ความรู้เบื้องต้นของแพทย์แผนโบราณ
บุคคลที่ปรารถนาจะศึกษาหาความรู้ความชำนาญ
ในด้านการดูแลตนเอง การรักษาโรค
การส่งเสริมสุขภาพ
และการป้องกันโรคนั้น สิทธิการิยะท่านว่า
กุลบุตรผู้มีความปรารถนาหาคุณสมบัติสำหรับตัว
หรือผู้ที่มีความปรารถนาจะเป็นหมอนั้น จะต้องเป็นผู้
มีความรู้ความชำนาญ ในการ แก้ไข สิ่งที่เกิดขึ้น
คำว่า "หมอ"
นั้นย่อมเรียกกันโดยมาก แต่ต่างกัน
โดยคุณความดีของบุคคล คือ ผู้ที่ชำนาญในการรักษา
โรคภัยไข้เจ็บได้ ก็เรียกว่า หมอยา ผู้ที่เข้าใจในวิธีนวด
ก็เรียกว่า หมอนวด
ผู้ที่ชำนาญในการทรมานช้าง
ก็เรียกว่า หมอช้างหรือ ควาญช้าง
สุดแต่ผู้ชำนาญ
ในวิธีใด ก็คง เรียก กันว่าหมอ ตามวิธีนั้นๆ
หมอยาซึ่งชำนาญในการรักษา โรคภัยไข้เจ็บ
ด้วยวิธีใช้ยาอย่างเดียว จะใช้คำว่าหมอเท่านั้น
หมอที่จะกล่าวต่อไปนี้ มาจากคำว่า เวช แผลงมา
เป็นแพทย์ แปลออกเป็นคำไทยว่า
หมอ หมอที่จะเป็นผู้รู้
ผู้ชำนาญ ในการรักษาโรคได้นั้น จะต้องรู้กิจ 4
ประการ
ในเบื้องต้นเสียก่อน การที่จะศึกษาให้รอบรู้โดยถ่องแท้นั้น
ก็ย่อมเป็น
การยาก เพราะมีมากมายหลายประเภท
และแตกต่าง โดยกาลประเทศ คตินิยมก็เป็นอเนกนัย
แต่ควรศึกษา ให้เข้าใจไว้ เป็นกะทู้ใน เบื้องต้นก่อน
พอให้กุลบุตรได้ศึกษา
เป็นวิชาความรู้ในเบื้องต้น
แล้วจึงคิดค้นศึกษาหาความรู้ ต่อไปในภายภาคหน้า
ในวิชาเบื้องต้นนี้ให้ชื่อว่า " เวชศึกษา "
กล่าวด้วยกิจของหมอ
4 ประการ ซึ่ง สามารถ จำแนก
เป็น หมวด
และอธิบายรายละเอียด ได้ดังนี้ คือ
1. รู้จักที่ตั้งแรกเกิดของโรค
2. รู้จักชื่อของโรค
3. รู้จักยารักษาโรค
4. รู้จักว่ายาอย่างใดรักษาโรคใด
1. รู้จักที่ตั้งแรกเกิดของโรค
ที่ตั้งแรกเกิดของโรคนั้น ได้แก่ สมุฏฐาน
ว่า
ที่ตั้งที่แรกเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ
จะบังเกิดขึ้นก็เพราะสมุฏฐานเป็นที่ตั้ง
สมุฏฐานจำแนกออกเป็น
4 ประการ คือ
1) ธาตุสมุฏฐาน
2) อุตุสมุฏฐาน
3) อายุสมุฏฐาน
4) กาลสมุฏฐาน
1) ธาตุสมุฏฐาน
แปลว่า ที่ตั้งของธาตุ
แบ่งธาตุออกเป็น 4 กอง คือ
(1) ปถวีสมุฏฐาน
ธาตุดินเป็นที่ตั้ง จำแนกเป็น 20 อย่าง
(2) อาโปสมุฏฐาน
ธาตุน้ำเป็นที่ตั้ง จำแนกเป็น 12 อย่าง
(3) วาโยสมุฏฐาน
ธาตุลมเป็นที่ตั้ง จำแนกเป็น 6 อย่าง
(4) เตโชสมุฏฐาน
ธาตุไฟเป็นที่ตั้ง จำแนกเป็น 4 อย่าง
จึงรวมเป็นธาตุสมุฏฐาน 42 อย่าง
หรือจะเรียกธาตุสมุฏฐาน ทั้ง 4 ว่า
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ก็ได้
ท่านจำแนก ไว้โดยละเอียดดังนี้:-
(1) ปถวีธาตุ 20 อย่าง คือ
1.
เกศา คือ ผม
ที่เป็นเส้นงอกอยู่บนศีรษะ
2.
โลมา คือ ขน
เป็นเส้นงอกอยู่ทั่วร่างกาย
เช่นขนคิ้ว หนวด เครา และขนอ่อนตามตัว
เป็นต้น
3.
นขา คือ เล็บ
ที่งอกอยู่ตามปลายนิ้วมือ
และปลายนิ้วเท้า
4.
ทันตา คือ ฟัน ฟันอย่าง 1 เขี้ยวอย่าง 1
กรามอย่าง 1 รวมเรียกว่าฟัน เป็นฟันน้ำนม
ผลัดหนึ่งมี 20 ซี่
เป็นฟันแก่ผลัด 1 มี 32 ซี่
5.
ตะโจ คือ หนัง
ตามตำราเข้าใจว่า
หมายถึงที่หุ้มกายภายนอก ซึ่งมี 3 ชั้น
คือ หนังหนา หนังชั้นกลาง
หนังกำพร้า
แต่ที่จริงหนังในปาก เป็นหนังเปียก
อีกชนิดหนึ่งควรนับเข้าด้วย
6.
มังสัง คือ เนื้อที่เป็นกล้าม
และเป็นแผ่นในกายทั่วไป
7.
นะหารู คือ เส้น และเอ็นในกายทั่วไป
8.
อัฏฐิ คือ กระดูก
กระดูกอ่อน อย่าง 1
กระดูกแข็งอย่าง 1
9.
อัฏฐิมิญชัง คือ เยื่อในกระดูก
แต่ที่จริงควรเรียกว่าไข เพราะเป็นน้ำมัน
ส่วนเยื่อนั้นมีหุ้ม อยู่นอกกระดูก
10.
วักกัง คือ ม้าม
ตั้งอยู่ข้างกระเพาะอาหาร
ตั้งอยู่ทางด้านซ้าย
11.
หทะยัง คือ
หัวใจอยู่ในทรวงอก
สำหรับสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย
ตั้งอยู่ทางด้านซ้าย
12.
ยกะนัง คือ ตับ
ตับอ่อนอย่าง 1
และตับแก่อย่าง 1 ซึ่งตั้งอยู่ชายโครงด้านขวา
13.
กิโลมะกัง คือ พังผืด
เป็นเนื้อยืดหดได้
มีอยู่ทั่วร่างกาย
14.
ปิหกัง คือ ไต มีอยู่ 2
ไต ติดกระดูกสันหลัง
บริเวณบั้นเอวขวา และซ้าย สำหรับขับปัสสาวะ
15.
ปัปผาสัง คือ ปอด
มีอยู่ในทรวงอกขวา
และซ้าย สำหรับหายใจ
16.
อันตัง คือ ลำไส้ใหญ่
เข้าใจว่า
นับทั้ง 2 ตอนๆ บนรวมกระเพาะอาหาร
เข้าด้วยกับตอนล่างที่ ต่อจากลำไส้
ไปหาทวารหนักอีกตอนหนึ่ง
17.
อันตะคุณัง คือ ลำไส้น้อย
ลำไส้เล็กที่ขดต่อ
จากกระเพาะอาหารไปต่อกับไส้ใหญ่ตอนล่าง
18.
อุทริยัง คือ อาหารใหม่
อาหารที่อยู่เพียง
ลำไส้ใหญ่ตอนบน (ในกระเพาะอาหาร)
และในลำไส้เล็ก
19.
กะรีสัง คือ อาหารเก่า
กากอาหารที่ตกจาก
ลำไส้เล็กมาอยู่ในลำไส้ใหญ่ตอนล่าง
และตกไปทวารหนัก
20.
มัตถะเก มัตถะลุงคัง คือ สมอง และมันสมอง
ซึ่งเป็นก้อนอยู่ในศีรษะ ต่อเนื่องลามตลอด
กระดูกสันหลังติดกับเส้นประสาททั่วไป
(2) อาโปธาตุ 12 อย่าง คือ
1.
ปิตตัง คือ น้ำดี แยกเป็น
2 อย่าง คือ
1) พัทธปิตตะ (น้ำดีในฝัก) ตั้งอยู่ที่ซอกตับ
2) อพัทธปิตตะ (น้ำดีนอกฝัก)
น้ำดีที่ตกลงในลำไส้
2.
เสมหัง คือ น้ำเสลด
แยกเป็น 3 คือ
1) ศอเสมหะ (น้ำเสลดในลำคอ)
2) อุระเสมหะ (น้ำเสลดในทรวงอก)
3) คูถเสมหะ (น้ำเสลดในลำไส้ใหญ่ตอนล่าง
ทางทวารหนัก) ออกจากทางอุจจาระ เป็นต้น
3
ปุพโพ คือ น้ำเหลือง-หนอง
ที่ออกตามแผลต่างๆ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุช้ำชอก
และเป็นแผลเป็นต้น
4.
โลหิตัง คือ เลือด โลหิตแดงอย่าง 1
โลหิตดำอย่าง 1
5.
เสโท คือ เหงื่อ
น้ำเหงื่อที่ตามกายทั่วไป
6.
เมโท คือ มันข้น
เป็นเนื้อมันสีขาว
ออกเหลืองอ่อนมีในร่างกายทั่วไป
7.
อัสสุ คือ น้ำตา น้ำใสๆ
ที่ออกจากตาทั้ง 2 ข้าง
8.
วสา คือ มันเหลว
หยดน้ำมัน
และน้ำเหลืองในร่างกายทั่วไป
9.
เขโฬ คือ น้ำลาย น้ำลายในปาก
10.
สิงฆานิกา คือ น้ำมูก
เป็นน้ำใสๆ
ที่ออกทางจมูก
11.
ละสิกา คือ ไขข้อ
น้ำมันที่อยู่ในข้อทั่วๆไป
12.
มุตตัง คือ น้ำปัสสาวะ
น้ำที่ออกมา
จากกระเพาะปัสสาวะ
(3) วาโยธาตุ 6 อย่าง คือ
1.
อุทธังคมาวาตา คือ ลมสำหรับพัดขึ้น
เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าตลอดศีรษะ
บางท่านกล่าว่าตั้งแต่กระเพาะอาหาร
ถึงลำคอ ได้แก่ เรอ เป็นต้น
2.
อุโธคมาวาตา คือ ลมสำหรับลงเบื้องล่าง
พัดตั้งแต่ศีรษะตลอดถึงปลายเท้า
บางท่านกล่าวว่าตั้งแต่ลำไส้น้อยถึงทวารหนัก
ได้แก่ ผายลม เป็นต้น
3.
กุจฉิสยาวาตา คือ ลมสำหรับพัดอยู่ในท้อง
แต่นอกลำไส้
4.
โกฎฐาสยาวาตา คือ ลมสำหรับพัดในลำไส้
และในกระเพาะอาหาร
5.
อังคะมังคานุสารีวาตา คือ ลมสำหรับพัดทั่ว
ร่างกาย (
ปัจจุบันเรียกว่า โลหิต
แต่ก่อนเรียกว่าลม)
6. อัสสาสะปัสสาสะวาตา คือ
ลมสำหรับหายใจเข้าออก
(4) เตโชธาตุ 4 อย่าง คือ
1.
สันตัปปัคคี คือ ไฟสำหรับอุ่นกาย
ซึ่งทำให้ตัวเราอุ่นเป็นปกติอยู่
2.
ปริทัยหัคคี คือ ไฟสำหรับร้อนระส่ำระสาย
ซึ่งทำให้เราต้องอาบน้ำ และพัดวี
3.
ชิรณัคคี คือ ไฟสำหรับเผาให้แก่คร่ำคร่า
ซึ่งทำให้ร่างกายเราเหี่ยวแห้ง ทรุดโทรม
ทุพพลภาพไป
4.
