รวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการศึกษา และด้านสุขภาพ

Wednesday, September 25, 2013

สมุนไพรแห้ง ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

สมุนไพรแห้ง ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต





จัดทำโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน

ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

เพื่อการศึกษา และประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ชม


สมุนไพรแห้ง ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

มะตูม
ผลอ่อน ชนิดเปลือกแข็ง หั่นตากแดดปรุงเป็นยาธาตุ 
สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ
ผลสุก  ช่วยย่อยอาหาร ระบายท้อง แก้โรคไฟธาตุอ่อน บิด ท้องเสีย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว

    (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

สมอไทย
ผล  รสฝาดติดเปรี้ยว  สรรพคุณ  ระบายอ่อนๆ แก้ลมป่วง แก้พิษร้อนภายใน คุมธาตุ แก้ลมจุกเสียด รู้ผายธาตุ รู้ระบาย รู้ถ่ายอุจจาระ ถ่ายพิษไข้ คุมธาตุในตัวเสร็จ แก้ไข้เพื่อเสมหะ

     (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

สมอเทศ
ผล  รสเปรี้ยวและฝาดจัด สรรพคุณ  ระบายอ่อนๆ ระบายเสมหะ ระบายลม รู้ถ่าย รู้ปิดเอง แก้เสมหะ ทำให้ลมเดินสะดวก
         
  (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

สมอพิเภก
ผลอ่อน  รสเปรี้ยว  สรรพคุณ  แก้ไข้เพื่อเสมหะ และไข้เจือลม
ผลแก่    รสเปรี้ยวฝาดหวาน  สรรพคุณ แก้เสมหะจุกคอ 
ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคตา บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวง

    (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

สมอดีงู
ผล  รสขมฝาด 
สรรพคุณ  แก้พิษดี พิษโลหิต แก้ไอ ขับโลหิตระดูสตรี ถ่ายระบายอุจจาระแรงกว่าสมอชนิดอื่นๆมาก

     (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

สมอทะเล
ผล รสร้อน
สรรพคุณ  ถ่ายอุจจาระ ถ่ายลม ถ่ายโลหิตเป็นพิษ 
หมายเหตุ ห้ามใช้ถ่ายในผู้ป่วยเป็นไข้ 

     (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ) 

มะขามป้อม
ผลอ่อน รสฝาดขม สรรพคุณ บำรุงเนื้อหนังให้บริบูรณ์
ผลแก่ รสเปรี้ยวฝาดขม 
สรรพคุณ แก้ไข้เจือลม แก้เสมหะ ทำให้ชุ่มคอ

 (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)


ลูกจันทน์
ดอกจันทน์
เมล็ดใน  รสรสหอมฝาดหวานสุขุม 
สรรพคุณ แก้กระหายน้ำ บำรุงกำลัง แก้ลม แก้จุกเสียด แก้กำเดา  แก้ท้องร่วง แก้ปวดมดลูก ขับลมในลำไส้ บำรุงโลหิต แก้บิด       บำรุงธาตุ 
รกหุ้มเมล็ด (ดอก) รสหอมฝาดร้อน 
สรรพคุณ  บำรุงโลหิต บำรุงผิวเนื้อให้เจริญ

     (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)



ฝางเสน ( ไม้ต้นขนาดกลาง เนื้อไม้สีแดงและเหลือง)
แก่น  รสขมขื่นฝาด 
สรรพคุณ แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน แก้โลหิตออกทางทวารหนัก แก้ไข้กำเดา แก้เสมหะ

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ขอนดอก

ไม้ยืนต้นตายจากต้นพิกุลและต้นตะแบก ลักษณะเหมือนไม้ผุสีขาวป็นจุดๆในเนื้อไม้
ขอนดอก รสจืดหอม  
สรรพคุณ บำรุงตับ ปอด ห้วใจ บำรุงทารกในครรภ์ ทำให้ใจชุ่มชื่น

 (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

                                               กะลำพัก

กะลำพัก รสหอมเย็น 
สรรพคุณ แก้พิษเสมหะ-โลหิต บำรุงตับ ปอด หัวใจ แก้ธาตุพิการ

 (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

แก่นแกแล
แก่นแกแล
แก่น รสขมขื่น สรรพคุณ บำรุงน้ำเหลือง แก้พุพอง บำรุงกำลัง

 (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)


แก่นแสมทะล

แก่น รสเค็มเฝื่อนขม สรรพคุณ ขับลมในกระดูก ขับโลหิตประจำเดือนสตรี ขับถ่ายโลหิตระดูสตรีให้ปกติ แก้กระษัย
  

