Search This Blog

Monday, July 1, 2013

พ.ร.บ. วิชาชีพการแพทย์แผนไทย 2556 และข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย 2557-2566 และอื่นๆ และประกาศสภาการแพทย์แผนไทย 2556


พ.ร.บ. วิชาชีพการแพทย์แผนไทย 2556
และข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย 2557-2566 และอื่นๆ
และประกาศสภาการแพทย์แผนไทย 2566





จัดทำโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
เพื่อการศึกษา และประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ชม
-------------------------------

พ.ร.บ. วิชาชีพการแพทย์แผนไทย 2556
และข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

หน้า ๑ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

พระราชบัญญัติ
วิชาชีพการแพทย์แผนไทย
.. ๒๕๕๖

ภูมิพลอดุลยเดช ป..
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ มกราคม พ.. ๒๕๕๖
เป็นปีที่ ๖๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.. ๒๕๕๖

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

การแพทย์แผนไทย หมายความว่า กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และให้หมายความรวมถึง การเตรียมการผลิตยาแผนไทย และการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา

วิชาชีพการแพทย์แผนไทย หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

หน้า ๒ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หมายความว่า การประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการแนะนำ การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การรักษาโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และองค์ความรู้ด้านอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยซึ่งถ่ายทอดหรือพัฒนาสืบต่อกันมา ตามตำราการแพทย์แผนไทยหรือจากสถานศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง

การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หมายความว่า การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งศึกษาจากสถานศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้ ตามระเบียบและข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย

กรรมวิธีการแพทย์แผนไทย หมายความว่า กรรมวิธีที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย ที่สภาการแพทย์แผนไทยกำหนดหรือรับรอง แล้วแต่กรณี

เวชกรรมไทย หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงการผดุงครรภ์ไทย เภสัชกรรมไทย และการนวดไทย ทั้งนี้ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

เภสัชกรรมไทย หมายความว่า การกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงยาและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์และการจัดจำหน่ายยา ตามกฎหมายว่าด้วยยา ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

การผดุงครรภ์ไทย หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การส่งเสริมสุขภาพหญิงมีครรภ์ การป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด การทำคลอด การดูแล การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพมารดาและทารกในระยะหลังคลอด ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

การนวดไทย หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการนวดไทย ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

การแพทย์พื้นบ้านไทย หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ซึ่งสืบทอดกันมาในชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยจากสภาการแพทย์แผนไทย

ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสภาการแพทย์แผนไทย

หน้า ๓ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของสภาการแพทย์แผนไทย

สมาชิก หมายความว่า สมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย

กรรมการ หมายความว่า กรรมการสภาการแพทย์แผนไทย

คณะกรรมการหมายความว่า คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย

เลขาธิการหมายความว่า เลขาธิการสภาการแพทย์แผนไทย

พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ วิชาชีพการแพทย์แผนไทยตามพระราชบัญญัตินี้ ประกอบด้วย

() การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การประกอบวิชาชีพด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย หรือการแพทย์แผนไทยประเภทอื่น ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ

() การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

มาตรา ๕ ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย การประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพ สาขาการแพทย์แผนไทย หรือผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

ให้หมายความถึงการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือผู้แทนสภาการแพทย์แผนไทยตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งออกระเบียบและประกาศใด ๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
สภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๗ ให้มีสภาการแพทย์แผนไทยเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๘ สภาการแพทย์แผนไทย มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

() ส่งเสริมการศึกษา การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

หน้า ๔ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

() ควบคุม กำกับ ดูแล และกำหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

() ควบคุมความประพฤติ จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

() ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย

() ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

() ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

() ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

() เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของประเทศไทย

มาตรา ๙ สภาการแพทย์แผนไทย มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

() รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

() ออกคำสั่งตามมาตรา ๔๕

() รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก

() รับรองหลักสูตรสำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในด้านต่าง ๆ ของวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมดังกล่าว

() รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน ()

() ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

() จัดทำแผนการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อสภานายกพิเศษอย่างน้อยปีละครั้ง

() ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาการแพทย์แผนไทย

() บริหารกิจการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนกิจการใด ๆ ของสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๑๐ สภาการแพทย์แผนไทยอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้

() เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน

() ค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ

() ผลประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทรัพย์สินและกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรา ๘

() เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้แก่สภาการแพทย์แผนไทย

() ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม () () () และ ()

หน้า ๕ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งสภานายกพิเศษแห่งสภาการแพทย์แผนไทยและมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๒
สมาชิก

มาตรา ๑๒ สมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

() มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

() มีความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยดังต่อไปนี้

() ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง โดยมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรมและต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย หรือ

() ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสถาบันการศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองและต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย หรือ

() เป็นผู้ที่ส่วนราชการรับรองความรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย โดยผ่านการประเมินหรือการสอบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

() ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหายซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

() ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

() ไม่เป็นผู้วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๑๓ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกมีดังต่อไปนี้

() ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือขอหนังสือแสดงวุฒิอื่น ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการนั้น

() แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทย คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับเรื่อง

หน้า ๖ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

() เลือก รับเลือก หรือรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ เฉพาะสมาชิกที่มีใบอนุญาต

() ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๑๔ สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ

() ตาย

() ลาออก

() ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ ()

() คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ เพราะเห็นว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามมาตรา ๑๒ () หรือ ()

() มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ () และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่งคณะกรรมการกำหนด ลงความเห็นว่าไม่สามารถบำบัดรักษาให้หายเป็นปกติได้ หรือต้องใช้