ปริณามัคคี คือ ไฟสำหรับย่อยอาหาร
ซึ่งทำให้อาหารที่เรากลืนลงไปนั้น
แหลกละเอียดไป
ธาตุดิน 20 อย่าง ธาตุน้ำ 12 อย่าง
ธาตุลม 6 อย่าง ธาตุไฟ 4 อย่าง
ดังพรรณามาแล้ว นี้แหละเป็นที่ตั้งที่เกิด
ของโรค เพราะธาตุทั้ง 4 พิการไป
มนุษย์จึงมีความเจ็บไข้ไปแต่ละอย่างๆ
ท่านได้อธิบายในคัมภีร์ธาตุวิภังค์
และคัมภีร์โรคนิทาน
นอกจากนี้การรู้จักที่ตั้งที่เกิดแห่งโรค
ตามอาการของธาตุทั้ง 4 กับตัวยาสำหรับแก้โรค
ยังมีแจ้งอยู่ในคัมภีร์โรคนิทาน
จึงกล่าวแต่ชื่อธาตุทั้ง 4 ไว้พอสังเขปเท่านั้น
อนึ่งธาตุ 42 อย่าง ที่เป็นหัวหน้า
มักจะพิการบ่อยๆ ไม่ค่อยจะเว้นตัวตน
ย่อธาตุ 42 อย่าง เป็นสมุฏฐานธาตุ 3 กอง ดังนี้
1. ปิตตะสมุฏฐานาอาพาธา
อาพาธด้วยดี
2. เสมหะสมุฏฐานาอาพาธา
อาพาธด้วยเสลด
3. วาตะสมุฏฐานาอาพาธา
อาพาธด้วยลม
เมื่อสมุฏฐานทิ้ง 3 ประชุมกันเข้าเรียกว่า
สันนิปาติกาอาพาธา อาพาธด้วยโทษประชุมกัน
ชื่อว่า สันนิบาต สมุฏฐานทั้ง 3 กองนี้
มักจะ
พิการเสมอไปไม่ใคร่จะขาด
ถ้าฤดูผันแปรวิปริตไปเมื่อใด สมุฏฐานทั้ง 3 กองนี้
ก็พิการไปเมื่อนั้น จะได้กล่าวถึง ธาตุพิการ
ต่อไปในข้างหน้า
2) อุตุสมุฏฐาน
แปลว่า ฤดูเป็นที่ตั้ง
ฤดูนี้เป็นของมีอยู่สำหรับโลก
ในปี 1
ย่อมแปรไปตามปกติของเดือน วัน
โลกได้สมมุติกัน สืบมาโดยกาลนิยม
ตราบเท่าทุกวันนี้ อาการที่ฤดูแปรไปนี้
ย่อมให้เกิดไข้เจ็บได้ ตามที่ท่านกล่าวว่า
อุตุปรินามชาอาพาธา ไข้เจ็บเกิดเพราะฤดูแปรไป
ฉะนั้นจึงจัดเอาฤดูเข้าเป็นสมุฏฐานของโรค
ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ฤดูในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์
ท่านแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
แบ่งเป็น ฤดู 3
อย่างหนึ่ง
แบ่งเป็น ฤดู 4 อย่างหนึ่ง
แบ่งเป็น ฤดู 6 อย่างหนึ่ง
------------------------------------
ฤดู 3
ท่านจัดเป็นสมุฏฐานของโรค
ในที่นี้จะแบ่งฤดู 3 คือ ปี 1 แบ่งออกเป็น
3 ฤดูๆ หนึ่งมี 4 เดือน ดังนี้ คือ
1. คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน)
นับแต่ แรม 1 ค่ำเดือน 4
ไปจนถึงขึ้น 15 ค้ำเดือน 8
รวมเป็น 4 เดือน เรียกว่า คิมหันตฤดู
แปลว่า
ฤดูร้อน อากาศร้อน
รักษาร่างกายมนุษย์อยู่ สัมผัสภายนอก
กับธาตุของมนุษย์
ได้กระทำความร้อน
เป็นธรรมดา ก็มีอากาศฝน อากาศหนาวเจือมา
ก็อาจเจ็บไข้ได้ (พิกัดปิตตะสมุฏฐานเป็นเหตุ)
2. วสันตฤดู (ฤดูฝน)
นับแต่แรม 1
ค่ำเดือน 8
ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12
รวมเป็น 4 เดือน เรียกว่า วสันต์ฤดู แปลว่าฤดูฝน
อากาศหน้าฝนรักษาร่างกายมนุษย์ เมื่ออากาศ
ภายนอกสัมผัสกับธาตุของมนุษย์
ก็ได้กระทบความเย็นเป็นธรรมดา
แต่เมื่ออากาศหนาว ร้อน
มาผสม
มนุษย์ก็อาจเจ็บไข้ได้ (พิกัดวาตะสมุฏฐานเป็นเหตุ)
3. เหมันตฤดู
นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 12
ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
รวมเป็น 4 เดือน เรียกว่า เหมันต์ แปลว่า ฤดูหนาว
หรือ ฤดูน้ำค้าง อากาศหนาวรักษาร่างกายมนุษย์อยู่
สัมผัสและธาตุของมนุษย์ได้กระทบความหนาว
เป็นธรรมดา ก็มีอากาศร้อน อาศัยฝนเจือมา
เมื่อฤดูทั้ง 3 ซึ่งแบ่งออกโดยนามตามสามัญนิยม
ผลัดเปลี่ยนกันไปและมีอากาศร้อนหนาวเจือมา
ในระหว่างของฤดูนั้นๆ ดังนี้
ก็ย่อมเป็นเหตุให้มนุษย์
มีความเจ็บไข้ด้วยสัมผัสอากาศธาตุภายนอก
กับธาตุภายในไม่เสมอกัน
อนึ่ง เมื่อระหว่างฤดูต่อกันนั้น ทำให้สัมผัส
ของมนุษย์ไม่เสมอกัน
ซึ่งฤดูแปรไปไม่ปกติเช่นนี้
ธาตุในร่างกายของมนุษย์ก็ย่อมแปรไปตามฤดู
เหมือนกัน
แต่ถ้าเป็นคราวที่ธาตุหมุนเวียนไปไม่ทัน
กับคราวฤดูที่เป็นอากาศธาตุภายนอกคราวใด
ก็ย่อมมีการเจ็บไข้บังเกิดขึ้น
(พิกัดเสมหะสมุฏฐานเป็นเหตุ)
อนึ่งในฤดู 3 นั้น ท่านแบ่งออกเป็น
สุฏฐานของโรคดังนี้
1.
คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน)
เป็นสมุฏฐานเตโช พิกัดสันตัปปัคคี
(ไฟสำหรับอุ่นกาย)
2.
วสันตฤดู (ฤดูฝน)
เป็นสมุฏฐานวาโย พิกัดกุจฉิสยาวาตา
(ลมพัดในท้อง นอกลำไส้)
3.
เหมันตฤดู ( ฤดูหนาว)
เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดเสมหะโลหิต
------------------------------------
ฤดู 4
ท่านจัดเป็นสมุฏฐานของโรค ในที่นี้แบ่งฤดู 4
โดย ปี 1 จะมี 4 ฤดูๆ หนึ่งมี 3 เดือนดังนี้ คือ
1.
ฤดูที่ 1 นับแต่แรม 1
ค่ำเดือน 4
ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 7
สมุฏฐานเตโช (ไฟ)
2.
ฤดูที่ 2 นับแต่แรม 1
ค่ำเดือน 7
ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 10
สมุฏฐานวาโย (ลม)
3.
ฤดูที่ 3 นับแต่แรม 1
ค่ำเดือน 10
ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 1
สมุฏฐานอาโป (น้ำ)
4.
ฤดูที่ 4 นับแต่แรม 1
ค่ำเดือน 1
ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
สมุฏฐานปถวี (ดิน)
------------------------------------
ฤดู 6
คือแบ่งเวลา ปีหนึ่งมี 6 ฤดูๆ หนึ่งมี 2 เดือนดังนี้ ตือ
1. ฤดูที่ 1 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 4
ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 6
ถ้าเป็นไข้ก็เป็นด้วย ดี กำเดา เป็นเพราะเพื่อเตโช
2. ฤดูที่ 2 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 6
ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 8
ถ้าเป็นไข้เป็นเพื่อเตโช วาโย กำเดาระคน
3. ฤดูที่ 3 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8
ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 10
ถ้าเป็นไข้เป็นเพื่อวาโย และเสมหะ
4. ฤดูที่ 4 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 10
ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12
ถ้าเป็นไข้เป็นเพื่อลมเพื่อเสมหะและมูตร
5. ฤดูที่ 5 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 12
ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 2
ถ้าเป็นไข้เป็นเพราะเสมหะและกำเดาโลหิต
6. ฤดูที่ 6 นับแต่แรม 1 ค่ำเดือน 2
ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
ถ้าเป็นไข้เป็นเพราะธาตุดินเป็นมูลเหตุ
เพื่อเลือดลม กำเดาเจือเสมหะ
------------------------------------
(3) อายุสมุฏฐาน
นั้นแปลว่าอายุเป็นที่ตั้งท่านจัดไว้ 3 อย่าง คือ
1. ปฐมวัย
นับแต่แรกเกิดจนถึง 16 ปี
สมุฏฐานอาโป
พิกัดเสมหะกับโลหิตระคนกัน
แบ่งเป็น 2 ตอน คือ
1) ตอนแรกเกิด จนถึงอายุ 8 ขวบ
มีเสมหะเป็นเจ้าเรือน โลหิตแทรก
2)
ตอน 8 ขวบ ถึง 16 ขวบ
มีโลหิตเป็นเจ้าเรือน เสมหะยังเจืออยู่
2. มัชฌิมวัย
นับแต่อายุพ้น 16 ปี ขึ้นไป จนถึงอายุ 32 ปี
สมุฏฐานอาโป พิกัดโลหิต 2 ส่วน
สมุฏฐานวาโย 1 ส่วนระคนกัน
3. ปัจฉิมวัย
ตั้งแต่อายุพ้น 32
ปีขึ้นไปจนถึงอายุ 64 ปี
วาโย อาโปแทรก พิกัดเสมหะกับเหงื่อ
------------------------------------
(4) กาลสมุฏฐาน
ว่า
เวลาเป็นที่ตั้ง ท่านแบ่งไว้เป็น
กลางวัน 4 ตอน กลางคืน 4
ตอน ดังนี้
1. ตอนที่ 1
นับแต่ย่ำรุ่ง (6.00 น.) ถึง 3 โมงเช้า (9.00 น.)
ย่ำค่ำ (18.00 น.) ถึงยาม 1 (21.00 น.)
สมุฏฐานอาโป พิกัดเสมหะ
2. ตอนที่ 2
นับแต่ 3 โมงเช้า (9.00 น.) ถึงเที่ยง (12.00 น.)
ยาม 1 (21.00 น.) ถึง 2 ยาม (24.00 น.)
สมุฏฐานอาโป พิกัดโลหิต
3. ตอนที่ 3
นับแต่เที่ยง (12.00 น.) ถึง บ่าย 3 โมง (15.00 น.)
2 ยาม (24.00 น.) ถึง 3 ยาม (03.00 น.)
สมุฏฐานอาโป พิกัดดี
4. ตอนที่ 4
นับแต่บ่าย 3 โมง (15.00 น.) ถึงย่ำค่ำ (18.00 น.)
3 ยาม (03.00 น.) ถึงย่ำรุ่ง (06.00 น.)