แก่นแสมสาร

แก่น รสขมกร่อย สรรพคุณ ระบายถ่ายเสมหะ ถ่ายกระษัย ถ่ายโลหิตระดูสตรี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน 


แก่นขี้็เหล็ก

แก่น รสขม แก้กามโรค หนองใน แก้กระษัย แก้เหน็บชา แก้ไฟธาตุพิการ


แก่นมะหาด
แก่น รสร้อน สรรพคุณ แก้ลม แก้กระษัย ละลายเลือด แก้เส้นเอ็นพิการ  
แก่นมะเกลือเลือด
เนื้อไม้ แก่น รสขมปร่า สรรพคุณ แก้โลหิตจาง ขับโลหิตประจำเดือนสตรี แก้กระษัย บำรุงกำลัง แก้ธาตุพิการ 

แก่นจันทน์แดง
นื้อไม้และแก่น รสขมเย็น 
สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ซางอันเกิดแต่ดี แก้เลือดออกตามไรฟัน 
แก้บาดแผล แก้ไข้เพื่อดีพิการ ทำให้ชื่นใจ

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

แก่น รสหอมเย็นติดร้อน 
สรรพคุณ แก้ไข้กำเดา บำรุงหัวใจ แก้ลม แก้อ่อนเพลีย

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

 แก่นจันทน์เทศ
เนื้อไม้ และแก่น รสขมหอมร้อน สรรพคุณ แก้ไข้ดีเดือด ดีพลุ่ง แก้กระสับกระส่าย ตาลอยเผลอสติ บำรุงตับ ปอด และน้ำดี 

แก่นจันทน์ชะมด
แก่น รสขมหอม สรรพคุณ บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน แก้คลื่นเหียนอาเจียน ทำให้ใจชื่นบานสดชื่นแจ่มใส ชูกำลัง ใช้ทำยาหอม


เนระพูสี

ต้น รสฝาด สรรพคุณ แก้บิดมูกเลือด แก้ไข้ท้องเสีย (ไข้รากสาด) แก้ปวดแบ่ง แก้ไข้เหนือ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ
เหง้า  รสฝาดเย็น สรรพคุณ แก้ธาตุพิการ แก้ปอดพิการ แก้ลมสันนิบาต 7 จำพวก ดับพิษไข้ แก้คอ ลิ้นเปื่อย แก้ไอ แก้ซางเด็ก
รากอากาศ สรรพคุณ คล้ายกับเหง้า


มหาสดำ
เนื้อไม้ รสเย็น สรรพคุณ ดับพิษร้อน แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

กฤษณา (ไม้หอม)
เนื้อไม้ รสขมหอม 
สรรพคุณ บำรุงโลหิต บำรุงตับ ปอด หัวใจ  แก้ลมหน้ามืดวิงเวียน

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

กันเกรา (ตำเสา)
เนื้อไม้  รสขมหอม 
สรรพคุณ บำรุงเลือด บำรุงตับ ปอด แก้ลมหน้ามืด วิงเวียน 

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

                                               เทพธาโร
เปลือกต้น รสร้อน สรรพคุณ แก้ลมจุกเสียด แน่น เฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับผายลม บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ และกรพะเพาะอาหาร

เต่าร้าง (เต่ารั้ง)
หัวและราก รสหวานเย็นขม 
สรรพคุณ  ดับพิษตับ-ปอด แก้หัวใจพิการ

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
                                                                               
รากลำเจียก

เปลือกต้นสมุลแว้ง
เปลือกต้น รสหอมฉุนปร่า 
สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน ใจสั่น แก้พิษหวัด กำเดา ขับลมในลำไส้

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

เปลือกต้นทิ้งถ่อน

เปลือกต้น รสร้อนสุขุม 
สรรพคุณ เจริญอาหาร ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ตะโกนา (พญาช้างดำ)
เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสฝาดติดขม 
สรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

กำลังเสือโคร่ง (กำลังพญาเสือโคร่ง)
เปลือกต้น รสร้อนเล็กน้อยกลิ่นหอม  สรรพคุณ บำรุงธาตุ 
บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกำลัง เจริญอาหาร แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

โลดทะนงแดง
ราก รสเย็นเมาร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษงู ถอนพิษเสมหะ แก้หอบหืด แก้วัณโรค เกลื่อนหัวฝีทำให้ยุบ และดูดหนอง และแก้พิษงูกัด

