การแพทย์อายุรเวทะ
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
การแพทย์อายุรเวทะ
การแพทย์แบบอายุรเวท… (รากฐานการแพทย์แผนไทย)
“อายุรเวท” หมายถึง ศาสตร์แห่งชีวิต เป็นระบบการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดระบบหนึ่ง กำเนิดและได้รับการพัฒนาในประเทศอินเดีย ในช่วง 1000 -2000 ปี ก่อนพุทธกาล ซึ่งมีหลักการตรวจวินิจฉัยโบราณที่ได้จากการสังเกตประสบการณ์โดยตรงและใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ต่างๆมาพัฒนารวบรวมวิทยาการทั้งปวงเข้าไว้ด้วยกันกลายเป็น “อายุรเวท” หรือ “ศาสตร์แห่งชีวิต”
• อายุรเวทย์ (สันสกฤต: आयुर्वेद “ศาสตร์แห่งชีวิต”) จำแนกออกเป็น 8 สาขาวิชา ได้แก่
1. “อายุรศาสตร...์” การรักษาโรคที่มีผลกระทบต่อร่างกายทั่วไป
2. “กุมารเวชศาสตร์” การดูแลรักษาโรคในวัยเด็กและทารก
3. “ศัลยกรรม” การใช้เครื่องมือของมีคมในการผ่าตัดรักษาโรค
4. “โรคทางจักษุ" การรักษาโรคทางตา หู คอ จมูก ปาก ฯลฯ
5. “จิตเวชศาสตร์” การรักษาโรคทางจิตใจ และจิตวิญญาณ
6. “พิษวิทยา” การถอนพิษและการรักษาอาการที่เกิดจากพิษ
7. “รัสยานา” การรักษาโรคให้อายุยืนยาวและใช้ยาอายุวัฒนะ
8. “โรคทางเพศ” การรักษา-บำรุงสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์
ที่มา : http://insightayurveda.blogspot.com/
• ทฤษฎีพื้นฐานของอายุรเวทนั้น อธิบายได้ด้วยทฤษฎีไตรโทษะ(tri-dosha)ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสามประการของกลไกทางสรีรวิทยา ได้แก่ วาตะ หรือการเคลื่อน ปิตตะ หรือพลังงานความร้อนในร่างกาย และกผะหรือสภาพเฉื่อยเป็นตัวรักษาสภาพความต้านทานของร่างกาย และอธิบายได้ด้วยธาตุ ๗ อย่าง อย่าง คือ น้ำเหลือง เลือด เนื้อ ไขมัน กระดูก เนื้อเยื่อประสาทและไขกระดูก และเนื้อเยื่อเจริญเติบโต ได้แก่ อสุจิและไข่นอกจากนั้นยังมีของเสียต่าง ๆ ด้วย โดยวาตะ จะควบคุมการใช้ประโยชน์จากพลังงานของเซลและอวัยวะต่าง ๆ ทั้งการเผาผลาญอาหารและการใช้พลังงาน (anabolic & catabolic) เป็นตัวควบคุมการเคลื่อนไหวของ ปิตตะ และกผะ ซึ่งควบคุมกิจกรรมและการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย
• พลังงานจะเกิดขึ้นในร่างกายในรูปของปิตตะ โดยที่ ปิตตะ โทษะ นี้จะควบคุมกระบวนการทางชีวเคมีและกระบวนการย่อยอาหารให้ความร้อนและพลังงานแก่ร่างกาย ส่วน กผะ เป็นองค์ประกอบของเซลล์และโครงสร้างภายในเซลของร่างกาย รักษาสภาวะในร่างกาย เป็นตัวบอกความแข็งแรงและมั่นคงของร่างกาย ภาวะสมดุลของวาตะ ปิตตะ และกผะ คือพาวะร่างกายสมบูรณ์ ส่วนภาวะไม่สมดุลของโทษะทั้งสามนี้ทำให้ร่างกายเกิดโรค