สมุฏฐานวาโย
------------------------------------
คลิ๊กเข้าดู ประเทศสมุฏฐาน 4 ระบุจังหวัด และภาค
(5) ประเทศสมุฏฐาน
ที่ว่าประเทศที่อยู่เป็นที่ตั้งของโรคด้วยนั้น
คือ
บุคคลที่เคยอยู่ในประเทศดอน หรือเนินเขา
อันปราศจากเปือกตมก็ดี หรือบุคคลที่เคยอยู่
ในประเทศอันเป็นเปือกตมก็ดี บุคคลอันเคยอยู่
ในประเทศร้อนหรือประเทศหนาวก็ดี
เคยอยู่ในประเทศใด ธาตุสมุฏฐานอันมีอยู่
ในร่างกายก็คุ้นเคยกับอากาศในประเทศนั้น
ตามปกติถ้าบุคคลเคยอยู่ที่ดอนแล้วมาอยู่ในที่
เปือกตม
หรือบุคคลเคยอยู่ใน ประเทศหนาวมาอยู่
ประเทศร้อน เคยอยู่ในประเทศร้อนไปอยู่ในประเทศ
หนาว เมื่อยังไม่คุ้นเคยกับอากาศในประเทศนั้นๆ
แล้วก็ย่อมจะมีความเจ็บไข้
เช่น บุคคลเคยอยู่ชายทะเล
ไปป่าสูง บุคคลอยู่ป่าสูงมาอยู่ชายทะเลก็มีความเจ็บไข้
ทีเรียกกันว่า ไข้ผิดน้ำผิดอากาศ นี่ก็ไม่ใช่อะไร
เป็นเพราะธาตุไม่คุ้นเคยกับประเทศนั่นเอง
แม้แต่ที่ซึ่งเคยอยู่มาแล้ว
แต่ก็มีเปือกตมอันเป็นสิ่ง
โสโครกเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ก็ย่อมเป็นเหตุ
จะให้โรคเกิดขึ้นได้เหมือนกัน
หมอทั้งหลายจึงแนะนำให้รักษาที่อยู่ให้สะอาด
เพื่อเป็นทางป้องกันโรคได้อย่างหนึ่ง เพราะเหตุนี้แหละ
ประเทศ ที่อยู่จึงจัดเป็นสมุฏฐานที่ตั้งที่เกิดของโรคด้วย
ประเทศสมุฏฐานจัดเป็น 4 ประการ
เพื่อให้เป็นที่สังเกตว่าที่อยู่กับธาตุในร่างกาย
ย่อมเป็น สิ่งแอบอิงอาศัยแก่กัน คนที่เกิดใน
ประเทศหนึ่งๆ มีสมุฏฐานโรคต่างกันอย่างไร
ได้กำหนดไว้ดังนี้
1. คนเกิดในประเทศที่สูง เช่น ชาวเขา
เรียกประเทศร้อน ที่ตั้งแห่งโรคของคนประเทศนั้น
เป็นสมุฏฐานเตโช
2. คนเกิดในประเทศที่เป็นน้ำกรวดทราย
เรียกประเทศอุ่น ที่ตั้งแห่งโรคของคนประเทศนั้น
เป็นสมุฏฐานอาโป ดีโลหิต
3. คนเกิดในประเทศที่เป็นน้ำฝนเปือกตม
เรียกประเทศเย็น ที่ตั้งแห่งโรคของคนประเทศนั้น
เป็นสมุฏฐานวาโย
4. คนเกิดในประเทศที่เป็นน้ำเค็มเปือกตม
เรียกประเทศหนาว
ที่ตั้งแห่งโรคของคนประเทศนั้น
เป็นสมุฏฐานปถวี
------------------------------------
สมุฏฐานตามลักษณะอาการของโรค
สมุฏฐานต่างๆ ยังมีการจำแนกตามลักษณะอาการ
ของโรค
ซึ่งบังเกิด ณ.ที่ทั่วไป ตามอวัยวะร่างกาย
ที่ได้เป็นส่วนๆ ในอาการ 32 มี เกศา
โลมา เป็นต้นนั้น
เมื่อโรคบังเกิดขึ้นแก่ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง
ท่านเรียกว่าส่วนนั้นพิการ
ดังนี้เรียกว่าบอกสมุฏฐาน
คือชี้ที่เกิดของโรค ฝ่ายธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำธุระให้แก่ร่างกาย ที่ท่านได้จำแนกไว้
เป็นส่วนๆ นั้น
เมื่อส่วนใดวิปริตผิดไปจากปกติ มีโรคภัย
บังเกิดขึ้น ท่านก็เรียกว่าส่วนนั้นพิการ
บอกสมุฏฐานด้วย
เหมือนกัน แต่การตรวจสมุฏฐานเพื่อให้รู้ว่าไข้ที่ป่วยรายนี้
มีอะไรเป็นสมุฏฐานที่เกิดโรคนั้นๆ
ท่านวางหลักไว้เป็นแบบสำหรับสอบสวนกัน
หลายทาง ธาตุทั้ง 4 ก็บอกสมุฏฐานได้อย่างหนึ่ง
ตามหลักธาตุสมุฏฐาน ฤดู ดิน ฟ้า
อากาศ บอกสมุฏฐาน
ได้อย่างหนึ่ง ตามหลักอุตุสมุฏฐาน อายุของคนไข้บอก
สมุฏฐาน เวลาที่คนไข้ป่วย และมีอาการปรวนแปร
ไปต่างๆ บอก สมุฏฐานได้อย่างหนึ่ง
ตามหลักกาลสมุฏฐาน ประเทศที่คนไข้เกิด
และป่วยบอกสมุฏฐานได้อย่างหนึ่ง
ตามหลักประเทศสมุฏฐาน ดังได้กล่าวมา
ในข้างต้นแล้วนั้น การที่แพทย์จะวางยาก็ต้องวาง
ให้ถูกต้องตามสมุฏฐานนั้นๆ
แต่การที่แพทย์ตรวจ
เห็นคนเจ็บมีอาการเช่นนั้นๆ แล้วก็เข้าใจว่า
เป็นโรคนั้นๆ เช่น เป็นหวัด เป็นกระษัย เป็นไข้
และวางอย่างนี้อย่างนั้นไปตามชื่อของโรค
เช่นนี้ดูก็ยังไม่ตรงตามลักษณะสมุฏฐาน
เพราะชื่อโรคนั้นๆ เป็นชื่อที่แพทย์สมมุติเรียกกันขึ้น
และเรียกกันตามที่เคยพบเห็น
ต่อๆ มา
แต่บางโรคบางอย่างที่นานๆ พบ หรือโรค 2 อย่าง
ที่มีอาการคล้ายคลึงกัน หลายคนเรียกชื่อไม่ตรงกันก็มี
เหตุฉะนั้น
ในการรักษาให้ถูกต้องแม่นยำแล้ว
ต้องตรวจตราพิจารณา ตามสมุฏฐานนั่นแหละ
และแม่นมั่นกว่า อนึ่งในคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ท่านก็ไม่ใช้ชื่อ
ตามสมมุติ
ท่านเรียกตามสมุฏฐานมาเป็นแบบอย่าง
คือ เมื่อเห็นอาการว่าเป็นโรคที่ตับ
ก็เรียกตับพิการ
ที่ปอดก็เรียกว่าปอดพิการ หรือเป็นโรคเพื่อเสมหะ
ก็เรียกว่าเสมหะพิการ ให้แพทย์ผู้รักษา ให้รู้อาการไข้
ให้ตรงฉะนี้
ลักษณะอาการของโรคบอกสมุฏฐานตามหลัก
ที่ท่านได้บัญญัติไว้ สำหรับเป็นเครื่องวินิจฉัยของแพทย์
ในการตรวจไข้
อนึ่งขอชี้แจงไว้ว่าบรรดาโรค
ที่มีประจำตัวมนุษย์อยู่บ่อยๆ นั้น
โดยมากย่อมมีอยู่ใน
3 พวก คือ โรคเกิดเพื่อ (เพราะ) ดี เพื่อ (เพราะ)
เสมหะและเพื่อ (เพราะ) ลม
ที่ได้กล่าวมาแล้ว
ในสมุฏฐาน ธาตุ 3 นั้น เป็นมากว่าอย่างอื่น
หรือเรียกว่า ธาตุสมุฏฐานพิการ
จำแนกออกเป็น
สมุฏฐานปถวีธาตุพิการ สมุฏฐานอาโปธาตุพิการ
สมุฏฐานวาโยธาตุพิการ
และสมุฏฐานเตโชธาตุพิการ
(1). สมุฏฐานปถวีธาตุพิการ
1) เกศาพิการ (ผม)
ให้มีอาการเจ็บตามหนังหัว และผมร่วง
2) โลมาพิการ ( ขน)
ให้มีอาการเจ็บตามผิวหนัง และขนร่วง
3) นะขาพิการ (เล็บ)
ให้มีอาการปวดที่โคนเล็บ
บางทีทำให้เล็บถอด
บางทีเป็นเม็ด เป็นหนองที่โคนเล็บ
4) ทันตาพิการ (ฟัน)
เป็นรำมะนาด
เป็นฝีรำมะนาด ฝีกราม
ให้ปวดตามรากฟัน แมงกินฟัน
5) ตะโจพิการ (หนัง)
ให้คันตามผิวหนัง ให้รู้สึกกายสากตามผิวหนัง
ให้แสบร้อนตามผิวหนัง
6) มังสังพิการ ( เนื้อ)
ให้เนื้อเป็นผื่นแดงช้ำ และแสบร้อน เนื้อเป็นแฝด
เป็นไฝ เป็นหูด เป็นพรายย้ำ
7) นะหารูพิการ (เส้นเอ็น)
ให้รู้สึกตึงรัดผูกดวงใจ ให้สวิงสวาย และอ่อนหิว
8) อัฏฐิพิการ (กระดูก)
ให้เจ็บปวดในแท่งกระดูก
9) อัฎฐิมิญชังพิการ (เยื่อพรุนในกระดูก)
ให้ข้นให้เป็นไข แล้วมีอาการเป็นเหน็บชา
10) วักกังพิการ (ม้าม)
ให้สะท้านร้อนสะท้านหนาว และเป็นโรค
เช่น กระษัยลม
11) หทะยังพิการ (หัวใจ)
ให้เสียอารมณ์
ให้ใจน้อย มักขึ้งโกรธ ให้หิวโหย
12) ยกะนังพิการ (ตับ)
ให้ตับโต ตับย้อย
เป็นฝีที่ตับ ตับช้ำ
13) กิโลมะกังพิการ (พังผืด)
ให้อกแห้ง
ให้กระหายน้ำ และเป็นโรค
เช่น โรคริดสีดวงแห้ง
14) ปิหะกังพิการ (ไต)
ให้ขัดในอก
ให้แน่นในอก ให้ท้องพอง ให้อ่อนเพลีย
กำลังน้อย เจ็บสะเอว ปัสสาวะเหลือง
15) ปัปผาสังพิการ (ปอด)
ให้กระหายน้ำ
ให้ร้อนในอก ให้หอบหนัก
เรียกว่า กาฬขึ้นที่ปอด
16) อันตังพิการ (ลำไส้ใหญ่)
ให้ลงท้องเป็นกำลัง ให้แน่นในท้อง ให้ลำไส้ตีบ
17) อันตะคุนังพิการ (ไส้น้อย)
ให้เรอ
ให้หาว ให้อุจจาระเป็นโลหิต
ให้หน้ามืดตามัว ให้เมื่อยบั้นเอว
18) อุทริยังพิการ (อาหารใหม่)
ให้ลงท้อง
ให้จุกเสียด ให้พะอืดพะอม ให้สะอึก
19) กะรีสังพิการ (อาหารเก่า)
ให้อุจจาระไม่ปกติ ธาตุเสียมักจะเนื่องมาแต่ตานขโมย
และเป็นโรค เช่นริดสีดวง
20) มัตถะเก มัตถะลุงคังพิการ (สมองและมันสมอง)
ให้หูตึง
ให้มัวตา ให้ลิ้นกระด้าง ให้คางแข็ง
(2). สมุฏฐานอาโปธาตุพิการ
1) พัทธะปิตตะพิการ (น้ำดีในฝัก)
ให้มีอาการคลุ้มคลั่งเป็นบ้า
2) อพัทธะปิตตะพิการ (น้ำดีนอกฝัก)
ทำให้ปวดศีรษะ ตัวร้อน
สะท้านร้อนสะท้านหนาว
ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง จับไข้
3) ศอเสมหะพิการ (น้ำเสลดในลำคอ)
ให้ไอเจ็บคอ คอแห้ง
เป็นหืด
4) อุระเสมหะพิการ (น้ำเสลดในทรวงอก)
ให้ผอมเหลือง เป็นตาน
เป็นเถาให้แสบในคอ อกแห้ง
5) คูถเสมหะพิการ
(น้ำเสลดในลำไส้ใหญ่ตอนล่างทางทวารหนัก)
ให้ตกอุจจาระเป็นเสมหะ และโลหิต เช่น มูกเลือด
6) ปุพโพพิการ (น้ำเหลือง-หนอง)
ทำให้ไอ เบื่ออาหาร
ให้รูปร่างซูบผอม
7) โลหิตังพิการ (เลือด)
ให้ตัวร้อนเป็นไข้
ให้คลั่งเพ้อ ให้ปัสสาวะแดง
ให้เป็นเม็ดตามผิวหนัง เช่นเป็นประดงต่างๆ
เป็นปานดำ ปานแดง และกาฬโรค เป็นต้น
8) เสโทพิการ (น้ำเหงื่อ)
ให้สวิงสวาย ให้ตัวเย็น ให้อ่อนอกอ่อนใจ