ม้ากระทึบโรง
ใช้ทั้งต้น รสขมน้อย สรรพคุณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด

แซ่ม้าทะลาย

 เถามวกแดง

เปลือกโรกขาว

กระแตไต่ไม้
หัว รสจืดเบื่อ สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้เบาหวาน เบื่อพยาธิ แก้ไตพิการ แก้แผลพุพอง

พิษนาศน์
ต้น รสขมขื่นเอียน สรรพคุณ ดับพิษกาฬที่ทำให้หมดสติพูดไม่ออก แก้ไข้เซื่องซึม
ราก รสจืดเฝื่อนซ่า สรรพคุณ ต้มเอาน้ำดื่มดับพิษภายใน ขับน้ำค้างขังตามที่ต่างๆ แก้ฟกบวมตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ แก้คางทูม เป็นต้น
(สารานุกรมสมุนไพร) 

รากระย่อม
ราก รสขมเมานิดหน่อย สรรพคุณ แก้ปวดศีระษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง แก้คลุ้มคลั่งเนื่องจากดี และโลหิต ช่วยย่อยอาหาร และระงับประสาท ถ้ากินจะมีอาการข้างเคียง คือ หน้าแดง ตัวแดง แน่นจมูก และง่วงนอน (ก่อนใช้ต้องคั่วให้เหลืองเสียก่อน อาการแทรกซ้อนจะน้อยลง)

เจตพังคี
ราก รสเผ็ดขื่นปร่า สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น ปวดแน่นในท้อง ขับลมทำให้เรอ ฝนกับน้ำปูนใสผสมกับมหาหิงคุ์ และการบูร ทาท้องเด็กอ่อน แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับผายลม 

 กรุงเขมา
ราก รสเย็นหอมสุขุม สรรพคุณ แก้ไข้ที่มีพิษร้อน แก้ดีซ่าน บำรุงร่างกายให้แข็งแรง

รากไคร้เครือ
ราก รสขมขื่นปร่า สรรพคุณ แก้พิษไข้ พิษกาฬ เจริญอาหาร ชูกำลัง


ว่านร่อนทอง
หัว รสปร่า สรรพคุณ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด คุมธาตุ แก้พิษตานซาง แก้พิษฝี พิษงู ตะขาบ แมงป่อง 
กาฝากมะม่วง
กาฝากมะม่วง รสเย็น สรรพคุณ แก้ปวดหัว แก้ความดันโลหิตสูง

ส้มป่อย
ใบ รสเปรี้ยวฝาดเล็กน้อย สรรพคุณ ถ่ายเสมหะ ล้างเมือกมันในลำไส้ แก้บิด ฟอกล้างโลหิตระดู ประคบให้เส้นเอ็นหย่อน

 พยับเมฆ  ( หญ้าหนวดแมว )
ต้น รสจืด  
สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว
หมายเหตุ ใช้มากเป็นอันตราย กดหัวใจ ทำให้หยุดเต้นได้)

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ใช้ทั้ง ๕ รสขมเบื่อ สรรพคุณ แก้ไข้ ขับพยาธิในท้องเด็ก

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
เมล็ดชุมเห็ดไทย (ชุมเห็ดเล็ก)
เมล็ด คั่วให้เกรียม ตำผง ชงน้ำร้อนเหมือนกาแฟ รสขมหอมเล็กน้อย
สรรพคุณ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ทำให้นอนหลับ แก้กระษัย 
ขับปัสสาวะ
 (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
ชุมเห็ดเทศ 
ต้น ราก ใบ รสเบื่อเอียน 
สรรพคุณ แก้กระษัยเส้น แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ถั่วพู

รากเพกา
ราก รสฝาดขมน้อย สรรพคุณ บำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร
แก้ไขัสันนิบาต แก้ท้องร่วง ฝนน้ำปูนใส ทาแก้บวมอักเสบ

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

 ขี้เหล็กบ้าน
เปลือกต้น รสขม สรรพคุณ แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร
แก่น รสขม สรรพคุณ แก้กามโรค หนองใน แก้เหน็บชา 
แก้ไฟธาตุพิการ
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)


 สลัดได
ต้น เผาเป็นด่าง รสขมเมาเล็กน้อย 
สรรพคุณ แก้หืดไอ อัมพาต แก้ฟกบวม จุกเสียด แก้ท้องผูก