อายุรเวท" เป็นศาสตร์ของชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทางการแพทย์และอภิปรัชญา เป็นแม่บทแห่งศิลปะการรักษาทั้งหมด กิจปฏิบัติของอายุรเวทได้ถูกออกแบบเพื่อส่งเสริมให้มนุษย์มีความสุข สุขภาพดีและพัฒนาการเจริญเติบโตอย่างสร้างสรรค์ คำสอนของอายุรเวทครอบคลุมองค์ความรู้ในการปฏิบัติเพื่อบำบัดตนเอง เป็นความรู้ที่ใคร ๆ ก็สามารถฝึกได้ ด้วยความสมดุลที่เหมาะสมของพลังงานทั้งหมดในร่างกาย การปฏิบัติตามแนวทางอายุรเวทสามารถชะลอความเสื่อม ลดทอนโรคภัยจากกระบวนการทางกายภาพ ตลอดจนกำจัดอาการเจ็บไข้ลงได้อย่างเห็นผลชัดเจน แนวคิดนี้เองคือ "พื้นฐานศาสตร์อายุรเวท" ศักยภาพเฉพาะบุคคลในการบำบัดรักษาตนเอง
“อายุรเวท” หมายถึง ศาสตร์แห่งชีวิต เป็นระบบการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดระบบหนึ่ง กำเนิดและได้รับการพัฒนาในประเทศอินเดีย ในช่วง 1000 -2000 ปี ก่อนพุทธกาล ซึ่งมีหลักการตรวจวินิจฉัยโบราณที่ได้จากการสังเกตประสบการณ์โดยตรงและใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ต่างๆมาพัฒนารวบรวมวิทยาการทั้งปวงเข้าไว้ด้วยกันกลายเป็น “อายุรเวท” หรือ “ศาสตร์แห่งชีวิต”
• อายุรเวทย์ (สันสกฤต: आयुर्वेद “ศาสตร์แห่งชีวิต”) จำแนกออกเป็น 8 สาขาวิชา ได้แก่
1. “อายุรศาสตร...์” การรักษาโรคที่มีผลกระทบต่อร่างกายทั่วไป
2. “กุมารเวชศาสตร์” การดูแลรักษาโรคในวัยเด็กและทารก
3. “ศัลยกรรม” การใช้เครื่องมือของมีคมในการผ่าตัดรักษาโรค
4. “โรคทางจักษุ" การรักษาโรคทางตา หู คอ จมูก ปาก ฯลฯ
5. “จิตเวชศาสตร์” การรักษาโรคทางจิตใจ และจิตวิญญาณ
6. “พิษวิทยา” การถอนพิษและการรักษาอาการที่เกิดจากพิษ
7. “รัสยานา” การรักษาโรคให้อายุยืนยาวและใช้ยาอายุวัฒนะ
8. “โรคทางเพศ” การรักษา-บำรุงสมรรถภาพทางเพศให้สมบูรณ์
ที่มา : http://insightayurveda.blogspot.com/
• ทฤษฎีพื้นฐานของอายุรเวทนั้น อธิบายได้ด้วยทฤษฎีไตรโทษะ(tri-dosha)ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสามประการของกลไกทางสรีรวิทยา ได้แก่ วาตะ หรือการเคลื่อน ปิตตะ หรือพลังงานความร้อนในร่างกาย และกผะหรือสภาพเฉื่อยเป็นตัวรักษาสภาพความต้านทานของร่างกาย และอธิบายได้ด้วยธาตุ ๗ อย่าง อย่าง คือ น้ำเหลือง เลือด เนื้อ ไขมัน กระดูก เนื้อเยื่อประสาทและไขกระดูก และเนื้อเยื่อเจริญเติบโต ได้แก่ อสุจิและไข่นอกจากนั้นยังมีของเสียต่าง ๆ ด้วย โดยวาตะ จะควบคุมการใช้ประโยชน์จากพลังงานของเซลและอวัยวะต่าง ๆ ทั้งการเผาผลาญอาหารและการใช้พลังงาน (anabolic & catabolic) เป็นตัวควบคุมการเคลื่อนไหวของ ปิตตะ และกผะ ซึ่งควบคุมกิจกรรมและการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย
• พลังงานจะเกิดขึ้นในร่างกายในรูปของปิตตะ โดยที่ ปิตตะ โทษะ นี้จะควบคุมกระบวนการทางชีวเคมีและกระบวนการย่อยอาหารให้ความร้อนและพลังงานแก่ร่างกาย ส่วน กผะ เป็นองค์ประกอบของเซลล์และโครงสร้างภายในเซลของร่างกาย รักษาสภาวะในร่างกาย เป็นตัวบอกความแข็งแรงและมั่นคงของร่างกาย ภาวะสมดุลของวาตะ ปิตตะ และกผะ คือพาวะร่างกายสมบูรณ์ ส่วนภาวะไม่สมดุลของโทษะทั้งสามนี้ทำให้ร่างกายเกิดโรค
อายุรเวท" เป็นศาสตร์ของชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทางการแพทย์และอภิปรัชญา เป็นแม่บทแห่งศิลปะการรักษาทั้งหมด กิจปฏิบัติของอายุรเวทได้ถูกออกแบบเพื่อส่งเสริมให้มนุษย์มีความสุข สุขภาพดีและพัฒนาการเจริญเติบโตอย่างสร้างสรรค์ คำสอนของอายุรเวทครอบคลุมองค์ความรู้ในการปฏิบัติเพื่อบำบัดตนเอง เป็นความรู้ที่ใคร ๆ ก็สามารถฝึกได้ ด้วยความสมดุลที่เหมาะสมของพลังงานทั้งหมดในร่างกาย การปฏิบัติตามแนวทางอายุรเวทสามารถชะลอความเสื่อม ลดทอนโรคภัยจากกระบวนการทางกายภาพ ตลอดจนกำจัดอาการเจ็บไข้ลงได้อย่างเห็นผลชัดเจน แนวคิดนี้เองคือ "พื้นฐานศาสตร์อายุรเวท" ศักยภาพเฉพาะบุคคลในการบำบัดรักษาตนเอง
ตรีโทษ (วาตะ ปิตตะ กผะ) คืออะไร
ตามหลักทฤษฎีทางอายุรเวท ศาสตร์แห่งอินเดียระบุว่า การทำงานของกายและจิตของมนุษย์จะถูกควบคุมโดยพลังงานพื้นฐาน 3 ส่วน เรียกว่า "ไตรโทษะ หรือ ตรีโทษ (Tri Dosha)" ได้แก่ วาตะ ปิตตะ และ กผะ พลังเหล่านี้มาจากธาตุสำคัญ 5 ชนิด ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ และอากาศธาตุ ที่รวมตัวกันเป็นจักรวาล ซึ่งก็คือส่วนประกอบของกายและจิตของเรานั่นเอง และตรีโทษทั้ง 3 นี้ มีบทบาทและหน้าที่ในร่างกายของเรา เช่นเดียวกับธาตุทั้ง 5 การบำบัดรักษาตามแนวทางอายุรเวทนั้น ผู้บำบัดจำเป็นต้องมีเข้าใจในเรื่องของ "ตรีโทษ" อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งแตกต่างจากการรักษาแบบตะวันตก
ชาววาตะ (Vata) ผู้มีธาตุลมและอากาศธาตุ เป็นธาตุประจำตัว
ชาววาตะ (Vata) นั้นมีแรงอึดค่อนข้างน้อย อ่อนเพลียได้ง่าย จึงต้องระวังเรื่องอาการเป็นลม (แพ้ลมตัวเอง) หอบหืด และระบบทางเดินหายใจ การดื่มน้ำมากสักหน่อยจึงช่วยให้ชาววาตะ กระชุ่มกระชวยขึ้น และยิ่งเป็นน้ำที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมสักหน่อยก็จะช่วยให้สดชื่นขึ้นมาก ชาววาตะ (Vata) มักมีปัญหาเรื่องท้องผูกและท้องเสีย โดยเฉพาะเรื่องท้องผูกที่เป็นปัญหาสำหรับชาววาตะเสมอมา