9) เมโทพิการ ( น้ำมันข้น)
ให้ผุดเป็นแผ่นตามผิวหนัง และเป็นวงเป็นดวง
ให้ปวดแสบปวดร้อนผิวหนัง เป็นน้ำเหลืองไหล
10) อัสสุพิการ (น้ำตา)
ให้ตาเป็นฝ้า
น้ำตาไหล ตาแฉะ ตาเป็นต้อ
11) วสาพิการ (น้ำมันเหลว)
ให้ผิวเหลือง
ให้ตาเหลือง ให้ลงท้อง
12) เขโฬพิการ (น้ำลาย)
ให้เจ็บคอเป็นเม็ดในคอ และโคนลิ้น
13) สิงฆานิการ (น้ำมูก)
ให้ปวดในสมอง
ให้ตามัว ให้น้ำมูกตก
14) ละสิกาพิการ (ไขข้อ)
ให้เจ็บตามข้อ
และแท่งกระดูกทั่วตัว
15) มุตตังพิการ (ปัสสาวะ)
ให้ปัสสาวะสีขาว สีเหลือง สีดำ สีแดง
(3). สมุฎฐานวาโยธาตุพิการ
1) อุทธังคมาวาตพิการ (ลมพัดขึ้น)
ให้มือเท้าขวักไขว่ ร้อนในท้อง ทุรนทุราย
หาวเรอ เสมหะเฟ้อ
2) อโธคมาวาตพิการ (ลมพัดลง)
ให้ยกมือ และเท้าไม่ไหว ให้เมื่อยขบไปทุกข้อ
3) กุจฉิสยาวาตพิการ (ลมพัดในท้องนอกลำไส้)
ให้ท้องลั่น ให้ดวงจิตสวิงสวาย ให้เมื่อยขบไปทุกข้อ
4) โกฎฐาสยาวาตพิการ
(ลมพัดในลำไส้ ในกระเพาะอาหาร)
ให้ขัดในอก ให้จุกเสียด ให้อาเจียน
ให้คลื่นเหียน ให้เหม็นข้าว
5) อังคมังคานุสารีวาตพิการ (ลมพัดทั่วร่างกาย)
ให้นัยน์ตาพร่า ให้วิงเวียน ให้เจ็บสองหน้าขา
ให้เจ็บตามกระดูกสันหลัง อาเจียนแต่ลมเปล่า
กินอาหารไม่ได้ สะบัดร้อนสะบัดหนาว
6) อัสสาสะปัสสาสะวาตพิการ (ลมหายใจเข้าออก)
ให้หายใจสั้นเข้าจนไม่ออกไม่เข้า
(4). สมุฎฐานเตโชธาตุพิการ
1) สันตัปปัคคีพิการ (ไฟสำหรับอุ่นกาย)
ทำให้กายเย็นชืด
2) ปริณามัคคีพิการ (ไฟย่อยอาหาร)
ให้ขัดข้อมือข้อเท้า เป็นมองคร่อ คือปอดเป็นหวัด
ให้ไอ ให้ปวดฝ่ามือฝ่าเท้า
ให้ท้องแข็ง ให้ผะอืดผะอม
3) ชิรณัคคีพิการ ( ไฟทำให้แก่ชรา)
ทำให้กายไม่รู้สึกสัมผัส ชิวหาไม่รู้รส หูตึง หน้าผากตึง
อาการเหล่านี้เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้
4) ปริทัยหัคคีพิการ ( ไฟสำหรับให้ร้อนระส่ำระสาย)
ทำให้ร้อนภายในภายนอก เย็นมือ เย็นเท้า เหงื่อออก
นอกจากที่กล่าวแล้วว่า
สมูฎฐานทั้ง 4 เป็นที่ตั้ง
ที่เกิดของโรคแล้วนั้น
ในหัวข้อต่อไปจะกล่าวถึง
กิริยาอาการ ความประพฤติของมนุษย์ที่จะทำให้เกิด
โรคขึ้น คือ
มนุษย์เราจะต้องประพฤติในธาตุซึ่งมีอยู่
ในร่างกายของตนให้สม่ำเสมอ
ไม่ควรจะฝ่าฝืนร่างกาย
ให้มากกว่าปกติไป ความที่ฝ่าฝืนร่างกายนั้น คือ
1. อาหาร ไม่ระวังในการบริโภคมากเกินกว่าปกติ
โดยไม่รู้ประมาณในอาหาร หรือ ตนเคยบริโภคเพียงไร
แต่บริโภค น้อยกว่าที่เคย หรืออาหารนั้นเป็นของบูด
ของเสีย
และที่ควรจะทำให้สุกเสียก่อน แต่ไม่ทำให้สุก
หรือของที่มีรสแปลกกว่าที่ตนเคยบริโภค
ก็บริโภค
จนเหลือเกินไม่ใช่ชิมดู แต่พอรู้รสและบริโภคอาหาร
ไม่ตรงกับเวลาที่เคย
เช่นตอนเช้าเคยบริโภคอาหาร
ไม่ได้บริโภค ปล่อยให้ล่วงเลยไปจนเวลา บ่าย
การที่บริโภคอาหารโดยอาการต่างๆ
นี้ ย่อมทำให้
ปกติธาตุในกายแปรได้ โรคที่มีขึ้นในกายจัดได้ชื่อว่า
โรคเกิดเพราะอาหาร
2. อิริยาบถ มนุษย์ทั้งหลายควรใช้อิริยาบถ
ให้ผลัดเปลี่ยนกันตามปกติ 4 อย่างคือ นั่ง นอน ยืน เดิน
ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งมากไป ไม่ใช้ร่างกายเส้นเอ็น
ให้ผลัดเปลี่ยนไปบ้าง
เส้นเอ็นก็จะแปรไปจากปกติ
ทำให้เกิดโรคได้ นี่จัดได้ชื่อว่า โรคเกิดเพราะอิริยาบถ
3.
ความร้อน และความเย็น บุคคลที่เคยอยู่ใน
ที่ร้อน ไปถูกความเย็นมากไปก็ดี หรือเคยอยู่ในที่เย็น
ไปถูกความร้อนมากไปก็ดี เช่น
เคยอยู่ในร่มต้องออก
ไปกลางแจ้ง เวลาแดดร้อนจัด ไม่มีอะไรกำบัง หรือ
ไม่มีพอที่จะกำบังได้ก็ดี เคยอยู่ในที่เปิดเผย ต้องไปอยู่
ในที่อับอบอ้าวร้อนมากไปก็ดี หรือผู้ที่ต้องไปถูกฝน
ถูกน้ำค้าง และลงไปแช่อยู่ในน้ำนานๆ ก็ดี เหตุเหล่านี้
ย่อมทำให้เกิดโรคได้ นี่จัดได้ชื่อว่า โรคเกิดเพราะ
ความร้อน และเย็น
4.
อดนอน
อดข้าว อดน้ำ เมื่อถึงเวลาไม่นอน
ต้องทรมานอยู่จนเกินกว่าเวลาอันสมควร
หรือถึงเวลากินข้าวแต่ไม่ได้กินโดยที่มีเหตุจำเป็น
ต้องอดอยากกินน้ำไม่ได้กินต้องอดต้องทนไป
ย่อมเป็นเหตุทำให้เกิดโรคได้ นี่จัดได้ชื่อว่า
โรคเกิดเพราะอดนอน อดข้าว
อดน้ำ
5. กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ ตามธรรมดาอุจจาระ
ปัสสาวะ เมื่อถึงคราวจะตก
แต่กลั้นไว้ไม่ให้ตก
ปล่อยให้ล่วงเลยเวลาไปมากกว่าสมควร ก็แปรปรวน
ไปจากความเป็นปกติ ย่อมทำให้ธาตุในกายแปรปรวน
ไปด้วย
เป็นหนทางทำให้เกิดโรคได้ นี่จัดได้ชื่อว่า
โรคเกิดเพราะกลั้น อุจจาระ ปัสสาวะ
6.
ทำการเกินกำลังกาย คือ ทำการยกแบกหาม
หิ้วฉุดลากของที่หนักเกินกว่ากำลังของตนจะทำก็ดี
หรือวิ่งกระโดดตัวออกกำลังแรงมากเกินไปก็ดี
ย่อมทำให้อวัยวะน้อยใหญ่ไหวเคลื่อนผิดปกติ
หรือต้องคิดต้องทำงานต่างๆ
โดยที่ต้องเหน็ดเหนื่อย
เพราะต้องใช้ความคิด และกำลังกายมากเกินกว่าปกติ
ก็ดี
เหล่านี้ชื่อว่าทำการเกินกำลังกาย ย่อมทำให้เกิดโรค
ได้นี่ จัดได้ชื่อว่า
โรคเกิดเพราะทำการเกินกำลัง
7. ความเศร้าโศกเสียใจ บุคคลที่มีความทุกข์ร้อน
มาถึงตัวก็เศร้าโศกเสียใจจนถึงแก่ลืมความสุขสำราญ
ที่เคยมีเคยเป็นมาแต่ก่อนเสีย
ที่สุดอาหารที่บริโภค
เคยมีรสก็เสื่อมถอยหรือละเลยเสียก็มี เมือเป็นเช่นนี้
น้ำเลี้ยงหัวใจที่ผ่องใสก็ขุ่นมัวเหือดแห้งไป ก็ย่อมจะ
ให้เกิดมีโรค ขึ้นในกายได้
นี่ชื่อว่าโรคเกิดเพราะ
ความเศร้าโศกเสียใจ
8.
โทสะ บุคคลที่มีโทสะอยู่เสมอ ไม่มีสติ
ที่จะยึดหน่วงไว้ได้ย่อมทำกิริยาฝ่าฝืนร่างกาย
ละทิ้งความบริหารร่างกายของตนเสีย จนถึงทอดทิ้ง
ร่างกาย หรือทุบตีตัวเอง
เช่นนี้ก็ทำให้เกิดโรคได้
นี่ชื่อว่าโรคเกิดเพราะโทสะ
2. รู้จักชื่อของโรค
หมอจะต้องรู้จักชื่อของโรคว่า
คนไข้ที่มีอาการ
ป่วยนั้น หมอทั้งหลายได้สมมุติชื่อไว้ว่า โรคนี้ๆ
มีโรคหวัด โรคไอ
โรคไข้ โรคลม เป็นต้น
และชื่อของโรคต่างๆ อีกนานาประการ
ที่มีแจ้งอยู่
ในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์ทั้งปวง ที่ท่านได้กำหนดบัญญัติ
ตั้งแต่งชื่อของโรคไว้แล้ว ในความจริง ชื่อของโรคนี้
ก็คือ
หมอผู้รักษาพยาบาลโรคนั้นเองให้ชื่อไว้ เพื่อที่จะ
ให้กำหนดรู้กันได้ว่า อาการอย่างนั้นๆ
เป็นชื่อโรคนี้ๆ
เป็นชื่อโรคนั้นๆ ชื่อของโรคทั้งปวง
จะมีชื่อได้
ก็ด้วยสมมุตินั่นเอง
แต่ในคัมภีร์โรคนิทานนั้น
ท่านมิได้กล่าวชื่อโรค
เลยว่าชื่ออะไร ท่านกล่าวแต่ชื่อของธาตุว่า
ธาตุนั้น
ชื่อนั้นพิการ หรือแตกไปแต่ละอย่างแต่ละสิ่ง
จึงมีอาการ และประเภทต่างๆ
ให้มนุษย์ได้ความป่วยเจ็บ
เพราะฉะนั้น ความป่วยเจ็บนี่ใช่อื่นไกล คือ ธาตุทั้ง 4
ซึ่งได้จำแนกออกเป็น ธาตุดิน 20 ธาตุน้ำ 12 ธาตุลม 6
ธาตุไฟ 4 รวมเป็น 42 อย่าง
ซึ่งได้จำแนกไว้ใน
สมุฏฐานแล้วนั้นเอง เมื่อพิการหรือแตกไป
จึงทำให้มนุษย์มีความป่วยด้วยเหตุนี้
ถ้าจะเรียกชื่อของโรคให้ตรงกับความที่เป็น
จริงแล้ว
ก็ต้องเรียกชื่อของธาตุ 42 อย่าง
นั้นมาเป็นชื่อของโรคว่า เป็นโรคเกศาพิการ
โรคทันตาพิการ โรคเสมหะพิการ โรคโลหิตพิการ
ดังนี้เพราะคำที่ว่า โรคนั้นก็คือ
ธาตุพิการ ถ้าจะเรียก
ชื่อของโรคให้รวบรัดแล้ว ก็คงมีชื่อยู่เพียง 5 ชื่อ
ตามฐานที่ตั้งของโรค ในเบญจอินทรีย์นี้ คือ
จักขุโรโค โสตโรโค ฆานโรโค ชิวหาโรโค
กายโรโค
1) จักขุโรโค คือโรคซึ่งเป็นขึ้นที่ตา
สามัญชนสมมุติชื่อว่า เป็นตาแดง ตาแฉะ
เป็นตาริดสีดวง
เป็นต้น
2) โสตโรโค คือโรคซึ่งเกิดขึ้นที่หู
สามัญชนสมมุติชื่อว่า เป็นหูหนวก เป็นหูตึง
เป็นฝีในหู เป็นต้น
3) ฆานโรโค คือโรคซึ่งเป็นขึ้นจมูก
สามัญชนสมมุติชื่อว่า เป็นริดสีดวงจมูก เป็นต้น
4) ชิวหาโรโค คือโรคซึ่งเป็นขึ้นที่ลิ้น
สามัญชนสมมุติชื่อว่า เป็นลิ้นแตก เป็นลิ้นเปื่อย เป็นต้น
5) กายโรโค คือโรคซึ่งเป็นขึ้นที่ตัวโรค
แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. พหิทธโรโค เป็นโรคที่เกิดขึ้นภายนอกกาย