ระยะเวลาในการบำบัดรักษาเกินกว่าสองปี ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ () แต่ยังไม่ถึงขนาดที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง () คณะกรรมการอาจมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตของสมาชิกผู้นั้นได้ โดยมี

กำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี และให้นำความในมาตรา ๓๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๓
คณะกรรมการ

มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย ประกอบด้วย

() กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาและเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

() กรรมการซึ่งเป็นคณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งละหนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือสาขาละสามคน

() กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนสมาคมหรือมูลนิธิที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทยแห่งละหนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือสามคน

() หัวหน้าสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรองโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรม เลือกกันเองให้เหลือจำนวนสามคน

() กรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการใน () () (และ () รวมกันในขณะเลือกตั้งแต่ละคราว ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงสัดส่วนของวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามมาตรา ๔

หน้า ๗ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

มาตรา ๑๖ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาได้ และให้มีอำนาจถอดถอนที่ปรึกษาด้วย ให้ที่ปรึกษาดำรงตำแหน่งตามวาระของกรรมการตามมาตรา ๑๕ ()

มาตรา ๑๗ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการจากมาตรา ๑๕ () ภายในสามสิบวันนับจากวันเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๕ () เพื่อดำรงตำแหน่งนายกสภาการแพทย์แผนไทย อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่หนึ่ง และอุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่สอง ตำแหน่งละหนึ่งคน

ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทยเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ และเหรัญญิก ตำแหน่งละหนึ่งคน และอาจเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งอื่นได้ตามความจำเป็น ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทยมีอำนาจถอดถอนเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก และผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามวรรคสองออกจากตำแหน่งได้ ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทย อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่หนึ่งและอุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่สอง ดำรงตำแหน่งตามวาระของกรรมการตามมาตรา ๑๕ () เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภาการแพทย์แผนไทยพ้นจากหน้าที่ ให้เลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก และผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามวรรคสองพ้นจากตำแหน่งด้วย

มาตรา ๑๘ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๕ () () และ () การเลือกตั้งกรรมการ ตามมาตรา ๑๕ () การแต่งตั้งที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๖ การเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา ๑๗ และการเลื่อนหรือการเลือกหรือการเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๒๓ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๑๙ กรรมการตามมาตรา ๑๕ () () และ () ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

() เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

() เป็นผู้ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต

() ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

มาตรา ๒๐ กรรมการตามมาตรา ๑๕ () () () และ () มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับเลือก หรือได้รับเลือกตั้งใหม่ได้ แล้วแต่กรณี แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการเลือกหรือเลือกตั้งกรรมการขึ้นใหม่

มาตรา ๒๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๕ () (และ () พ้นจากตำแหน่งเมื่อ

() สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๔

() ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙

() ลาออก

หน้า ๘ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

กรรมการตามมาตรา ๑๕ () พ้นจากตำแหน่งเมื่อ

() พ้นจากตำแหน่งคณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ หรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

() ลาออก

มาตรา ๒๒ เมื่อตำแหน่งกรรมการตามมาตรา ๑๕ () () และ () ว่างลงก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการดำเนินการให้ได้มาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง

ในกรณีที่วาระของกรรมการตามวรรคหนึ่งเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน คณะกรรมการจะให้มีการเลือกกรรมการแทนหรือไม่ก็ได้ ให้ผู้ซึ่งเป็นกรรมการแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน

มาตรา ๒๓ เมื่อตำแหน่งกรรมการตามมาตรา ๑๕ () ว่างลงไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวน

กรรมการดังกล่าวทั้งหมดก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการเลื่อนสมาชิกผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๙ และได้รับคะแนนจากการเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๕ () ในลำดับถัดไปขึ้นเป็นกรรมการแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง

ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการตามวรรคหนึ่งว่างลงรวมกันเกินหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการ ซึ่งได้รับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกขึ้นเป็นกรรมการแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ จำนวนกรรมการดังกล่าวได้ว่างลงเกินหนึ่งในสาม

ในกรณีไม่มีผู้ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นกรรมการแทนตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ยังไม่ครบตามจำนวนตำแหน่งกรรมการที่ว่างลง ให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ถ้าวาระของกรรมการตามวรรคหนึ่งเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวันไม่ต้องเลื่อนหรือเลือกตั้งกรรมการแทน ให้ผู้ซึ่งเป็นกรรมการแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน

มาตรา ๒๔ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

() บริหารและดำเนินกิจการสภาการแพทย์แผนไทยตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในมาตรา ๘ และมาตรา ๙ รวมทั้งการบริหารเงินรายได้ตามมาตรา ๑๐

() แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย คณะอนุกรรมการ การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณ คณะอนุกรรมการสอบสวน และคณะอนุกรรมการอื่น เพื่อทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องต่าง ๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสภาการแพทย์แผนไทย

() กำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณของสภาการแพทย์แผนไทย

() ออกข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วย

() การเป็นสมาชิก

() การกำหนดโรคตามมาตรา ๑๒ ()

หน้า ๙ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

() การกำหนดค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมอื่น นอกจากที่กำหนดไว้ ในอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้

() การเลือก การเลือกตั้งกรรมการ การเลื่อนผู้มีคุณสมบัติขึ้นเป็นกรรมการแทน

การแต่งตั้งที่ปรึกษา และการเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา ๑๘

() การประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะที่ปรึกษา

() การกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๖

() การกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง

() คุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามมาตรา ๓๕

() แบบและประเภทใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนการออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต

() หลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ รวมทั้งหนังสือ แสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