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
 อ้อยแดง
ลำต้น รสหวานและขม สรรพคุณ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ขัดเบา

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
สีเสียดไทย

สีเสียดเทศ
สีเสียดทั้ง ๒ รสฝาด สรรพคุณ สมานบาดแผลและคุมธาตุ แก้ท้องร่วง บิด แก้บาดแผล ล้างบาดแผลถูกไฟไหม้ และโรคผิวหนัง

                             
                                                       ยาดำ

ยาดำสะตุ
ยาดำ รสเหม็นขมจัด สรรพคุณ ถ่ายท้อง ถ่ายพิษไข้ ถ่ายพยาธิไส้เดือน ตัวตืด ขับน้ำดี แต่ไซ้ท้อง ฝนสุราทาหัวฝี แก้อาการฟกบวม
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ครั่ง
ครั่งจากต้นก้ามกราม รสฝาด  สรรพคุณ แก้ไอ แก้ข้อหักซ้อน
ครั่งทั่วไป รสฝาด สรรพคุณ บำรุงโลหิต ห้ามเสมหะ คุมอาจม แก้ท้องร่วง ท้องเสีย
สาราณุกรมสมุนไพร

มหาหิงคุ์
ยาง รสขมร้อนเหม็น สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ใช้ทาท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ปวดท้อง
ทำให้ผายลม
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

รงทอง
ยาง (ฆ่าฤทธิ์แล้ว) รสเอียนเบื่อ สรรพคุณ ถ่ายอย่างแรง ถ่ายลม ถ่ายน้ำเหลืองเสีย ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิต ฝนกับน้ำกะทิทาแผลพุพอง แก้ปวด และให้ล่อนออกดี  

 หวายตะค้า
เถา ต้น รสเย็น สรรพคุณ แก้พิษร้อน แก้พิษไข้กาฬ แก้ชักเพราะความร้อนสูง แก้สลบ แก้หอบ แก้ลิ้นกระด้างคางแข็งเนื่องจากพิษไข้

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ชะลูดขาว
เปลือกเถา รสหอมเย็น สรรพคุณ ขับผายลม แก้ปวดในท้อง

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

เถาวัลย์เปรียง
เถา รสเบื่อเอียน สรรพคุณ ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด
เส้นตึง แก้ปวดเมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ขับปัสสาวะ 
ถ่ายเสมหะลงสู่คูถทวาร

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

                               
เถาวัลย์เปรียงแดง (หาทำยายาก)
สรรพคุณ เหมือนเถววัลย์เปรียงขาว

เถาโคคลาน
เถา รสขมเบื่อเย็น สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ครั่นตัว 
เส้นตึง แก้ปวดหลังปวดเอว แก้กระษัย ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ 
บำรุงโลหิต
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
             

ชะเอมไทย (ส้มป่อยหวาน)
เนื้อไม้ เถา รสหวานชุ่ม สรรพคุณ แก้เสมหะในลำคอ แก้คอแห้ง
แก้ลม บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ ขับเสมหะ 
แก้น้ำลายเหนียว แก้เลือดออกตามไรฟัน

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
  
ขันทองพยาบาท
เนื้อไม้   รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ลมพิษ แก้ไข้ แก้กามโรค
เปลือกต้น รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ทำให้ฟันทน รักษาโรคตับพิการ แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง ฆ่าพยาธิ แก้โรคเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด กลาก เกลื้อน
ตีนเป็ดตาเครือ (เถาเอ็นอ่อน)
เถา รสขมเมา สรรพคุณ แก้เส้นตึง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

                            
                                                                 เถารางแดง

 เถารางแดง
เถา รสจืดเย็น 
สรรพคุณ ขับปัสสาวะ แก้กระษัยเส้นตึง กระษัยกล่อนทุกชนิด

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

เถาสะค้าน
เถา รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้ลมอันบังเกิดในกองธาตุ กองสมุฏฐาน ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ทำให้ผายเรอ

(สารานุกรมสมุนไพร)




ชะเอมเทศ (ชะเอมจีน)
ราก รสหวาน สรรพคุณ ขับเลือดเน่า บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้กำเดา แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว ทำให้ชุ่มคอ 
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)


(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
อบเชยเทศ 
เปลือกต้น รสเผ็ดหวาน สรรพคุณ แก้ลมอัณฑพฤกษ์ ปลุกธาตุอันดับให้เจริญ แก้ไข้สันนิบาต แก้อ่อนเพลีย ขับผายลม