สามัญชนสมมุติชื่อว่าเป็นเกลื้อน เป็นกลาก เป็นมะเร็ง
เป็นคุดทะราด เป็นเรื้อน
เป็นกุฏฐัง หรือเป็นแผลต่างๆ
ปรากฏออกมาภายนอก กาย
2. อันตโรโค คือโรคเป็นขึ้นภายในกาย
สามัญชนสมมุติว่า
เป็นไข้ เป็นลม เป็นดาน เป็นเถา
เป็นจุกเสียด เป็นแน่นเฟ้อ เป็นบิด เป็นป่วง
ฝีในท้อง
รวมที่ตั้งของโรค 5 ฐานดังนี้
เพราะโรคทั้งปวง
ตั้งขึ้นได้ก็ต้องอาศัยในเบญจอินทรีย์ ทั้ง 5
เป็นที่ตั้งขึ้นได้
จึงมีนามสมมุติเมื่อภายหลัง
หมอจึงเรียกชื่อของโรคนั้นตามความที่สมมุติกันมา
จึงได้จัดว่า นามโรค คือ ชื่อของความไข้เจ็บทั้งปวง
เพราะเป็นชื่อสมมุติ
ชื่อของโรคทั้งปวงนั้น
จะถือเอาชื่อที่เรียกกันคำเดียว เป็นแน่นักไม่ได้
จะเรียกชื่อต่างๆ กันบ้าง แล้วแต่หมู่บ้าน และประเทศ
เช่น
โรคมีอาการเช่นเดียวกัน แต่ชาวเหนือเรียกชื่อ
อีกอย่างหนึ่งชาวใต้เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่ง
ในคัมภีร์
เรียกชื่ออย่างหนึ่ง แต่เป็นโรคอย่างเดียวกันนั่นเอง
ข้อนี้ไม่ต้องคิดแก้ไขอะไร ในเรื่องชื่อโรค เป็นหน้าที่
ของหมอที่จะสำเหนียกเรียกอนุโลมตามสมมุติ
ได้ในเวลาที่รักษาใช้ในหมู่ชนนั้นๆ
อนึ่ง
ขอแนะนำ ให้ผู้ที่จะศึกษาวิชาหมอ
ให้ฟังกำหนดรู้ลักษณะ และอาการต่างๆ
ในประเภท ไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้กาฬทั้งปวง
ที่เรียกกันมาแต่โบราณว่า ไข้ตักศิลา
บัดนี้เรียกว่า
กาฬโรค ให้หมอพึงได้พิจารณาดู และกำหนดไว้
ให้แม่นยำ เพราะไข้เหนือ
ไข้พิษ ไข้กาฬ เหล่านี้
เป็นไข้อันสำคัญ
3. รู้จักยารักษาโรค
หมอจะต้องรู้สรรพสิ่งต่างๆ
ซึ่งจะได้เอามาปรุง
เป็นยาแก้ไขโรค การที่จะรู้จักยานั้น ต้องรู้จัก 4 ประการ
คือ
รู้จักตัวยา รู้จักสรรพคุณยา รู้จักเครื่องยา ทีมีชื่อ
ต่างกัน
รวมเรียกเป็นชื่อเดียว ( พิกัดยา) รู้จักการปรุงยา
ที่ประสมใช้ตามวิธีต่างๆ
1) รู้จักตัวยา ด้วยลักษณะ 5
ประการ คือ
รู้จักรูป รู้จักสี รู้จักกลิ่น รู้จักรส และสรรพคุณ
และรู้จักชื่อ ในเภสัชวัตถุ 3 จำพวก คือ พืชวัตถุ
(พรรณไม้ พรรณหญ้า เครือเถา)
สัตว์วัตถุ
(เครื่องอวัยวะของสัตว์) ธาตุวัตถุ (แร่ธาตุต่างๆ)
1. พรรณไม้ ให้รู้จักว่า ไม้อย่างนี้ ดอก เกสร ผล
เมล็ด
กะพี้ ยาง แก่น ราก มีรูปอย่างนั้น มีกลิ่นอย่างนั้น
มีสีอย่างนั้น มีรสอย่างนั้น
ชื่อว่าอย่างนั่น พรรณหญ้า
และเครือเถาก็ให้รู้อย่างเดียวกัน
2. ส่วนเครื่องอวัยวะของสัตว์ ก็ให้รู้ว่า
เป็น ขน
หนัง เขา นอ งา เขี้ยว ฟัน กราม กีบ กระดูก ดี
มีลักษณะ รูป สี กลิ่น รส
ชื่อ อย่างนั้นๆ
เป็นกระดูกสัตว์อย่างนี้ๆ เป็นเขาสัตว์อย่างนั้นๆ เป็นต้น
3. ส่วนแร่ธาตุต่างๆ ก็ให้รู้จักลักษณะ รูป
สี กลิ่น
รส และชื่อ เช่น การบูร ดินประสิว กำมะถัน จุนสี
เหล่านี้ ต่างก็มีรูป รส
กลิ่น เป็นอย่างหนึ่งๆ
การที่จะรู้จักตัวยาว่า
สิ่งอันใดมีชื่อ รูป สี กลิ่น รส
อย่างไรนั้น ต้องรู้จักด้วยการดูของจริง
ที่มีอยู่เป็น
ตัวอย่างในโรงเรียนก็ดี ต้นไม้ซึ่งมีอยู่ในส่วนยา
หรือที่อื่นๆ ซึ่งเป็นของสดก็ดี จะต้องเรียนให้รู้ของจริง
ทั้งแห้ง ทั้งสด และจดจำไว้ให้มีความรู้ความชำนาญ
เป็นต้นว่า พรรณไม้อย่างหนึ่งในประเทศนี้เรียกชื่อว่า
อย่างนี้ ครั้นพบในประเทศอื่นเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่ง
เช่นนี้
เป็นหนทางที่ผู้ศึกษา จะต้องค้นคว้า
หาความรู้ความชำนาญ ให้ตนเอง
จึงจะมีความรู้ยิ่งขึ้นไป
2) รู้จักสรรพคุณยา ท่านกล่าวเอารสยา
3 รส
ขึ้นตั้งเป็นประธาน ( ยารสประธาน) ยังมีทางจำแนก
ตามรสเป็น 9 รส
และจัดตามธาตุทั้ง 4
ที่เกิดธาตุพิการ ขึ้นดังนี้
(1) รสประธาน 3 รส
1. ยารสร้อน ได้แก่ยาที่เข้าเบญจกูล
ตรีกฎุก
เช่น หัสคุณ ขิง ข่า ปรุงเป็นยา เช่น ยาเหลืองทั้งปวง
สำหรับแก้ทางวาโยธาตุ
เป็นต้น
2.
ยารสเย็น ได้แก่ยาที่เข้าใบไม้ ( ที่ไม่ร้อน)
เกสรดอกไม้ สัตตเขา
เนาวเขี้ยว และของที่เผาเป็นถ่าน
แล้วปรุงยา เช่นยา มหานิล ยามหากาฬ
สำหรับแก้ทาง
เตโชธาตุ เป็นต้น
3. ยารสสุขุม ได้แก่ยาที่เข้าโกฐ เทียน
กฤษณา กระลำพัก ชะลูด อบเชย ขอนดอก
แก่นจันทร์เทศ เป็นต้น ปรุงเป็นยา เช่นยาหอมทั้งปวง
สำหรับแก้ทางโลหิต เป็นต้น
(2) รสยา 9 รส
1. รสฝาด สำหรับสมาน
2.
รสหวาน สำหรับซึมซาบไปตามเนื้อ
3. รสเมาเบื่อ แก้พิษ
4. รสขม แก้ทางโลหิต และดี
5. รสเผ็ดร้อน แก้ลม
6. รสมัน แก้เส้นเอ็น
7. รสหอมเย็น ทำให้ชื่นใจ
8. รสเค็ม ซาบไปตามผิวหนัง
9. รสเปรี้ยว แก้เสมหะ
ตามตำราเป็น 9 รส ฉะนี้ แต่ควรเติมรสจืด
อีกรสหนึ่ง สำหรับแก้ทางเสมหะด้วย
------------------------------------
(3) ธาตุทั้ง4 พิการ คือว่าธาตุใดพิการ
ใช้ยารสใด แก้ถูกโรค ดังนี้
1. โรคที่เกิดขึ้นเพื่อปถวีพิการ
ชอบยา
รสฝาด รสเค็ม รสหวาน รสมัน
2. โรคที่เกิดขึ้นเพื่ออาโปธาตุพิการ
ชอบยา
รสขม รสเปรี้ยว รสเมาเบื่อ
3.
โรคที่เกิดขึ้นเพื่อเตโชธาตุพิการ
ชอบยา รสจืด รสเย็น
4. โรคที่เกิดขึ้นเพื่อวาโยธาตุพิการ
ชอบยา
รสสุขุม รสเผ็ดร้อน
การที่จะสอนสรรพคุณยาทั้งปวงเหล่านี้
ให้พิสดารละเอียดไปนั้นเป็นการยาก
จึงนำมากล่าวไว้พอเป็นที่สังเกต
ผู้ศึกษาจะต้องเรียนจากคัมภีร์ใหญ่
เช่น คัมภีร์สรรพคุณ เป็นต้น
จึงจะได้ความรู้กว้างขวางต่อไป
------------------------------------
3) รู้จักเครื่องยาที่มีชื่อต่างกัน
รวมเรียกเป็นชื่อเดียว
ยาเหล่านี้ ท่านจัดไว้เป็นหมวดๆ ตามพิกัด
จะนำมากล่าวไว้พอเป็นตัวอย่างดังนี้
(1) หมวดของ 2 สิ่ง
1. ทเวคันธา คือ
1) รากบุนนาค
2) รากมะทราง
1) รากบุนนาค
2) รากมะทราง
2. ทเวตรีคันธา ของ 2 สิ่งๆ ละ 3 อย่าง
1.1 ดอกบุนนาค
1.2 แก่นบุนนาค
1.3 รากบุนนาค
2.1 ดอกมะทราง
2.2 แก่นมะทราง
2.3 รากมะทราง
1.1 ดอกบุนนาค
1.2 แก่นบุนนาค
1.3 รากบุนนาค
2.1 ดอกมะทราง
2.2 แก่นมะทราง
2.3 รากมะทราง
(2) หมวดของ 3 สิ่ง
1. ตรีสุคนธ์ คือ
1) รากอบเชยเทศ
2) รากอบเชยไทย
(ใบกระวาน ตำราเภสัชกรรม)
3) รากพิมเสนต้น
1) รากอบเชยเทศ
(ใบกระวาน ตำราเภสัชกรรม)
2. ตรีผลา คือ
1) ผลสมอไทย
2) ผลสมอพิเภก
3) ผลมะขามป้อม
1) ผลสมอไทย
2) ผลสมอพิเภก
3. ตรีกฎุก คือ
1) เมล็ดพริกไทย
2) ดอกดีปลี
3) เหง้าขิงแห้ง
1) เมล็ดพริกไทย
4. ตรีสาร คือ
1) รากช้าพลู
2) รากเจตมูลเพลิง
3) เถาสะค้าน
5. ตรีธารทิพย์ คือ
1) รากไทรย้อย
2) รากราชพฤกษ์
3) รากมะขามเทศ
6. ตรีสุรผล คือ
1) เปลือกสมุลแว้ง
2) เนื้อไม้ (กฤษณา)
3) แก่นเทพทาโร
2) เนื้อไม้ (กฤษณา)
7. ตรีผลธาตุ คือ
1) รากกะทือ
(เหง้ากะทือ ตำราเภสัชกรรม)
2) รากไพล
(เหง้าไพล ตำราเภสัชกรรม)
3) รากตะไคร้หอม
(หัวตะไคร้หอม ตำราเภสัชกรรม)
(เหง้ากะทือ ตำราเภสัชกรรม)
(เหง้าไพล ตำราเภสัชกรรม)
(หัวตะไคร้หอม ตำราเภสัชกรรม)
8. ตรีสันนิบาตผล คือ
1) ดีปลี
2) รากกะเพรา
3) รากพริกไทย
1) ดีปลี
9. ตรีคันธวาต คือ
1) ผลเร็วใหญ่
2) ผลจันทน์
3) ดอกกานพลู
10. ตรีกาฬพิษ คือ
1) รากกระชาย
(หัวกระชาย ตำราเภสัชกรรม)
2) รากข่า
(เหง้าข่า ตำราเภสัชกรรม)
3) รากกะเพรา
(รากกะเพราแดง ตำราเภสัชกรรม)
(หัวกระชาย ตำราเภสัชกรรม)
2) รากข่า
(เหง้าข่า ตำราเภสัชกรรม)
(รากกะเพราแดง ตำราเภสัชกรรม)
11. ตรีทิพยรส คือ
1) โกฐกระดูก
2) กระลำพัก
3) ขอนดอก
1) โกฐกระดูก
2) กระลำพัก
3) ขอนดอก
12. ตรีญาณรส คือ
1) ไส้หมาก
2) รากสะเดา
3) เถาบอระเพ็ด
2) รากสะเดา
3) เถาบอระเพ็ด
13. ตรีเพชรสมคุณ คือ
1) ว่านหางจระเข้
(รากว่านหางจระเข้ ตำราเภสัชกรรม)
(รากว่านหางจระเข้ ตำราเภสัชกรรม)
14. ตรีฉินทลากา คือ
1) โกฐน้ำเต้า
2) สมออัพพยา
(ลูกสมอไทย ตำราเภสัชกรรม)
3) รงทอง
(ลูกสมอไทย ตำราเภสัชกรรม)
15. ตรีเกสรมาศ คือ
1) เปลือกฝิ่นต้น
2) เกสรบัวหลวง
3) ผลมะตูมอ่อน
16. ตรีอมฤต คือ
1) รากมะกอก
2) รากกล้วยตีบ
3) รากกระดอม
1) รากมะกอก