() หลักเกณฑ์การพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต

() จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

() การจัดตั้ง การดำเนินการ และการเลิกสถาบันที่ทำการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการของวิชาชีพการแพทย์แผนไทย รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการศึกษาต่อเนื่องของการแพทย์แผนไทยเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมทักษะการประกอบวิชาชีพ

() หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบความรู้หรือการประเมินตามมาตรา ๑๒ ()

() หลักเกณฑ์การสืบสวนหรือสอบสวนในกรณีที่มีการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

() ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

() เรื่องอื่น ๆ อันอยู่ในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์หรืออยู่ในอำ นาจหน้าที่ของ

สภาการแพทย์แผนไทยตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความสำคัญในการช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา ๒๕ นายกสภาการแพทย์แผนไทย อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่หนึ่งอุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่สอง เลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก ที่ปรึกษาและผู้ดำรงตำแหน่งอื่น มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

หน้า ๑๐ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

() นายกสภาการแพทย์แผนไทย มีอำนาจหน้าที่

() บริหารและดำเนินกิจการของสภาการแพทย์แผนไทย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามมติของคณะกรรมการ

() เป็นผู้แทนสภาการแพทย์แผนไทย ในกิจการต่าง ๆ

() เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ นายกสภาการแพทย์แผนไทยอาจ
มอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการอื่นปฏิบัติหน้าที่แทน ตามที่เห็นสมควร

() อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่หนึ่ง เป็นผู้ช่วยนายกสภาการแพทย์แผนไทย ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาการแพทย์แผนไทยตามที่นายกสภาการแพทย์แผนไทยมอบหมาย และเป็นผู้ทำการแทนนายกสภาการแพทย์แผนไทย เมื่อนายกสภาการแพทย์แผนไทยไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

() อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่สอง เป็นผู้ช่วยนายกสภาการแพทย์แผนไทย ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายกสภาการแพทย์แผนไทยตามที่นายกสภาการแพทย์แผนไทยมอบหมาย และเป็นผู้ทำการแทนนายกสภาการแพทย์แผนไทย เมื่อทั้งนายกสภาการแพทย์แผนไทยและอุปนายกสภาการแพทย์แผนไทยคนที่หนึ่งไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

() เลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่

() ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่สภาการแพทย์แผนไทย ทุกระดับ

() ควบคุมรับผิดชอบในงานธุรการทั่วไปของสภาการแพทย์แผนไทย

() รับผิดชอบในการดูแลรักษาทะเบียนสมาชิก ทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์และทะเบียนอื่น ๆ ของสภาการแพทย์แผนไทย

() ควบคุมดูแลทรัพย์สินของสภาการแพทย์แผนไทย

() เป็นเลขานุการคณะกรรมการ

() รองเลขาธิการ เป็นผู้ช่วยเลขาธิการในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการตามที่เลขาธิการมอบหมายและเป็นผู้ทำการแทนเลขาธิการเมื่อเลขาธิการไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

() ประชาสัมพันธ์ มีอำนาจหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ แนะนำ และเผยแพร่กิจการของสภาการแพทย์แผนไทยแก่ประชาชนและองค์กรอื่น

() เหรัญญิก มีอำนาจหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการบัญชี การเงิน และการงบประมาณของสภาการแพทย์แผนไทย

() ผู้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๖ มีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการกำหนด

() ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามมาตรา ๑๗ วรรคสอง มีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๒๖ ให้มีคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยคณะหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่ องค์ประกอบ คุณสมบัติ และวิธีการได้มาซึ่งอนุกรรมการตามข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย

หน้า ๑๑ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

มาตรา ๒๗ ให้มีคณะอนุกรรมการการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์คณะหนึ่ง มีอำ นาจหน้าที่ องค์ประกอบ คุณสมบัติ และวิธีการได้มาซึ่งอนุกรรมการตามข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย

หมวด ๔
การดำเนินการของคณะกรรมการ

มาตรา ๒๘ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้น จึงจะเป็นองค์ประชุม

มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ในการลงคะแนนกรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มติของที่ประชุมในกรณีให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๔ () ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้น การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม การประชุมคณะที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๒๙ สภานายกพิเศษจะเข้าฟังการประชุมและชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการ หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังสภาการแพทย์แผนไทยในเรื่องใด ๆ ก็ได้

มาตรา ๓๐ มติของที่ประชุมคณะกรรมการในเรื่องดังต่อไปนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษก่อน จึงจะดำเนินการตามมตินั้นได้

() การออกข้อบังคับ

() การกำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณของสภาการแพทย์แผนไทย

() การให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๔ ()

() การวินิจฉัยชี้ขาดให้พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๔๕ วรรคสาม (หรือ ()

ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทยเสนอมติตามวรรคหนึ่งต่อสภานายกพิเศษโดยไม่ชักช้า สภานายกพิเศษอาจมีคำสั่งยับยั้งมตินั้นได้ ในกรณีที่มิได้ยับยั้งมติตามวรรคหนึ่ง () ภายในสามสิบวัน หรือมิได้ยับยั้งมติตามวรรคหนึ่ง () () หรือ () ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับมติที่นายกสภาการแพทย์แผนไทยเสนอ ให้ถือว่าสภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบมตินั้น ถ้าสภานายกพิเศษยับยั้งมติใด ให้คณะกรรมการประชุมพิจารณาอีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการยับยั้ง ในการประชุมนั้นถ้ามีเสียงยืนยันมติไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้น ก็ให้ดำเนินการตามมตินั้นได้

หน้า ๑๒ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

หมวด ๕
การควบคุมการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย 
และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ กระทำการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เว้นแต่ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