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

อบเชยญวน
เปลือกต้น รสเผ็ดหวานร้อน (หอมสุขุม) สรรพคุณ บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน แก้บิด แก้ไข้สันนิบาต บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต ขับผายลม แก้จุกเสียด แน่นท้อง แก้อ่อนเพลีย ขับลมในลำไส้ และกระเพาะอาหาร แก้โทษน้ำคาวปลา แก้ท้องร่วง บดเป็นผงโรยแผลกามโรค สมานแผล
(สารานุกรมสมุนไพร)

บอระเพ็ด
เถา รสขม สรรพคุณ แก้ไข้ แก้เสมหะ แก้โลหิต บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ขมิ้นเครือ
ต้น รสฝาดเฝื่อนร้อน สรรพคุณ แก้น้ำดีพิการ ขับผายลมทำให้เรอ
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

กำแพงเจ็ดชั้น (ลุ่มนก)
เถา รสเบื่อเมา สรรพคุณ ขับโลหิตระดูสตรี บำรุงโลหิต ขับผายลม แก้ไข้ แก้ปวดตามข้อ แก้เม็ดประดงผื่นคัน
(ตำราแพทย์แผนโบาณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ผิวลูก รสปร่าหอมติดร้อน สรรพคุณ ขับลมในลำไส้ ขับระดู
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ใบอินทนิลน้ำ
ใบ รสขมเย็นเล็กน้อย สรรพคุณ แก้ทางเดินปัสสาวะพิการ 
แก้เบาหวาน

ใบชุมเห็ดเทศ
ใบ รสเบื่อเอียน สรรพคุณ ตำ หรือขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนังชนิดมีตัว
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)


ใบ รสเปรี้ยวจัด สรรพคุณ ฟอกโลหิตประจำเดือน ขับปัสสาวะ ถ่ายเสมหะ แก้ไอ
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

                                                  ใบมะกา
ใบ รสขมขื่น สรรพคุณ ถ่ายเสมหะ และโลหิต ถ่ายพิษตานซางเด็ก ชักลมเบื้องสูงให้ลงต่ำ
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)


ใบเสลดพังพอน (พญายอ)
ใบ รสขม สรรพคุณ รักษาอาการแพ้ อักเสบ ถอนพิษ แมลงสัตว์กัดต่อย โรคผิวหนัง เริม งูสวัด

ทองพันชั่ง
ใบ รสเบื่อเย็น สรรพคุณ ดับพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้พยาธิผิวหนัง
ราก รสเย็นเบื่อ สรรพคุณ แก้กลากเลื้อน ผื่นคัน และโรคผิวหนังที่เป็นน้ำเหลืองบางชนิด
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
ฟ้าทลายโจร
ใบ รสขม สรรพคุณ แก้ท้องเสีย เจ็บคอ 
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)


                                            ครอบฟันสี
ต้น รสขม สรรพคุณ บำรุงโลหิต และขับลม
ใบ รสขมติดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ บ่มหนองฝีให้แตกเร็ว
ดอก รสขม สรรพคุณ ฟอกลำไส้ให้สะอาด บ่มหนองให้เกิดเร็ว
ราก รสขม สรรพคุณ แก้ลม แก้ดี บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้มุตกิด 
แก้ไอ ขับปัสสาวะ สมานเยื่อทางเดินปัสสาวะ แก้เบาหวาน แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไตพิการ 
แก้ไข้ผอมเหลือง 
(สารานุกรมสมุนไพร)


ใบ เถา มะแว้งเครือ

ดอกมะลิ
ดอก รสหอมเย็น สรรพคุณ ทำให้จิตใจแช่มชื่น แก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เจ็บตา  
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ดอกพิกุล
ดอก รสฝาดกลิ่นหอม สรรพคุณ แก้ลม บำรุงโลหิต
 (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ดอก รสหอมเย็น บำรุงโลหิต บำรุงผิวกายให้สดชื่น แก้ร้อนกระสับกระส่าย ชูกำลัง แก้ลมกองละเอียด หน้ามืดวิงเวียนใจสั่น อ่อนเพลีย ใจหวิว
(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ดอก รสหอมเย็น สรรพคุณ ชูกำลัง บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 
ใช้ทำยาหอม

เกสรบัวหลวง
เกสร รสฝาดหอม สรรพคุณ แก้ไข้รากสาด แก้ไขัท้องเสีย ชูกำลัง ทำให้หัวใจสดชื่น บำรุงครรภ์รักษา