17. ตรีสัตกุลา คือ
1) เทียนดำ
2) ผลผักชีลา
3) เหง้าขิงสด
1) เทียนดำ
18. ตรีทุรวสา คือ
1) เมล็ดโหระพาเทศ
(เมล็ดโหระพา ตำราเภสัชกรรม)
2) ผลกระวาน
3) ผลราชดัด
(เมล็ดโหระพา ตำราเภสัชกรรม)
19. ตรีเสมหะผล คือ
1) ผลช้าพลู
2) รากดีปลี
1) ผลช้าพลู
2) รากดีปลี
20. ตรีปิตตะผล คือ
1) เจตมูลเพลิง
(รากเจตมูลเพลิง ตำราเภสัชกรรม)
2) รากกะเพรา
3) ผักแพวแดง
(รากเจตมูลเพลิง ตำราเภสัชกรรม)
2) รากกะเพรา
21. ตรีวาตะผล คือ
1) ผลสะค้าน
2) รากข่า
(เหง้าข่า ตำราเภสัชกรรม)
3) รากพริกไทย
(เหง้าข่า ตำราเภสัชกรรม)
หมายเหตุ พวกยาตรีพิกัด
คือ
พิกัดยาหมวดของ 3 สิ่งนี้ ผู้พิมพ์ตรวจพบว่า
ในหนังสือ เวชศึกษา
กับในพจนานุกรม
ฉบับบัณฑิตยสถาน มีตัวยาต่างกันอยู่ 2 พิกัด คือ
พิกัดตรีทิพยรส
กับพิกัดตรีสุคนธ์ จึงได้คัดเอาพวก
ตรีพิกัด จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
มาพิมพ์ไว้ให้ท่านผู้รู้ และนักศึกษาพิจารณา
ดังต่อไปนี้ คือ
1. ตรีกฎุุก ของเผ็ดร้อน สามชนิด คือ
1) พริกไทย
2) ดีปลี
3) ขิงแห้ง
1) พริกไทย
2) ดีปลี
3) ขิงแห้ง
2. ตรีกาฬพิษ พิษกาฬสามอย่าง คือ
1) กระชาย
2) รากข่า
(เหง้าข่า ตำราเภสัชกรรม)
3) รากกะเพรา
1) กระชาย
2) รากข่า (เหง้าข่า ตำราเภสัชกรรม)
3) รากกะเพรา
3. ตรีเกสรมาศ เกสรทองสามอย่าง คือ
1) ผลมะตูมอ่อน
2) เปลือกฝิ่นต้น
3) เกสรบัวหลวง
1) ผลมะตูมอ่อน
2) เปลือกฝิ่นต้น
3) เกสรบัวหลวง
4. ตรีคันธวาต กลิ่นแก้ลมสามอย่าง
คือ
1) ผลเร่วใหญ่
2) ผลจันน์เทศ
3) กานพลู
1) ผลเร่วใหญ่
2) ผลจันน์เทศ
3) กานพลู
5. ตรีฉินทลามกา ของแก้ลามกสามอย่าง คือ
1) โกฐน้ำเต้า
2) สมอไทย
3) รงทอง
1) โกฐน้ำเต้า
2) สมอไทย
3) รงทอง
6. ตรีชาติ วัตถุสาม คือ
1) ดอกจันทน์
2) กระวาน
3) อบเชย
2) กระวาน
3) อบเชย
7. ตรีญาณรส รสสำหรับผู้รู้สามอย่าง คือ
1) ไส้หมาก
2) รากสะเดา
3) เถาบอระเพ็ด
1) ไส้หมาก
2) รากสะเดา
3) เถาบอระเพ็ด
8. ตรีทิพยรส รสทิพย์สามอย่าง คือ
1) โกฐกระดูก
2) เนื้อไม้
3) อบเชยไทย
1) โกฐกระดูก
2) เนื้อไม้
3) อบเชยไทย
9. ตรีทุราวะสา ของแก้มันเหลวเสียสามอย่าง คือ
1) เมล็ดโหระพา
2) ผลกระวาน
3) ผลราชดัด
1) เมล็ดโหระพา
2) ผลกระวาน
3) ผลราชดัด
10. ตรีทเวตรีคันธา กลิ่นสามสองสาม
(ศัพท์คัมภีร์แพทย์) คือ
1) แก่น ดอก ราก ของมะซาง
2) แก่น ดอก ราก ของบุนนาค
(บางแห่งเขียน ทเวติคันธา, ทเวตรีคันธา
ก็มี)
1) แก่น ดอก ราก ของมะซาง
2) แก่น ดอก ราก ของบุนนาค
(บางแห่งเขียน ทเวติคันธา, ทเวตรีคันธา ก็มี)
11. ตรีธารทิพย์ ของทิพย์ที่ทนสามอย่าง
คือ
1) รากไทรย้อย
2) รากราชพฤกษ์
3) รากมะขามเทศ
1) รากไทรย้อย
2) รากราชพฤกษ์
3) รากมะขามเทศ
12. ตรีปิตตะผล ผลแก้ดีสามอย่าง คือ
1) เจตมูลเพลิง
2) ผักแพวแดง
3) รากกะเพรา
1) เจตมูลเพลิง
2) ผักแพวแดง
3) รากกะเพรา
13. ตรีผลธาตุ ผลแก้ธาตุสามอย่าง คือ
1) กะทือ 2) ไพล
3) รากตะไคร้
1) กะทือ
2) ไพล
3) รากตะไคร้
14. ตรีผลสมุฏฐาน ที่เกิดแห่งผลสามอย่าง คือ
1) ผลมะตูม
2) ผลยอ
3) ผลผักชีลา
1) ผลมะตูม
3) ผลผักชีลา
15. ตรีผลา ชื่อผลไม้สามอย่าง
ประกอบขึ้นใช้ในตำรา คือ
1) สมอไทย
2) สมอพิเภก
3) มะขามป้อม
1) สมอไทย
2) สมอพิเภก
3) มะขามป้อม
16. ตรีพิษจักร จักรพิษสามอย่าง
คือ
1) กานพลู
2) ผักชีล้อม
3) ผลจันทน์เทศ
1) กานพลู
3) ผลจันทน์เทศ
17. ตรีเพชรสมคุณ คุณเสมอด้วยเพชรสามอย่าง
คือ
1) ว่านหางจระเข้ 2) ฝักราชพฤกษ์
3) รงทอง
1) ว่านหางจระเข้
2) ฝักราชพฤกษ์
3) รงทอง
18. ตรีมธุรส ของมีรสดีสามอย่าง คือ
1) น้ำตาล 2) น้ำผึ้ง
3) น้ำมันเนย
1) น้ำตาล
2) น้ำผึ้ง
3) น้ำมันเนย
19. ตรีวาตผล ผลแก้ลมสามอย่าง คือ
1) ผลสะค้าน 2) รากพริกไทย
3) ข่า
1) ผลสะค้าน
2) รากพริกไทย
3) ข่า
20. ตรีสมอ สมอสามอย่าง คือ
1) สมอไทย 2) สมอพิเภก
3) สมอเทศ
1) สมอไทย
2) สมอพิเภก
3) สมอเทศ
21. ตรีสัตถะกุลา ตระกูลอันสามารถสามอย่าง
คือ
1) เทียนดำ
2) ผักชีลา
3) ขิงสด
1) เทียนดำ
2) ผักชีลา
3) ขิงสด
22. ตรีสันนิปาตะผล ผลแก้สันนิบาตสามอย่าง
คือ
1) ผลดีปลี 2) รากกะเพรา
3) รากพริกไทย
1) ผลดีปลี
2) รากกะเพรา
3) รากพริกไทย
23. ตรีสาร แก่นสามอย่าง คือ
1) แสมสาร
2) แสมทะเล
3) ขี้เหล็ก
1) แสมสาร
2) แสมทะเล
หรืออีกอย่างหนึ่ง แปลว่ารสสามอย่าง
เป็นคำแพทย์ ใช้ในตำรายา คือ
23.1 ตรีสาร รสสามอย่าง คือ
1) เจตมูลเพลิง
2) สะค้าน
3) ช้าพลู
1) เจตมูลเพลิง
2) สะค้าน
3) ช้าพลู
24. ตรีสินธุรส รสน้ำสามอย่าง คือ
1) รากมะตูม
2) เทียนขาว
3) น้ำตาลกรวด
1) รากมะตูม
2) เทียนขาว
3) น้ำตาลกรวด
25. ตรีสุคนธ์ กลิ่นหอมสามอย่าง คือ
1) ใบกระวาน
2) อบเชยเทศ
3) รากพิมเสน
1) ใบกระวาน
2) อบเชยเทศ
3) รากพิมเสน
26. ตรีสุรผล ยามีรสกล้าสามอย่าง คือ
1) สมุลแว้ง
2) เนื้อไม้
3) เทพทาโร
1) สมุลแว้ง
2) เนื้อไม้
3) เทพทาโร
27. ตรีเสมหะผล ผลแก้เสมหะสามอย่าง คือ
1) ผลช้าพลู
2) รากดีปลี
3) รากมะกล่ำ
1) ผลช้าพลู
2) รากดีปลี
3) รากมะกล่ำ
28. ตรีอมฤต ของไม่ตายสามอย่าง คือ
1) รากกล้วยตีบ
2) รากกระดอม
3) มะกอก
1) รากกล้วยตีบ
2) รากกระดอม
29. ตรีอากาศผล ผลแก้อากาศธาตุสามอย่าง คือ
1) ขิง
2) กระลำพัก
3) อบเชยเทศ
1) ขิง
2) กระลำพัก
3) อบเชยเทศ
ที่คัดจาก
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
มีเพียงเท่านี้
------------------------------------
(3) หมวดของ 4 สิ่ง
1. จตุกาลธาตุ คือ
1) ว่านน้ำ
(หัวว่านน้ำ ตำราเภสัชกรรม)
2) รากเจตมูลเพลิง
3) รากแคแตร
4) รากนมสวรรค์
1) ว่านน้ำ (หัวว่านน้ำ ตำราเภสัชกรรม)
2) รากเจตมูลเพลิง
3) รากแคแตร
4) รากนมสวรรค์
2. จตุทิพคันธา คือ
1) รากชะเอมเทศ
2) รากมะกล่ำเครือ
3) ดอกพิกุล
4) เหง้าขิงแครง
1) รากชะเอมเทศ
2) รากมะกล่ำเครือ
3) ดอกพิกุล
4) เหง้าขิงแครง
3. จตุผลาธิกะ คือ
1) ผลสมอไทย
2) ผลสมอพิเภก
3) ผลมะขามป้อม
4) ผลสมอเทศ
1) ผลสมอไทย
2) ผลสมอพิเภก
3) ผลมะขามป้อม
4. จตุวาตะผล คือ
1) รากขิง
(เหง้าขิง ตำราเภสัชกรรม)
2) กระลำพัก
3) อบเชยเทศ
4) โกฐหัวบัว
1) รากขิง (เหง้าขิง ตำราเภสัชกรรม)
2) กระลำพัก
3) อบเชยเทศ
4) โกฐหัวบัว
------------------------------------
(4) หมวดของ 5 สิ่ง
1) เบญจกูล คือ
1) รากช้าพลู
2) เถาสะค้าน
3) ดอกดีปลี
4) เหง้าขิง
(เหง้าขิงแห้ง ตำราเภสัชกรรม)
5) รากเจตมูลเพลิงแดง
(รากเจตมูลเพลิง ตำราเภสัชกรรม)
2) เบญจผลธาตุ คือ
1) หัวกกลังกา
2) หัวแห้วหมู
3) หัวหญ้าชันกาด
4) หัวเปราะ
5) หัวเต่าเกียด
3) เบญจมูลน้อย คือ
1) หญ้าเกล็ดหอยใหญ่
2) หญ้าเกล้ดหอยน้อย
3) รากละหุ่งแดง
4) รากมะเขือขื่น
5) รากมะอึก
4) เบญจมูลใหญ่ คือ
1) รากมะตูม
2) รากลำใย
3) รากเพกา
4) รากแครแตร
5) รากคัดลิ้น
5) ทศมูลใหญ่ คือ เอา
1) เบญจมูลน้อย
2) เบญจมูลใหญ่
รวมกันเข้า
6) เบญจโลกวิเชียร คือ
1) รากมะเดื่ออุทุมพร
2) รากคนทา
3) รากท้าวยายม่อม
4) รากย่านาง
5) รากชิงชี่
7) เบญจโลธิกะ คือ
1) จันทน์แดง
2) จันทน์ขาว
3) จันทน์ชะมด
4) เนระพูสี
5) มหาสดำ
----------------------------------
(5) หมวดของ 7 สิ่ง
1) สัตตะเขา คือ
1) เขาควาย
2) เขาเลียงผา
3) เขากวาง
4) เขาวัว
5) เขากระทิง
6) เขาแพะ
7) เขาแกะ
2) สัตตะปรเมหะ คือ
1) ต้นก้นปิด
2) ตำแยตัวผู้
3) ตำแยตัวเมีย
4) ผลกระวาน
5) โกฐกระดูก
6) ผลรักเทศ
7) ตรีผลาวะสัง
------------------------------------
(6) หมวดของ 9 สิ่ง
1. เนาวเขี้ยว คือ
1) เขี้ยวสุกร
2)
เขี้ยวหมี
3)
เขี้ยวเสือ
4) เขี้ยวแรด
5)
เขี้ยวช้าง (งา)
6) เขี้ยวสุนัขป่า
7) เขี้ยวปลาพะยูน
8) เขี้ยวจระเข้
9) เขี้ยวเลียงผา
------------------------------------
(7) หมวดของ
10 สิ่ง
1.