() การกระทำต่อตนเอง

() การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามหลักมนุษยธรรมหรือตามธรรมจรรยาโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน

() นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ซึ่งทำการฝึกหัดหรือฝึกอบรมในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยของรัฐหรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้งสถาบันทางการแพทย์ของรัฐ หรือสถาบันการศึกษา หรือสถาบันทางการแพทย์อื่นที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง ทั้งนี้ ภายใต้ความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัดหรือผู้ให้การฝึกอบรมซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

() บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดหรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

() บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลกระทำการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทั้งนี้ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

() การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ ทั้งนี้ โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

() หมอพื้นบ้าน ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมและดูแลสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่นด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตามวัฒนธรรมของชุมชนที่สืบทอดกันมานานไม่น้อยกว่าสิบปีเป็นที่นิยม ยกย่องจากชุมชน โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอให้หน่วยงานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นผู้รับรอง ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ใช้คำหรือข้อความด้วยอักษรไทยหรืออักษรต่างประเทศว่าแพทย์แผนไทย หรือ

หน้า ๑๓ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ใช้อักษรย่อของคำดังกล่าว หรือใช้คำแสดงวุฒิการศึกษาทางแพทย์แผนไทย หรือใช้อักษรย่อของวุฒิดังกล่าว ประกอบกับชื่อหรือชื่อสกุลของตน หรือใช้คำหรือข้อความอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้แก่ตน

มาตรา ๓๓ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้แก่ตน เว้นแต่ผู้นั้นเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรว่าเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสภาการแพทย์แผนไทย หรือที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๓๔ การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตการออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และหนังสือแสดงวุฒิอื่น รวมทั้งการออกใบแทนในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๓๕ ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องสมัครเป็นสมาชิกแห่งสภาการแพทย์แผนไทยและมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย เมื่อสมาชิกภาพของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๔ ให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลง ให้ผู้ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๔ () และ () ส่งคืนใบอนุญาตต่อเลขาธิการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการสิ้นสุดสมาชิกภาพ

มาตรา ๓๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขและต้องรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทยตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

มาตรา ๓๗ บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเพราะการประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ ของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์มีสิทธิกล่าวหาผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น โดยทำคำกล่าวหาเป็นหนังสือยื่นต่อสภาการแพทย์แผนไทย บุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ว่าประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ โดยทำคำกล่าวโทษเป็นหนังสือยื่นต่อสภาการแพทย์แผนไทย กรรมการมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ว่าประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ โดยแจ้งเรื่องต่อสภาการแพทย์แผนไทย

หน้า ๑๔ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

สิทธิการกล่าวหาตามวรรคหนึ่งหรือสิทธิการกล่าวโทษตามวรรคสองหรือวรรคสามสิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ และรู้ตัวผู้ประพฤติผิด ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่มีการประพฤติผิดตามมาตรา ๓๖ การถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษที่ได้ยื่นหรือแจ้งไว้แล้วนั้นไม่เป็นเหตุให้ระงับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๓๘ เมื่อสภาการแพทย์แผนไทยได้รับเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษตามมาตรา ๓๗ หรือในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่ามีพฤติการณ์อันสมควรให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับการประพฤติผิด

ตามมาตรา ๓๖ ของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ให้เลขาธิการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๓๙ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณจากสมาชิกประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคน มีอำนาจหน้าที่สืบสวนหาข้อเท็จจริงในเรื่องที่ได้รับตามมาตรา ๓๘ แล้วทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณา

คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณเกินกว่าหนึ่งคณะก็ได้

ให้คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ประธานอนุกรรมการจรรยาบรรณแจ้งให้คณะกรรมการทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้คณะกรรมการพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินการออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลา

มาตรา ๔๐ เมื่อคณะกรรมการได้รับรายงานและความเห็นของคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

() ให้คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณสืบสวนหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา

() ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นมีมูล

() ให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นไม่มีมูล

มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนจากสมาชิกประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคน มีอำนาจหน้าที่สอบสวน สรุปผลการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนเกินกว่าหนึ่งคณะก็ได้

ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนแจ้งให้คณะกรรมการทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้คณะกรรมการพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินการออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดเวลา

หน้า ๑๕ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

มาตรา ๔๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการจรรยาบรรณและของคณะอนุกรรมการสอบสวนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อนุกรรมการจรรยาบรรณและอนุกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำและมีหนังสือแจ้งให้บุคคลใด ๆ ส่งเอกสาร หรือวัตถุเพื่อประโยชน์แก่การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการดังกล่าว

มาตรา ๔๓ ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ พร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษมีสิทธิทำ คำ ชี้แจงหรือนำ พยานหลักฐานใด ๆ มาให้คณะอนุกรรมการสอบสวน คำชี้แจงหรือพยานหลักฐานให้ยื่นต่อประธานอนุกรรมการสอบสวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานอนุกรรมการสอบสวน หรือภายในกำหนดเวลาที่คณะอนุกรรมการสอบสวนจะขยายให้

มาตรา ๔๔ เมื่อคณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทำการสอบสวนเสร็จสิ้นและต้องไม่เกินกำหนดเวลาตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม เพื่อให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด

มาตรา ๔๕ เมื่อคณะกรรมการได้รับสำนวนการสอบสวนและความเห็นของคณะอนุกรรมการสอบสวนแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณาสำนวนการสอบสวนและความเห็นดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสำนวนการสอบสวนและความเห็นของคณะอนุกรรมการสอบสวน