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)



(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ดอกลำเจียก


(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ดอกคำไทย

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)



(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)


ดอกกระเจี๊ยบแดง

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

ดีปลี

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)


กานพลู


ปอบิด


(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
โกฐสอ

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
โกฐสอ

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

โกฐหัวบัว


โกฐเขมา 
รสสุขุมหอม 
สรรพคุณ แก้โรคในปาก แก้แผลเน่าเปื่อย แก้เสียดแทงสองราวข้าง แก้หอบหืด



(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)
โกฐจุฬาลัมพา

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

โกฐก้านพร้าว
โกฐก้านพร้าว 
ราก  มีลักษณะคล้ายหางหนูมะพร้าวแห้ง ไม่มีกลิ่นหอมใดๆ รสเย็น
สรรพคุณ  แก้ไข้ แก้หอบ แก้สะอึก แก้เสมหะเป็นพิษ

 (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)



โกฐกระดูก

โกฐกระดูก
เปลือกราก  รสร้อนกลิ่นหอม สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ขับลมในลำไส้ แก้โลหิตจาง

 (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

โกฐพุงปลา

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

โกฐชฎามังสี

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

โกฐกะกลิ้ง

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

โกฐกักกรา

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

โกฐน้ำเต้า

(ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)

เทียนดำ

เทียนแดง



เทียนข้าวเปลือก

เทียนตาตั๊กแตน


เทียนเกล็ดหอย

 เทียนแกลบ


เทียนลวด (เทียนหลอด)

หัวกระเทียม



หัวกกลังกา

ลำพันแดง


 หัวข้าวเย็นเหนือ

หัวข้าวเย็นใต้



หัวร้อยรู

เหง้าสับปะรด

เหง้าตะไคร้

หัวตะไคร้หอม

ขมิ้นชัน

 กะทือ


กระชาย

เปราะหอม

 (ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม กองประกอบโรคศิลปะ)



แห้วหมู

หญ้าชันกาด

งวงตาลโตนด



ลูกสะบ้า

  เปลือกลูกทับทิม


เปลือกลูกมังคุด

ลูกน้อยหน่าตาย

ลูกกระวาน


 ลูกผักชีลา


ลูกผักชีล้อม


พริกไทยดำ


พริกไทยล่อน
ลูกราชดัด


ลูกสะค้าน


ลูกคัดเค้า


ลูกสารพัดพิษ

เมล็ดกระเบียน


เมล็ดข่อย


เมล็ดผักกาด


ลูกกระดอม


เบญกานี

ฝักส้มป่อย

ลูกมะแว้งเครือ


เม็ดมะกอก


ลูกมะคำดีควาย



ลูกเร่วน้อย


เร่วใหญ่




ลูกเอ็น (กระวานเทศ)


ลูกเดือย

เมล็ดเพกา





ใบหญ้านางและราก


รากหญ้านาง


รากชิงชี่

รากเท้ายายม่อม

รากคนทา

รากมะเดื่อชุมพร

 รากเจตมูลเพลิงแดง

รากหญ้าคา

รากปลาไหลเผือก





ว่านสากเหล็ก


ว่านน้ำ


ชันย้อย



เห็ดหลินจือดำ







เลือดแรด

ไส้เดือน

คางคกตายซาก

เขากุย




ชะมด






แมงดาทะเล

กระดองปลาหมึก (ลิ้นทะเล)


ม้าน้ำ


กัลปังหา

 หอยต่างๆ

เบี้ยแก้เล็ก  (ตำราพระโอสถพระนารายณ์)

เบี้ยไท เบี้ยนาง เบี้ยแก้ว  (ตำราพระโอสถพระนารายณ์)
เบี้ยเมีย (คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์)


เบี้ยจั่น เบี้ยจั๊กจั่น เบี้ยจีน  (ตำราพระโอสถพระนารายณ์)
เบี้ยผู้  (คัมภีร์เภสัชรัตนโกสินทร์)



ชาดก้อน
ชาดก้อน และบดผง










แก้วแกลบ



กำมะถันเหลือง


กำมะถันแดง









ดินประสิวขาว
ดินประสิวแดง



ดินรังหมาร่า

ดินรังหมาร่า










พิมเสนเกล็ด


การบูร


เมนทอล (สาระแหน่เกล็ด)




สารส้ม




หินปะการัง





-------------------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิง ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม และเภสัชกรรม
กองการประกอบโรคศิลปะ





























No comments:

Post a Comment