ทศกุลาผล คือ
1) ผลเร่วทั้ง 2 (คือเร่วน้อย เร่วใหญ่)
2) ผลผักชีทั้ง 2 (ผักชีลา
ผักชีล้อม)
3) ชะเอมทั้ง 2 (ชะเอมเทศ ชะเอมไทย)
4) อำพันทั้ง 2 (อำพันทอง
อำพันขี้ปลา)
(ลำพันแดง ลำพันขาว ตำราเภสัชกรรม)
5) อบเชยทั้ง 2 ( อบเชยเทศ
อบเชยไทย)
การเรียกชื่อตามพิกัด
นอกจากการจัดหมวดตามพิกัดที่กล่าวไว้ใน
หัวข้อหมวดของ 2 สิ่ง ถึงหมวดของ 10 สิ่ง
ข้างต้นแล้ว ยังมีการเรียกชื่อยาตามพิกัด ดังนี้
1.
เบญจโลหะ คือ
1) รากทองกวาว
2) รากทองหลางหนาม
3) รากทองหลางใบมน
4) รากทองพันชั่ง
5) รากทองโหลง
2. สัตตะโลหะ ใช้จำนวนตัวยา
5 อย่าง
ของเบญจโลหะ แล้วเพิ่มอีก 2 คือ
6) รากฟักทอง
7) รากต้นใบทอง
3. เนาวโลหะ ใช้จำนวนตัวยา 7
อย่าง
ของสัตตะโลหะ แล้วเพิ่มอีก 2 คือ
8) รากต้นทองเครือ
9) รากจำปาทอง
4. เบญจโกฐ คือ
1) โกฐหัวบัว
2) โกฐสอ
3) โกฐเขมา
4) โกฐเชียง
5) โกฐจุฬาลัมพา
5. สัตตะโกฐ คือจำนวนตัวยา
5 อย่าง
ของเบญจโกฐเพิ่มอีก 2 คือ
6) โกฐกระดูก
7) โกฐก้านพร้าว
6. เนาวโกฐ ให้ใช้จำนวนตัวยา
7 อย่าง
ของสัตตะโกฐแล้วเพิ่มอีก 2 คือ
8) โกฐพุงปลา
9) โกฐชฎามังสี
7. โกฐพิเศษ 3 คือ
1) โกฐกะกลิ้ง
2) โกฐกักกรา
3) โกฐน้ำเต้า
8. เทียนทั้ง 5 คือ
1) เทียนดำ
2) เทียนแดง
3) เทียนขาว
4) เทียนข้าวเปลือก
5) เทียนตาตั๊กแตน
9. เทียนทั้ง 7 ใช้จำนวนตัวยา
7 อย่าง
ของเทียนทั้ง 5 แล้วเพิ่มอีก 2 คือ
6) เทียนเยาวพาณี
7) เทียนสัตตบุษย์
10. เทียนทั้ง 9 ใช้จำนวนตัวยา
7 อย่าง
ของเทียนทั้ง 7 แล้วเพิ่ม อีก 2 คือ
8) เทียนตากบ
9) เทียนเกล็ดหอย
11. เทียนพิเศษ 3 คือ
1) เทียนหลอด
2) เทียนขม
3) เทียนแกลบ
12. บัวน้ำทั้ง 5 คือ
1) สัตตบุษย์
2) สัตตบรรณ
3) ลินจง
4) ลงกลนี
8) นิลุบล
13. บัวพิเศษ (เฉพาะ
6 อย่าง) คือ
บัวหลวงทั้ง 2 คือ
1) บัวหลวงขาว
2) บัวหลวงแดง
สัตตบงกชทั้ง 2 คือ
3) สัตตบงกช ขาว
4) สัตตบงกช แดง
5) บัวเผื่อน
6) บัวขม
14.
โหราทั้ง 5 คือ
1) โหราอมฤต
2) โหรามิกสิงคลี
3) โหราเท้าสุนัข
4) โหราบอน
5) โหราเดือยไก่
15. โหราพิเศษ (เฉพาะ
6 อย่าง) คือ
1) โหราผักกูด
2) โหราข้าวเหนียว
3) โหราเขาเนื้อ
4) โหราเขากระบือ
5) โหราใบกลม
6) โหรามหุรา (โหรามังหุรา)
16. เกลือทั้ง 5 คือ
1) เกลือสินเธาว์
2) เกลือพิก
3) เกลือวิก
4) เกลือฝ่อ
5) เกลือสมุทร
วิธีทำเกลือทั้ง 5
1. เกลือสมุทร (เกลือสมุทรี) เอาเกลือทะเล
บดละเอียด กับน้ำมูตรโค อย่างละครึ่งผสมกัน
กวน
3 วัน จนแห้ง จะได้เกลือสมุทร รสเค็มฉุนร้อน
แก้ระส่ำระส่าย ทำให้อาหารงวด เจริญธาตุทั้ง 4
แก้พรรดึก แก้ดีเดือด แก้เสมหะพิการ
บำรุงน้ำเหลือง
2. เกลือสินเธาว์ เอาเกลือทะเลบดละเอียด
กับน้ำนมโค อย่างละครึ่งผสมกัน กวน 3 วัน
จนแห้งจะได้เกลือสินเธาว์ รสเค็มมัน ทำลายพรรดึก
แก้ระส่ำระส่าย สมุฏฐานตรีโทษ แก้นิ่ว
3. เกลือพิก เอาเกลือทะเลบดละเอียด
กับน้ำผึ้ง
อย่างละครึ่ง ผสมกัน กวน 3 วัน จนแห้งจะได้
เกลือพิก รสเค็มหวาน ทำให้เสียงไพเราะ
ชุ่มคอ แก้ไอ
4. เกลือวิก เอาเกลือทะเลบดละเอียด
กับน้ำสุรา
อย่างละครึ่ง ผสมกัน กวน 3 วัน
จนแห้งจะได้
เกลือวิก รสเค็มร้อน แก้อภิญญานธาตุ
แก้โรคในท้อง ไส้พองท้องใหญ่ ทำให้ร่างกายชุ่มชื่น
5. เกลือฟอง (ฝ่อ)
เอาเกลือทะเลบดละเอียด
กับน้ำมันงา / น้ำมันเปรียง อย่างละครึ่ง ผสมกัน
กวน 3 วัน จนแห้งจะได้เกลือฟอง (ฝ่อ) รสเค็มมัน
แก้เสียดท้อง บำรุงไฟธาตุ แก้กุมารโรค
และพรรดึก แก้มูกเลือด
อ้างอิง ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
17. เกลือพิเศษ (เฉพาะ
7 อย่าง) คือ
1) เกลือสุญจาละ
2) เกลือเยาวกาสา
3) เกลือวิธู
4) เกลือด่างคลี
5) เกลือกะตังมูตร
6) เกลือสมุทร
7) เกลือสุวสา
พิกัดเกลือพิเศษทั้ง 7
1. เกลือสมุทร รสเค็ม บำรุงธาตุทั้ง 4
แก้น้ำดีพิการ แก้โรคท้องมาน
2. เกลือสุนจาละ บำรุงน้ำเหลือง
3. เกลือสุวสา รสเค็ม ระงับเสมหะ แก้โรคน้ำเหลืองเสีย
4. เกลือเยาวกาษา บำรุงเสมหะ แก้หืด ไอ
5. เกลือวิธู ช่วยย่อยอาหาร บำรุงน้ำเหลือง
6. เกลือด่างคลี ชำระล้างลำไส้ แกปัสสาวะพิการ
7. เกลือกะตังมูตร รสเค็มกร่อย แก้ลม แก้ปวดท้อง แก้โลหิต เสมหะ แก้ผอมเหลือง
เกลือประสะ รสหวาน แก้พิษกำเดา ผายธาตุ แก้ลมจุกเสียด
ช่วยย่อยอาหาร
อ้างอิง ประมวลสรรพคุณเภสัช ภาค 1
ร.ร. แพทย์แผนโบราณ วัดโพธิ์ ท่าเตียน กทม.
------------------------------------
ชื่อเครื่องยาทั้งปวง
ซึ่งรวมกันเป็นพวกๆเช่นนี้
ใช่ว่าต้องใช้ทั้งหมดทุกครั้ง ให้ยึดถือตามตำรา
ซึ่งจะบอกไว้ว่าอะไรที่ไม่ใช้ตามพิกัดก็มี
ที่วางพิกัดไว้นี้ประสงค์จะเรียกชื่อให้สั้น ไม่ต้อง
จาระนัยให้เปลืองเวลา ในยามที่จะต้องใช้ของมีชื่อ
ข้างต้นสิ่งเดียวรวมกันหลายๆ อย่างเท่านั้น
ชื่อ
และพิกัดเครื่องยานี้ ผู้ที่ศึกษา วิชาแพทย์จำเป็น
จะต้องเรียนรู้ และจำให้ได้ มิฉะนั้นถ้าพบตำราบอก
ให้ใช้อย่างนั้น อย่างนี้เป็นต้นว่า ตรีกฏุก
เบญจโลหะ ก็จะไม่รู้ว่าอะไรบ้าง พิกัดเครื่องยา
เหล่านี้มีมากมายนัก ให้ดูในคัมภีร์สรรพคุณ
และสมุฏฐานวินิจฉัยนั้นต่อไปเถิด
4) รู้จักการปรุงยา 28 วิธี
ที่ประสมใช้ตามวิธีต่างๆ
นั้น หลายวิธี
ท่านได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
1) ยาตำเป็นผงแล้ว ปั้นเป็นลูกกลอน กลืนกิน
2) ยาตำเป็นผงแล้ว บดให้ละเอียด
ละลายน้ำกิน
3) ยาสับเป็นท่อนเป็นชิ้น บรรจุลงในหม้อ
เติมน้ำ ต้มรินแต่น้ำกิน
4) ยาดอง แช่ด้วยน้ำท่าหรือน้ำสุรา
แล้วรินแต่น้ำกิน
5) ยากัดด้วยเหล้า แอลกอฮอล์
และหยดลงในน้ำเติมน้ำกิน
6) ยาเผาให้เป็นถ่าน เอาด่างแช่น้ำไว้
แล้วรินแต่น้ำกิน
7) ยาเผาหรือคั่วไหม้ตำเป็นผงบดให้ละเอียด
ละลายน้ำกระสายต่างๆ กิน
8) ยากลั่นเอาน้ำเหงื่อ เช่นกลั่นสุรา
เอาน้ำเหงื่อกิน
9) ยาประสมแล้ว ห่อผ้าบรรจุลงในกลัก
แล้วเอาไว้ใช้ดม
10) ยาประสมแล้ว ตำเป็นผงกวนให้ละเอียด
ใส่กล้องเป่าทางนาสิก และในคอ
เช่น ยานัตถ์
11) ยาหุงด้วยน้ำมัน เอาน้ำมันใส่กล้อง
เป่าบาดแผล
12) ยาประสมแล้ว ติดไฟใช้ควันใส่กล้อง
เป่าบาดแผล และฐานฝี
13) ยาประสมแล้ว มวนเป็นบุหรี่สูบเอาควัน
เช่น บุหรี่
14) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำอม และบ้วนปาก
15) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำอาบ
16) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำแช่
17) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำชะ
18) ยาประสมแล้ว ต้มเอาไอรม
19) ยาประสมแล้ว
ใช้เป็นยาสุม
20) ยาประสมแล้ว ทา
21) ยาประสมแล้ว ทำเป็นลูกประคบ
22) ยาประสมแล้ว ใช้หนีบ
23) ยาประสมแล้ว ต้มเอาน้ำสวน
24) ยาประสมแล้ว ทำเป็นยาพอก
25) ยาประสมแล้ว ทำเป็นขี้ผึ้งปิดแผล
เรียกว่า ยากวน
26) ยาประสมแล้ว บดเป็นผงอัดเม็ด
27) ยาประสมแล้ว บดเป็นผงบรรจุแคปซูล
ให้มีคำว่า ยาแผนโบราณ
28) ยาประสมแล้ว
บดเป็นผงปั้นเม็ด
แล้วเคลือบน้ำตาล
อนึ่ง
ยาต้องมีชื่อ เพราะจะได้เป็นที่จดจำ
ถ้าไม่มีชื่อไว้ ถึงคราวที่จะต้องการใช้จะสับสน
ต้องการอย่างหนึ่ง จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง
เพราะฉะนั้นในคัมภีร์ ท่านจึงได้วางชื่อยาลงไว้
เป็นชื่อต่างๆ ยาที่ทำแล้วต้องจดชื่อ และวิธีใช้
แก้โรคอะไรให้ชัดเจน ชื่อยาย่อมมีต่างๆ เป็นต้นว่า
ยาเขียวพรหมมาศ ยาหอมเนาวโกฐ ยาหอมอินทจักร์
เป็นต้น ชื่อไม้ ชื่ออวัยวะแห่งสัตว์ ชื่อแร่
ก็ว่าเป็นยา
การนำมาประสมกันนั้น เพื่อจะได้ช่วยกัน
ให้เป็นยามีฤทธิ์พอแก่ที่จะบำบัดโรคได้
จึงต้องประสมกันตามส่วนมาก และน้อย
