Search This Blog

Sunday, November 17, 2013

แพทย์พื้นบ้านทำคลอดโดยแม่ทาน (หมอตำแย)

แพทย์พื้นบ้านทำคลอด

โดยแม่ทาน (หมอตำแย)



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


แพทย์พื้นบ้านทำคลอด

โดยแม่ทาน (หมอตำแย)

           เมื่อสมัยก่อน การคลอดบุตรต้องอาศัยแม่ทานหรีอหรือตำแยช่วยคัดท้องจัดท่าทางทารกในครรภ์คลอดง่าย ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาของคนไทยแต่ละท้องถิ่นตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันนี้หลังจากถูกครอบงำด้วยระบบแพทย์แผนต่างชาติ ที่เข้ามาตั้งแต่รัชกาลที่ 3 ตอนแรกๆ คนไทยยังไม่นิยม แต่ใช้อุบายแจกนมผงผ้าอ้อม จึงทำให้คนไทยเข้าไปเป็นลูกค้าตาม รพ. ต่างๆ มากขึ้นจนแน่น รพ.

          ปัจจุบันมีลูกค้าพะม่าเข้าไปอยู่ที่ รพ. มาก จึงทำให้ราคาค่าทำคลอดแพงขึ้นมากมายหลายหมื่น บาท หญิงไทยไม่มีเงินค่าทำคลอด ต้องกลับบ้าน และเด็กออกมาตายอย่างน่าอนาถ ถ้าเป็นสมัยก่อน แม่ทานในชุมชนช่วยทำคลอดได้เด็กคงไม่ตายแน่ๆ น่าเสียดายเด็กคนนั้นอาจเป็นบุคคลสำคัญของชาติก็ได้ใครเล่าจักรู้ ถ้ายังมีแม่ทานหมอตำแยก็ไม่ต้องไปทำคลอดที่ รพ. ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทารกคลอดในรถยนต์หลายคน เพราะรถติด จึงควรส่งเสริมให้มีแพทย์พื้นบ้านแม่ทานทำคลอด (หมอตำแย) 
หรือโต๊ะบีแด
         
      

 





          ผู้เขียนก็เคยเกิดด้วยวิธีทำคลอดแบบโบราณเมื่อปี 2488 ต้องอยู่ที่บ้านแม่ทานซึ่งเป็นแม่ยก 6 เดือน จึงได้กลับบ้านไปอยู่กับแม่ได้ เพราะมีสายรกพันรอบคอ เขาว่าเลี้ยงยากเลยยกให้เป็นลูกแม่เจิม ณ ถลางซึ่งเป็นแม่ทานเป็นแม่ยกกินหมากปากแดงเมื่อ 68 ปีมาแล้ว บ้านอยู่ที่ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


          แม่ทาน (หมอตำแย) หรือโต๊ะบีแด ที่ช่วยเหลือทำคลอดให้ชาวบ้านเป็นจำนวนมากสมควรได้รับเกียรติยกย่อง เช่น แม่เจิม ณ ถลาง แม่หนุ่ย ต่อวงศ์ ก๊ะเดี๊ย และก๊ะแดง ที่ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ได้มรณภาพไปนานแล้ว และไม่มีผู้สืบทอดอย่างน่าเสียดาย

             ชาวบ้านส่วนใหญ่จะให้แม่ทาน (หมอตำแย) หรือโต๊ะบีแด เป็นผู้ทำคลอดให้ เป็นเพราะมีความผูกพันกันมาหลายช่วงอายุคน หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ไปฝากท้องกับทางโรงพยาบาล ก็เพราะว่า มีความไว้เนื้อเชื่อใจ รวมทั้งมีความผูกพันมาตั้งแต่เด็ก รู้สึกไว้วางใจ ส่วนการคลอดที่โรงพยาบาลนั้น ต่างจากการทำคลอดที่บ้าน ซึ่งที่โรงพยาบาลเราไม่รู้จักใครเลย ทั้งหมอ ทั้งพยาบาล แต่กับแม่ทาน (หมอตำแย) หรือโต๊ะบีแดนั้น ผูกพันกันมาตั้งแต่เกิด  



            ส่วนความเห็นของแพทย์โรงพยาบาล บางคน  บอกว่า แม่ทาน (หมอตำแย) หรือโต๊ะบีแด ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน และเป็นวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน โดยบางโรงพยาบาลก็ได้มีการสนับสนุน ด้วยการให้ความรู้ เกี่ยวกับการทำคลอด และการคำนึงถึงความสะอาดให้ระหว่างการทำคลอด รวมทั้งแนะนำให้สวมถุงมือยาง และให้วัตถุต่างๆที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้เพื่อให้แม่และลูกที่คลอดออกมา 
มีความปลอดภัยสูงสุด