นอกจากนี้ ความตื่นตระหนก ขี้กังวล และขนาดกลัวของชาววาตะ มักมีอาการนอนไม่หลับอยู่เสมอ หากปล่อยไว้นาน ๆ โดยไม่แก้ไขก็อาจจะทำให้ชาววาตะเสียสุขภาพในระยะยาวได้ เพราะการขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอจะทำให้โรคภัยไข้เจ็บตามมาได้
ชาวปิตตะ (Pitta) ผู้มีธาตุไฟ เป็นธาตุประจำตัว
ชาวปิตตะ (Pitta) มีไฟเผาผลาญทั้งทางกายและจิตใจค่อนข้างมาก จึงมักจะเจ็บป่วยอยู่เสมอ ๆ เช่น ร้อนใน แสบคันตามผิวหนัง ประจำเดือนมามากผิดปกติ ท้องเสีย เป็นต้น สิ่งที่ชาวปิตตะ (Pitta) ควรระมัดระวังคืออย่าให้ร่างกายร้อนจนเกินไป และที่สำคัญคือต้องควบคุมไม่ให้อารมณ์ร้อนแรงตามร่างกายไปด้วย
ส่วนที่ดีที่สุดของชาวปิตตะ (Pitta) คือความเฉลียวฉลาด รอบคอบและแยบยล ชาวปิตตะ (Pitta) สามารถคิดแผนการดี ๆ ได้หลายเรื่อง หากนำไปใช้ในทางที่ถูกที่ควรก็จะเป็นที่ยอมรับได้ไม่ยาก แต่ถ้าใช้ไม่ถูกทางก็ถือเป็นแผนร้ายระดับเทพพระกาฬทีเดียว
ชาวปิตตะ (Pitta) คิดอะไรไม่ซ้ำใคร กล้าคิด กล้าทำ ความคิดของชาวปิตตะ (Pitta) จะได้รับการกลั่นกรองอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสมอ ด้วยความที่ชาวปิตตะ (Pitta) มักจะคิดจนได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ จึงไม่ต้องกลับมาคิดวกวนซ้ำซากให้กดดันตัวเอง ชาวปิตตะ (Pitta) จะตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวเสมอและไม่เคยนึกเสียใจกับสิ่งที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว
ชาวกผะ (Kapha) ผู้มีธาตุดินและธาตุน้ำ เป็นธาตุประจำตัว
ชาวกผะ (Kapha) ต้องระมัดระวังเรื่องน้ำหนักตัวให้ดี เพราะอ้วนง่ายมาก และต้องระวังเรื่องอาการบวมตามข้อต่อต่าง ๆ หากธาตุน้ำในตัวไม่สมดุล นิสัยของชาวกผะ (Kapha) มีความอดทน หนักแน่น ไม่วู่วาม สงบเยือกเย็น นับเป็นเสน่ห์ของชาวกผะ (Kapha)
ชาวกผะ (Kapha) อาจจะไม่หวือหวาก็จริงแต่รอบคอบในการใช้ชีวิต ชอบดูแลเอาใจใส่คนรอบข้างอย่างทะนุถนอม มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ให้สูง สิ่งที่ชาวกผะ (Kapha) ไม่ชอบเลยก็คือการเป็นผู้นำแม้แต่ผู้นำกลุ่มเล็ก ๆ ชาวกผะ (Kapha) ไม่ชอบออกคำสั่งหรือบังคับจิตใจใคร ชอบเป็นผู้ปฏิบัติตามและรอฟังคำสั่งมากกว่า
ชาวกผะ (Kapha) มีบุคลิกเหมือนกับรูปร่างอุ้ยอ้ายและเชื่องช้า มักทำอะไรแบบช้า ๆ ไม่รีบร้อน ดูเหมือนขาดความกระตือรือร้น แต่ในความจริงแล้วชาวกผะ (Kapha) ทำอะไรทำจริงและทำได้นานเสมอ ชาวกผะ (Kapha) เป็นคนที่เรียนรู้ได้ช้า เข้าใจอะไรได้ยาก แต่ถ้าจำได้แล้วก็จะจดจำได้นานเป็นปี ๆ ชาวกผะ (Kapha) ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์ และไม่ชอบคิด แต่ทำเก่งโดยเฉพาะการทำตาม
No comments:
Post a Comment