประกาศฉบับนี้  กรณีมีชื่อทางการค้า  ให้แสดงชื่อยาตามประกาศควบคู่กับชื่อทางการค้าโดยใช้
ตัวอักษรที่มีขนาดเท่ากัน
                  ๖.๒  คําว่า“ยาสามัญประจําบ้าน” ในกรอบสีเขียว มีขนาดตัวอักษรที่สามารถอ่านได้
ชัดเจน
                  ๖.๓  คําว่า“ยาสิ้นอายุ” และแสดงวันเดือนปีที่ยาสิ้นอายุ
ให้ยาสามั ญประจําบ้านตามประกาศฉบับนี้มีอายุการใช้ของยานับจากวันที่ผลิตได้
ไม่เกิน  ๒ ปี  สําหรับยาน้ํา  และไม่เกิน  ๓ ปี  สําหรับยารูปแบบอื่น
                  ๖.๔  ข้อความอื่นตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๕๗(๒) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ.  ๒๕๑๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา(ฉบับที่  ๓)  พ.ศ.  ๒๕๒๒ แล้วแต่กรณี

      ข้อ  ๗  ให้ยาสามัญประจําบ้านตามประกาศฉบับลงวันที่  ๒๖  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๔๒
ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศฉบับนี้ยังคงเป็นยาสามัญประจําบ้านต่อไป

      ข้อ  ๘  ให้ยาสามัญประจําบ้านตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  ที่ถูกยกเลิกตามข้อ  ๑
ที่ผลิตขึ้นก่อนประกาศนี้มีผลบังคับและไม่ได้เป็นยาสามัญประจําบ้านตามประกาศนี้ เป็นยาสามัญประจําบ้าน  ต่อไปอีกสามร้อยหกสิบห้าวันนับถัดจากวันประกาศนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวแล้วให้ยานั้น เป็นยาแผนโบราณ 

เล่ม  ๑๓๐  ตอนพิเศษ  ๒๑  ง  ราชกิจจานุเบกษา  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖

      ข้อ  ๙  ยาสามัญประจําบ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้  ที่ผลิตขึ้นก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
และต้องมีการแก้ไขรายละเอียดให้เป็นไปตามประกาศนี้  เป็นยาสามัญประจําบ้านต่อไปได้อีกสามร้อย
หกสิบห้าวันนับถัดจากวันประกาศนี้มีผลใช้บังคับ  โดยผู ้รับอนุญาตจะต้องยื่นคําขอแก้ไขต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่  หากไม่ดําเนินการภายในกําหนดเวลาดังกล่าว  ให้ยานั้นเป็นยาแผนโบราณ

      ข้อ ๑๐ ยาสามัญประจําบ้าน  ตามข้อ  ๙  ที่ผู้รับอนุญาตได้ยื่นคําขอแก้ไขแล้ว  เมื่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วไม่เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะมีคําสั่งไม่รับยานั้น เป็นยาสามัญประจําบ้าน  ก่อนพ้นกําหนดเวลาตามข้อ  ๙ ได้

      ข้อ ๑๑ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


ประกาศ  ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.  ๒๕๕๖
            ประดิษฐ สินธวณรงค์
        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 

-------------------------------------------------------------------------


ภาพตัวอย่างยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ  24 ขนาน

1.ยาประสะกะเพรา

9.ยาธรณีสัณฑะฆาต

17.ยาหอมเทพจิตร

2.ยาวิสัมพยาใหญ่

 

10.ยาถ่าย

18.ยาหอมทิพโอสถ

3.ยาประสะกานพลู

11.ยาเหลืองปิดสมุทร

19.ยาหอมอินทจักร์

4.ยาแสงหมึก

12.ยาธาตบรรจบ

20.ยาหอมนวโกฐ

5.ยามันทธาตุ

13.ยาจันทน์ลีลา

21.ยาอำมฤควาที

6.ยาประสะเจตพังคี

14.ยาประสะจันทน์แดง

22.ยาประสะมะแว้ง

7.ยามหาจักรใหญ่

15.ยาเขียวหอม

23.ยาประสะไพล

8.ยาตรีหอม

16.ยามหานิลแท่งทอง

24.ยาประสะเปราะใหญ่



-------------------------------------------------------------------------


ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/03/blog-post.html

-------------------------------------------------------------------------

 







No comments:

Post a Comment