คณะกรรมการอาจให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมก่อนวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้ และให้นำความในมาตรา ๔๑ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

คณะกรรมการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

() ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ

() ว่ากล่าวตักเตือน

() ภาคทัณฑ์

() พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี

() เพิกถอนใบอนุญาต

ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตามมาตรานี้ ให้ทำเป็นคำสั่งสภาการแพทย์แผนไทยพร้อมด้วยเหตุผลของการวินิจฉัยชี้ขาด และให้ถือเป็นที่สุด

มาตรา ๔๖ ให้เลขาธิการแจ้งคำสั่งสภาการแพทย์แผนไทยตามมาตรา ๔๕ ไปยังผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษเพื่อทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว และให้บันทึกข้อความตามคำสั่งนั้นไว้ในทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์พร้อมทั้งแจ้งผลการวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้กล่าวหาหรือผู้กล่าวโทษทราบด้วย

หน้า ๑๖ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

มาตรา ๔๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยนับแต่วันที่ทราบคำสั่งสภาการแพทย์แผนไทยที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้น

มาตรา ๔๘ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนตามมาตรา ๔๗ และถูกลงโทษจำคุก

ตามมาตรา ๕๓ โดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

มาตรา ๔๙ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตอาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แต่เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาคำขอรับใบอนุญาตและปฏิเสธการออกใบอนุญาต ผู้นั้นจะยื่นคำขอรับใบอนุญาตในครั้งต่อ ๆ ไปได้อีกต่อเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาต

หมวด ๖
พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๕๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้

() เข้าไปในสถานที่ทำการของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในเวลาทำการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

() เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจค้นเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ที่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ประกอบกับกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ เอกสารหรือวัตถุดังกล่าวจะถูกยักย้าย ซุกซ่อน ทำลายหรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม

() ยึดเอกสาร หรือวัตถุใด ๆ ที่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร

มาตรา ๕๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัว

บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๕๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

หน้า ๑๗ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

หมวด ๗
บทกำหนดโทษ

มาตรา ๕๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ หรือมาตรา ๔๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๕ วรรคสาม หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๕๐ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

มาตรา ๕๖ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ตามที่เรียกหรือแจ้งให้ส่งตามมาตรา ๔๒ โดยไม่มีเหตุอันควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง โดยไม่มีเหตุอันควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๕๘ ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทยตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕๙ ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ และใบอนุญาตนั้นยังคงใช้ได้ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๖๐ ให้นำความในมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับกับผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ที่จะยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

มาตรา ๖๑ ในระยะเริ่มแรกที่ยังมิได้เลือกกรรมการตามมาตรา ๑๕ () () () และเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๕ () ให้คณะกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นนายกสภาการแพทย์แผนไทย อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

หน้า ๑๘  เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ประธานและรองประธานคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย และประธานและรองประธานคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และนายกสมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทยเป็นกรรมการ ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งกรรมการตามวรรคหนึ่ง ทำหน้าที่เลขาธิการ รองเลขาธิการ เหรัญญิกและผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ตามความจำเป็น การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๕ () () และ () และการเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๕ () ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ในวาระแรกห้ามมิให้ผู้ที่เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทยในชั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาดำรงตำแหน่งนายกสภาการแพทย์แผนไทย และเลขาธิการสภาการแพทย์แผนไทย ภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว

มาตรา ๖๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะในส่วนที่เกี่ยวกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทย มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๖๓ ให้ถือว่าการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพหรือข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะในส่วนที่เกี่ยวกับวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ซึ่งได้กระทำ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่มีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพหรือข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามพระราชบัญญัตินี้ และการดำเนินการต่อไปให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ในกรณีที่มีการดำเนินการกับผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพหรือข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการดำเนินการดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ และการดำเนินการต่อไปให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี

อัตราค่าธรรมเนียมวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
() ค่าขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท
() ค่าต่ออายุใบอนุญาต ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
() ค่าหนังสือรับรองการขึน้ ทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ฉบับละ ๕๐๐ บาท
() ค่าหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ
ในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
() ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐๐ บาท

หน้า ๑๙  เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๐ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อยู่ในความควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งมีคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบโรคศิลปะต่าง ๆ และมีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ทำหน้าที่ควบคุมการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ รวมทั้งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ซึ่งในปัจจุบันจำนวนผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นประกอบกับมีบุคลากรเหล่านี้มีคุณสมบัติ วัยวุฒิ ความรู้ความชำนาญด้านวิชาชีพแพทย์แผนไทยและวิชาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ อีกทั้งในปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก และมีศักยภาพเพียงพอที่จะปกครองตนเองได้ในวงการแพทย์แผนไทยด้วยกัน อีกทั้งเพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมตลอดจนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง จึงสมควรแยกการกำกับดูแลและการควบคุมการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ออกจากอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะและคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยและสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์โดยจัดตั้ง สภาการแพทย์แผนไทยขึ้น เพื่อส่งเสริมการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ กำหนดและควบคุมมาตรฐานและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและควบคุมมิให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคลซึ่งไม่มีความรู้อันก่อให้เกิดภัยและความเสียหายแก่ประชาชน พร้อมกับเป็นการสนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาให้วิชาชีพการแพทย์แผนไทยมีความเจริญก้าวหน้าในภายภาคหน้าต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
-------------------------------
พ.ร.บ. จรรยาบรรณวิชาชีพฯ
ประกาศข้อบังคับสภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
จรรณยาบรรณวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557

หน้า 20


เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 24 (4) (ฏ) ประกอบมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทยโดยความเห็นชอบของ สภานายกพิเศษ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2557”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้

“วิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

“ผู้ประกอบวิชาชีพ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสภาการแพทย์แผนไทย “คณะกรรมการว่าด้วยจริยธรรมการทําวิจัยในมนุษย์” หมายความว่า คณะกรรมการที่สถาบัน องค์กรหรือหน่วยงานแต่งตั้งขึ้นเพื่อทําหน้าที่ทบทวนพิจารณาด้านจริยธรรมของการศึกษาวิจัยและ การทดลองในมนุษย์ เพื่อคุ้มครองสิทธิ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัครในการศึกษาวิจัย และการทดลองในมนุษย์



หมวด 1

หลักทั่วไป

ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมดํารงตนให้สมควรในสังคมโดยธรรม เคารพต่อกฎหมาย ของบ้านเมือง

ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมไม่ประพฤติหรือกระทําการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมประกอบวิชาชีพ โดยยึดถือสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย และประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุด โดยไม่คํานึงถึงฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคมหรือการเมือง

หน้า 21

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

หมวด 2

การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงหมั่นศึกษาหาความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการต่างๆ เพื่อรักษาไว้ ซึ่งมาตรฐานแห่งวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามที่สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยกําหนด

ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพในระดับที่ดีที่สุด และพยายามให้ผู้ป่วยพ้นจากอาการทรมานจากโรคและความพิการต่างๆ โดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษ นอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ

ข้อ 9 ประกอบวิชาชีพต้องไม่จูงใจหรือชักชวนให้ผู้ป่วยมารับบริการทางวิชาชีพเพื่อผลประโยชน์ ของตน

ข้อ 10 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้หรือรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับ หรือส่งผู้ป่วยเพื่อรับบริการทางการแพทย์

ข้อ 11 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยสุภาพมีน้ําใจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ปราศจาก การบังคับขู่เข็ญ ล่วงเกินและลวนลามผู้ป่วยด้วยกาย วาจา ใจ ทางด้านกามารมณ์และอื่น ๆ

ข้อ 12 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยให้หลงเข้าใจผิดในการประกอบวิชาชีพ

ข้อ 13 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คํานึงถึงความปลอดภัยและความสิ้นเปลือง ของผู้ป่วย

ข้อ 14 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้คํารับรองอันเป็นเท็จ

ข้อ 15 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วยซึ่งตนทราบมาเนื่องจาก การประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วย หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่

ข้อ 16 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย เมื่อได้รับคําขอร้องและตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้

ข้อ 17 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการใช้ยาแก่ผู้ป่วย

ข้อ 18 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ใช้หรือสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพโดยผิดกฎหมาย

หมวด 3

การโฆษณาการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

ข้อ 19 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้างหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ ความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพของตน

ข้อ 20 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้างหรือให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ ความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพของผู้อื่น

หน้า 22

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

ข้อ 21 การโฆษณาตามข้อ 19 และข้อ 20 อาจกระทําได้ในกรณีต่อไปนี้

(1) การแสดงผลงานในวารสารทางวิชาการหรือในการประชุมวิชาการ

(2) การแสดงผลงานในหน้าที่ หรือในการบําเพ็ญประโยชน์สาธารณะ

(3) การแสดงผลงานหรือความก้าวหน้า ทางวิชาการเพื่อการศึกษาของมวลชน

(4) การประกาศเกียรติคุณเป็นทางการโดยสถาบันวิชาการ สมาคม หรือมูลนิธิ

ข้อ 22 ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถแสดงข้อความเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพของตนที่สถานที่ ทําการประกอบวิชาชีพได้เพียงข้อความเฉพาะเรื่องต่อไปนี้

(1) ชื่อนามสกุล และอาจมีคําประกอบชื่อได้เพียง ตําแหน่งทางวิชาการ ฐานันดรศักดิ์ ยศ และบรรดาศักดิ์เท่านั้น

(2) ชื่อปริญญา วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือแสดงคุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่งตนได้รับจาก สภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือสถาบันที่ทางราชการรับรอง

(3) ประเภทของการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย

(4) เวลาทําการ

ข้อ 23 ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถแจ้งข้อความการประกอบวิชาชีพ เฉพาะการแสดงที่อยู่ ที่ตั้งสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพ หมายเลขโทรศัพท์ หรือการสื่อสารอื่น หรือข้อความที่อนุญาต ตามข้อ 22

ข้อ 24 ผู้ประกอบวิชาชีพผู้ทําการเผยแพร่ให้ข้อมูลทางวิชาการหรือตอบปัญหาเกี่ยวกับวิชาชีพ ทางสื่อมวลชน ถ้าแสดงตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่แจ้งสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพส่วนตัว ทํานองการโฆษณาและต้องไม่มีการแจ้งข้อความตามข้อ 22 ในที่เดียวกันหรือขณะเดียวกันนั้นด้วย

หมวด 4

การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

ข้อ 25 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน รวมทั้ง สร้างความสามัคคีในหมู่ผู้ร่วมวิชาชีพ

ข้อ 26 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่เอาผลงานของผู้ประกอบวิชาชีพอื่นมาเป็นของตน

ข้อ 27 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้ร้าย หรือดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ร่วมวิชาชีพด้วยกัน

ข้อ 28 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ชักจูงผู้ป่วยของผู้อื่นมาเป็นของตน

หมวด 5

การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน

ข้อ 29 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน 

ข้อ 30 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ให้ร้าย หรือดูหมิ่นเหยียดหยามผู้ร่วมงาน