หน้าที่ของแม่ทาน (หมอตำแย) หรือโต๊ะบีแดนั้น ก็จะมีส่วนในการช่วยเหลือดูแลหญิงมีครรภ์ได้อย่างใกล้ชิดกว่าทางโรงพยาบาล เนื่องจากส่วนใหญ่ก็คือชาวบ้านในหมู่บ้านนั่นเอง ซึ่งหลังจากคลอดแล้ว ก็ยังมีหน้าที่ดูแลหญิงหลังคลอดด้วย








วิธีของการดูแลหลังคลอดแบบแผนไทย โดยมารดาหลังคลอด 1 คน อาจจะใช้เพียง 1-2 วิธีเท่านั้น ดังต่อไปนี้

1. การอบสมุนไพร
การอบสมุนไพรไทยหลังการคลอด เป็นวิธีการที่จะทำให้ร่างกายได้ขับของเสียออกทางผิวหนัง ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้ผิวพรรณสดชื่น แจ่มใส สะอาด สำหรับผู้ที่คลอดปกติ จะทำการอบได้เมื่อครบกำหนด 7 วัน และสำหรับผู้ที่คลอดโดยการผ่าคลอด จะอบได้เมื่อ
ครบหลังคลอด 30 วัน

ตัวยาในการอบรมสมุนไพร มีดังนี้ คือ ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบมะกรูด และผิวมะกรูด ใบหญ้าคา ใบพลับพลึง ว่านน้ำ ว่านชักมดลูก ว่านมหาเมฆ ว่านนางคำ ใบเปล้าหลวง ขิง ใบช้าพลู ใบส้มป่อย

วิธีอบ ควรอบวันละประมาณ 20 นาที และอบสมุนไพรทุก ๆ วัน
จนครบ 7 วัน

2. การประคบสมุนไพร
เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แผลฝีเย็บแห้งดีและลดการอักเสบ และลดการคัดของเต้านม ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังคลอดบุตร 7 วัน สามารถประคบด้วยลูกประคบ ซึ่งมีตัวยาหลักดังนี้ ไพล ตะไคร้ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด เถาขมิ้นอ่อน ใบส้มป่อย ใบมะขาม การบูร

วิธีประคบ ใช้ลูกประคบ 3 ลูก ใช้นั่งทับ 1 ลูก อีก 2 ลูก ใช้ประคบตามร่างกายและเต้านมประคบทุกวันจนนมหายคัด หลังจากประคบอาจใช้น้ำที่เหลือจากการอบสมุนไพร ทิ้งไว้ให้พออุ่นแล้วอาบให้หมดแล้วจึงอาบน้ำอุ่น ๆ ล้างอีกครั้งหนึ่ง

3. การนั่งถ่าน
เป็นการใช้ความร้อนและควันจากการเผาไหม้ของตัวยาสมุนไพร เพื่ออบบริเวณช่องคลอด ซึ่งช่วยสมานแผลจากการคลอดบุตร ส่วนประกอบในตัวยามีดังนี้ ผิวมะกรูดแห้ง เหง้าว่านน้ำ ว่านนางคำ ไพล ขมิ้นอ้อย ชานหมาก เปลือกต้นชะลูด ขมิ้นผงและใบหมาก

วิธีการนั่งถ่าน
หั่นตัวยาสมุนไพรให้ละเอียด แล้วนำมาตากแดดให้แห้งก่อเตาไฟเล็ก ๆ และกลบขี้เถ้าให้ร้อนพอทนได้ นั่งเก้าอี้ไม้เจาะรูตรงกลางวางครอบเตาไฟเอาตัวยาสมุนไพรโรยบนเตาถ่าน จะเกิดควันจากการเผาไหม้ ตัวยาจะพลุ่งขึ้นมาเองมารดาหลังคลอดนั่งบนเก้าอี้ให้ควันและความร้อนเข้าสู่ช่องคลอด ให้มารดาหลังคลอดนั่งถ่านวันละ 1 ครั้ง ๆ ละ ½ ชม. โดยทำภายหลังจากการนาบหม้อเกลือ

----------------------------------------------------------

ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต 






No comments:

Post a Comment