หน้า 23

เล่ม 131 ตอนพิเศษ 204 ง ราชกิจจานุเบกษา 13 ตุลาคม 2557

ข้อ 31 ผู้ประกอบวิชาชีพพึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง

หมวด 6

การทดลองในมนุษย์

ข้อ 32 ผู้ประกอบวิชาชีพผู้ทําการทดลองในมนุษย์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกทดลองเป็น ลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการว่าด้วยจริยธรรมการทําวิจัยในมนุษย์

หมวด 7

การปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพ

ข้อ 33 ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับสถานที่ทําการประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานพยาบาลและกฎหมายว่าด้วยยา

ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

ทรงยศ ชัยชนะ

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทน

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นายกสภาการแพทย์แผนไทย

-------------------------------

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566

หน้า 51 

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566 ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2566

เพื่อให้ประชาชนหรือองค์กรอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย มีส่วนร่วมเป็นสมาชิก  สภาการแพทย์แผนไทย โดยสร้างความร่วมมือในการช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ ให้การศึกษา แก่ประชาชน และองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา  การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการสืบทอด อนุรักษ์ ศึกษา วิจัย การพัฒนาภูมิปัญญา  รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางการแพทย์แผนไทย และการรับเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย  เป็นไปด้วยความเรียบร้อยภายใต้หลักธรรมาภิบาลและสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ซึ่งได้รับ

ความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 24 วรรคหนึ่ง (4) (ก) ประกอบมาตรา 30 วรรคหนึ่ง (1)  แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย  โดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์ แผนไทย พ.ศ. 2566”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิก ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์ แผนไทย พ.ศ. 2557 และข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยการเป็นสมาชิกสภาการแพทย์ แผนไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559

บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้  หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน

ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้

คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย

นายกสภา” หมายความว่า นายกสภาการแพทย์แผนไทย

เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาการแพทย์แผนไทย

สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย

ข้อ 5 ให้นายกสภาการแพทย์แผนไทยเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้เป็นผู้วินิจฉัยปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับหรือข้อบังคับนี้ไม่ได้กำหนดไว้ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ ทั้งนี้ ต้องไม่ให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายมติของคณะรัฐมนตรี และระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด  นโยบาย มติ หรือประกาศที่คณะกรรมการก าหนด

หน้า 52

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

หมวด 1

การดำเนินการรับสมัครสมาชิก

ข้อ 6 ให้นายกสภาประกาศให้ประชาชนหรือองค์กรอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย  ยื่นคำขอเป็นสมาชิกสภาการแพทย์แผนไทย เพื่อร่วมมือในการช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้ การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา  การพัฒนา การวิจัย การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ให้เกิดความร่วมมือในการสืบทอด อนุรักษ์ ศึกษา วิจัย และพัฒนาภูมิปัญญา  รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางการแพทย์แผนไทย

ประกาศตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

(1) ชื่อประกาศ

(2) เหตุผลหรือบทบัญญัติกฎหมายที่ให้อำนาจในการออกประกาศ

(3) รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะสมัครสมาชิก ระยะเวลา  และสถานที่ขอใบสมัคร สถานที่รับสมัครสมาชิก และวิธีการรับสมัครสมาชิก เอกสารและหลักฐาน ที่ใช้ในการสมัคร ค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมในการสมัคร ค่าธรรมเนียมในการ ออกเอกสารประจำตัวใหม่ รวมทั้งวิธีการแจ้งผลการรับสมัครสมาชิก

(4) เงื่อนไข คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทยที่กำหนดในการ  สมัครสมาชิก

(5) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสอบความรู้หรือการประเมินตามที่กำหนดในการ สมัครสมาชิก

(6) ชื่อบัตรสมาชิก

(7) รูปแบบของบัตรสมาชิก

(8) รูปแบบของหนังสือสำคัญการเป็นสมาชิก

(9) สิทธิประโยชน์ของสมาชิก

(10) วันออกประกาศ

หมวด 2

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิก

ข้อ 7 สมาชิก แบ่งออกได้ ดังต่อไปนี้

(1) สมาชิกสามัญ

(2) สมาชิกวิสามัญ

(3) สมาชิกกิตติมศักดิ์

หน้า 53 

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

ข้อ 8 สมาชิก ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

ก. คุณสมบัติทั่วไป

(1) มีอายุไม่ต่ ากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

(2) มีความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ดังต่อไปนี้

(ก) ได้รับการฝึกอบรมจากสถาบันหรือสถานพยาบาลที่สภาการแพทย์

แผนไทยรับรองโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้ให้การอบรม และต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย หรือ (ข) ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการแพทย์

แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสถาบันการศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง และต้องสอบผ่านความรู้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย หรือ (ค) เป็นผู้ที่ส่วนราชการรับรองความรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย โดยผ่าน

การประเมินหรือการสอบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ข. ลักษณะต้องห้าม

(1) เป็นผู้ประพฤติเสียหายซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

(2) เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

(3) เป็นผู้วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย

ข้อ 9 สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ของสภาการแพทย์แผนไทย โดยมีคุณสมบัติทั่วไปและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8

ข้อ 10 สมาชิกวิสามัญ เป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8

ข้อ 11 สมาชิกกิตติมศักดิ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งโดยมติเป็นเอกฉันท์ โดยมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8

หมวด 3

คำขอเป็นสมาชิก หนังสือส าคัญการเป็นสมาชิก และบัตรสมาชิก

ข้อ 12 ให้เลขาธิการตรวจสอบคำขอเป็นสมาชิกและเอกสารประกอบ หากเห็นว่าถูกต้อง ครบถ้วน ให้เสนอต่อนายกสภา หรือสภาการแพทย์แผนไทยเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี

หน้า 54

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

ในกรณีที่เลขาธิการตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไข ให้ถูกต้องหรือเพิ่มเติมเอกสารและหลักฐานให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ยื่นคำขอ ไม่ดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์ จะเป็นสมาชิก

ข้อ 13 เมื่อนายกสภาหรือสภาการแพทย์แผนไทยพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้เป็นสมาชิกแล้ว  ให้เลขาธิการแจ้งคำสั่งดังกล่าว ให้แก่ผู้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวัน

ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำสั่งไม่อนุมัติให้เป็นสมาชิกของนายกสภา ให้ผู้ยื่นคำขอยื่น อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการในกรณีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นที่สุด

ข้อ 14 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้รับแจ้งคำสั่งอนุมัติให้เป็นสมาชิกแล้ว ให้ผู้ยื่นคำขอชำระ ค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมในการเป็นสมาชิกตามประกาศและรายละเอียดที่กำหนดไว้ ในประกาศตามข้อ 6 ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว แล้วให้เลขาธิการลงทะเบียน สมาชิกและจัดทำหนังสือสำคัญการเป็นสมาชิกตามแบบที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6  แล้วแต่กรณี พร้อมออกบัตรประจำตัวสมาชิกซึ่งมีลายมือชื่อของนายกสภาเป็นหลักฐาน  

ข้อ 15 ในกรณีที่หนังสือสำคัญการเป็นสมาชิก หรือบัตรสมาชิกหมดอายุ สูญหาย  ถูกทำลายในสาระสำคัญ หรือประสงค์ขอออกเอกสารประจำตัวใหม่ เนื่องจากกรณีขอเปลี่ยนชื่อตัว  ชื่อสกุล ยศ ที่อยู่ ที่ติดต่อ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมอื่น ๆ ให้ยื่นคำขอพร้อมชำระค่าธรรมเนียม  แล้วนำความตามข้อ 6 ข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 14 มาบังคับใช้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี

ข้อ 16 คำขอ ใบสมัคร การอนุญาต หรือการดำเนินการใด ๆ ตามข้อบังคับนี้ จะกระทำ ในรูปของข้อมูลและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์

หมวด 5

สิทธิ หน้าที่ของสมาชิก และการสิ้นสุดสมาชิกภาพ

ข้อ 17 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ มีดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือ ขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศ ของสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการนั้น

(2) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา และในกรณีที่สมาชิกรวมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไปเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใด

หน้า 55

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

ที่เกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทย คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณา ให้ผู้เสนอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับเรื่อง

(3) เลือก รับเลือก หรือรับเลือกตั้งเป็นกรรมการ เฉพาะสมาชิกที่มีใบอนุญาต

(4) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2556

(5) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

(6) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

(7) สิทธิประโยชน์ของสมาชิกตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6 แล้วแต่กรณี โดยไม่ขัด ต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 18 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกวิสามัญ มีดังต่อไปนี้

(1) ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศของสภาการแพทย์แผนไทยว่าด้วยการนั้น

(2) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา

(3) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2556

(4) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

(5) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

(6) สิทธิประโยชน์ของสมาชิกตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6 แล้วแต่กรณี  โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 19 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกกิตติมศักดิ์ มีดังต่อไปนี้

(1) ขอหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการแพทย์ แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือขอหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศของสภาการแพทย์แผนไทย ว่าด้วยการนั้น

(2) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการแพทย์แผนไทยส่งไปยังคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา

(3) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฏิบัติตนตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย  พ.ศ. 2556

(4) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

(5) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรม และส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

หน้า 56

เล่ม 140 ตอนพิเศษ 187 ง ราชกิจจานุเบกษา 7 สิงหาคม 2566

(6) สิทธิประโยชน์ของสมาชิกตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศตามข้อ 6 แล้วแต่กรณี โดยไม่ขัด ต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 20 สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ

(1) ตาย

(2) ลาออก

(3) ขาดคุณสมบัติตามข้อ 8

(4) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ เพราะเห็นว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพโดยมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 ข (1) หรือ (2)

(5) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 ข (3) และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน  ซึ่งคณะกรรมการกำหนด ลงความเห็นว่าไม่สามารถบำบัดรักษาให้หายเป็นปกติได้หรือต้องใช้ ระยะเวลาในการบำบัดรักษาเกินกว่าสองปี

ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 8 ข (3) แต่ยังไม่ถึงขนาดที่สมาชิกภาพ สิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง (5) คณะกรรมการอาจมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตของสมาชิกผู้นั้นได้ โดยมี กำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินสองปี และให้นำความในมาตรา 31 ตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ 21 เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ใดสิ้นสุดลง ให้สภาการแพทย์แผนไทยดำเนินการถอนชื่อ สมาชิกผู้นั้นออกจากทะเบียนสมาชิก

ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ชนิญญา ชัยสุวรรณ

นายกสภาการแพทย์แผนไทย

 

-------------------------------

ข้อบังคับสภาการแพทย์แผนไทย














 


















 จบติวเข้ม พ.ร.บ. วิชาชีพการแพทย์แผนไทย และอื่นๆ

--------------------------------------------------------

--------------------------------------------------------

วันที่ชาวภูเก็ตมีเกียรติอย่างสูงได้ชื่นชมต้อนรับพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี เชิญชมได้ข้างล่างนี้

ขอขอบคุณสำนักงานปลัดเทศบาลภูเก็ตที่ส่งมาให้ทางอีเมล
นับเป็นสิ่งล้ำค่ามาก







No comments:

Post a Comment