ถ้าจะใช้แต่สิ่งเดียว ฤทธิ์ยาไม่พอแก่โรค
โรคก็ไม่หาย บางอย่างก็กลายเป็นอาหารไป
เช่น
มะขามป้อมอย่างเดียวกินเข้าไปต้องเข้าใจว่า
เป็นอาหาร เพราะฉะนั้นจึงต้องประสมกันตามที่
ได้อธิบายมาแล้ว ได้ชื่อว่ารู้จักชื่อยาสำหรับแก้โรค
------------------------------------
4. รู้จักว่ายาอย่างใดรักษาโรคใด
ความรู้ในหัวข้อนี้ เป็นความรู้อันสำคัญ
ถ้าไม่เรียนรู้ให้ชำนิชำนาญแล้วจะเป็นแพทย์ที่ดีไม่ได้
เพราะยาที่จะให้คนไข้กินนั้นทุกสิ่งทุกขนานที่ท่าน
ได้วางลงเป็นตำราไว้ ล้วนแต่เป็นยาดีที่ได้เคยรักษาไข้
หายมาแล้วทั้งนั้น ถ้าจะว่าถึงสรรพยาที่แก้โรคหายได้
ก็มีคุณเป็นอนันต์ หมอที่รู้จริง รู้แต่ว่าเป็นยาก็ให้คนไข้กิน
ถ้าผิดพลั้งอาจทำให้คนไข้เสียชีวิต
ท่านจึงได้กล่าวว่า
มีคุณอนันต์ มีโทษก็มหันต์
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะอธิบายว่า ยาอย่างใดจะควร
แก้โรคชนิดใด
จะกล่าวถึงการตรวจไข้ เพราะเป็นหลัก
อันสำคัญของหมอในการที่จะวางยา
และเป็นศิลปะ
อันหนึ่งในวิชาแพทย์ ส่วนที่เมื่อรู้แล้วว่า คนเจ็บ
เป็นโรคเช่นนี้ จะเยียวยาแก้ไขด้วยวิธีใด
ก็เป็นศิลปะอันหนึ่ง และเป็นข้อสำคัญของแพทย์ด้วย
ตำรายาอาจเป็นที่พึ่ง และช่วยแพทย์ได้มาก
แต่การตรวจอาการไข้นั้น ตำราบอกไว้เพียงว่า
อาการไข้มีเช่นนั้นๆ ชื่อว่าเป็นโรคนั้นๆ
แต่จะตรวจให้รู้ว่าคนไข้ที่มาให้รักษานั้น
มีอาการเป็นอย่างนั้นๆ หรืออย่างนี้ๆ
เพื่อรวบรวม เอาเป็นทางวินิจฉัย ให้เป็นการแน่นอน
ว่าเขาเป็นอะไรนั้นอยู่แก่ตาแพทย์ อยู่แก่หัวแพทย์
ที่จะดูแลฟังให้ถึงความจริง
และอยู่แก่ใจแพทย์
ที่จะค้นคว้าซอกแซก ถามหาเหตุผล ประกอบอันให้ได้
ถี่ถ้วนก่อนจะวินิจฉัยตกลงว่า คนไข้คนนี้เจ็บเป็นโรค
อย่างนี้แน่ และมีสิ่งนั้นๆ
เป็นเหตุให้เจ็บ ต้องได้ความจริง
ของอาการป่วย แล้ว
จึงจะทำความเห็นในส่วนที่จะ
แก้ไขด้วยวิธีใด แล้วเอาอะไรเป็นเครื่องแก้อีกชั้นหนึ่ง
จะเห็นได้ว่า ถ้าตรวจอาการไข้ไม่ถี่ถ้วน
วินิจฉัยผิดก็เปรียบเหมือนคนเสียจักษุ
อันเดินไปโดยไม่รู้จัก หนทางทางการที่จะเยียวยา
รักษาต่อไปข้างหน้า ก็จะผิดไปด้วยกันหมด
จึงเห็นว่าชั้นตรวจอาการไข้นี้ เป็นข้อสำคัญ
ของหมอโดยแท้จริง
หมอจะมีฝีมือดีก็เพราะศิลปะ
อันนี้คือความชำนาญที่จะทำนายไข้ถูกมากกว่าผิด
การที่จะตรวจไข้นั้น จะบอกวิธีกันได้แต่พอเป็นหลักไว้
สำหรับคิด
แต่ที่จะมีความเห็นพลิกแพลง ซอกแซกถาม
และพิเคราะห์ให้ได้ละเอียดถี่ถ้วนนั้นต้องแล้วแต่เรื่อง
ของคนไข้ที่จะโยงไป แล้วแต่ความว่องไว เฉียบแหลม
และกลเม็ดวิธีของผู้ตรวจ การวางแบบแผนลงไป
ในตำรานั้นทำได้ยาก ในหัวข้อต่อไปจะอธิบาย
วิธีปฏิบัติ ในหลักการต่างๆ ไว้ดังต่อไปนี้
------------------------------------
(1) การซักประวัติและวิธีตรวจไข้
1) ประวัติของบุคคล
ข้อมูลที่สำคัญซึ่งแพทย์ต้องซักถาม
คนไข้ทุกราย เช่น
1. ชื่ออะไร สำหรับเวชระเบียน
2. อยู่ที่ไหน
ภูมิประเทศที่อยู่ของคนไข้นั้น
เป็นอย่างไร สำหรับประเทศสมุฏฐาน
3. เป็นชาติอะไร
สำหรับรู้ลัทธิ และความประพฤติ
4. เกิดที่ไหน สำหรับประเทศสมฏฐาน
5. อายุเท่าไร สำหรับอายุสมุฏฐาน
6. ทำมาหากินอย่างไร (ควรจะถามตลอดถึง
อาหารการบริโภค ของชนในหมู่นั้นด้วย
สำหรับพิเคราะห์เหตุผลประกอบ)
7. มีครอบครัวอย่างไร (ถามถึงพ่อ แม่ ลูก เมีย ผัว)
สำหรับพิเคราะห์ถึงเผ่าพันธุ์ และหนทางที่โรค
จะเกิดติดเนื่องมา
8. ความประพฤติอย่างไร (ถามถึงสูบฝิ่น
กินเหล้า เป็นต้น และอิริยาบถอื่นๆ
สำหรับพิเคราะห์เหตุผลประกอบ)
9. โรคภัยที่เคยเป็นมาแต่ก่อน
มีอาการอย่างไร
2) ประวัติของโรค
1. ล้มเจ็บแต่เมื่อไร
(ถามวัน และเวลาที่แรกป่วย)
สำหรับกาลสมุฏฐาน อุตุสมุฏฐาน อายุของโรค
2. มีเหตุอย่างไรจึงเจ็บ (ถามอาการก่อนป่วย)
พิเคราะห์เหตุผลประกอบ
3. แรกเจ็บมีอาการอย่างไร
4. แล้วมีอาการเป็นลำดับมาอย่างไร
5. ได้รักษาพยาบาลเป็นลำดับมาอย่างไร
6. แล้วมีอาการแปรผันมาอย่างไร
7. อาการที่ป่วยในวันหนึ่งๆ
เป็นอย่างไร
(เพื่อจะรู้อาการหนักเบาตามทุ่มโมง
ในวันหนึ่งๆ) สำหรับกาลสมุฏฐาน
8. อาการปัจจุบันในเวลาที่ตรวจ หมอเห็นด้วยตา
และมีความเข้าใจอย่างไร
3) การตรวจร่างกาย
1. เป็นคนมีรูปร่างอย่างไร
2. มีกำลังอย่างไร
3. มีสติอารมณ์เป็นอย่างไร
4. มีทุกขเวทนาเป็นอย่างไร
5. ชีพจรเดินอย่างไร
6. หายใจเป็นอย่างไร
7. ตรวจหัวใจ
8. ตรวจปอด
9. ตรวจลิ้น
10. ตรวจตา
11. ตรวจผิวพรรณ
12. ตรวจเฉพาะที่ป่วย (เช่น แผล เป็นต้น)
4) การตรวจอาการ
1. วัดปรอท (มีไข้ หรือไม่ ถ้า
อุณหภูมิ เกิน 37.8 องศาซี ห้ามนวด)
2. เหงื่อ
3. อุจจาระ ( ทั้งถาม
ทั้งตรวจ)
ถ้าไม่ถ่ายหลายวันจะมีไข้
4. ปัสสาวะ ( ทั้งถาม
ทั้งตรวจ) สีอะไร
5. อาหาร
การบริโภคอาหารของผู้ป่วย
6. เสียง
7. หลับนอน
วิธีการต่างๆเหล่านี้ ไม่ใช่ว่าจะต้องตรวจ
ทุกสิ่งทุกอย่างทุกเรื่องทุกราย สุดแล้วแต่
ความต้องการ นอกจากนี้ยังมีอย่างอื่นที่ควรถามอีก
ต้องสุดแล้วแต่เหตุผลที่จะปรากฏกระทบกระทั่ง
ไปถึง และแล้วแต่ความคิดความเห็นที่
จะสอดส่องของผู้ตรวจ
(2) การวินิจฉัย
ต้องพิจารณาสิ่งต่างๆ และข้อมูลต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับคนไข้ดังนี้
1. คนเจ็บมีอาการเช่นใด มีโรคชนิดใด ชื่ออะไร
2. โรคนั้นๆ มีที่เกิดแต่อะไรเป็นต้นเหตุ
3. โรคเช่นนี้จะเยียวยาแก้ไขด้วยวิธีใด
จึงจะถูกแก่โรค
4. สรรพคุณยาสำหรับที่จะบำบัดโรคเช่นนั้นๆ
จะใช้สรรพคุณยาอะไร
สิ่งที่จะต้องพิเคราะห์
เพิ่มเติมจากข้อมูลข้างต้น
ก่อนที่จะให้การเยียวยามีดังนี้
1. ตรวจผล
1) คนเจ็บมีอาการเช่นนี้ อะไรเป็นสมุฏฐาน
พิกัดอะไร
2) คนเกิดในประเทศนี้ อะไรเป็นสมุฏฐาน
พิกัดอะไร
3) มีอายุเท่านี้ อะไร
เป็นสมุฏฐาน พิกัดอะไร
4) ในเวลาที่เจ็บเป็นฤดูนี้
อะไรเป็นสมุฏฐาน
พิกัดอะไร
5) เริ่มจับมาถึงเพียงนี้
แล้วแปรปรวนมา
โดยลำดับอย่างไร อะไรเป็นสมุฏฐาน
พิกัดอะไร
2. ค้นต้นเหตุ
เพื่อทราบว่าอะไรพิการ
เป็นโรคชนิดใด ชื่อใดแล้วต้องนำอาการนั้น
มาเป็นหลักพิเคราะห์ว่า ไข้นั้นเกิดด้วยเหตุใด
คือ อะไรขาด
อะไรเกิน หรือกระทบกระทั่งอะไร
จึงเป็น เหตุวิปลาสขึ้น
3. หาทางแก้ไข
คือ การพิเคราะห์เลือกยา
ที่จะใช้ขนานใดแก้อะไร ใช้สรรพคุณยา
อะไรบ้าง อย่างใดมากน้อยเท่าใด
ให้กินเวลาอะไร แล้วจึงวางยาตามลักษณะ
ของโรคที่มีอยู่นั้นต่อไป
จากที่ได้กล่าวถึงกิจ 4 ประการของหมอ
ซึ่งเป็นความรู้ หลักการ และวิธีการซึ่งผู้ที่จะเป็นหมอ
ต้องศึกษา จนกระทั่งมีความรู้ความชำนาญ
เพราะเป็นกิจที่สำคัญสำหรับหมอทุกคน ที่จะต้อง
ตระหนักถึงความรับผิดชอบ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิต
ของคนไข้โดยตรง กิจแต่ละอย่างนั้นถือได้ว่ามีความ
สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แม้ว่าท่านจะศึกษาจบ
และมีใบประกอบโรคศิลปะตามที่ได้ตังใจไว้แล้ว
แต่ไม่ถือว่าท่านสิ้นสุดการศึกษาหาความรู้
ฉะนั้นผู้ที่จะเป็นหมอที่ดี จะต้องหมั่นศึกษาทบทวน
หาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความรู้ทักษะทางด้าน
การตรวจโรค การรักษาโรค ต่อไปตราบเท่าที่
ท่านยังคงเป็นแพทย์อยู่
----------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------
อ้างอิง ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป
สาขาเวชกรรม เล่ม 1
กองการประกอบโรคศิลปะ
Credit: ภาพนำมาจาก internet ซึ่ง share กันใน Google, Face
Book และได้ถ่ายทำเองบ้าง
เพื่อการศึกษาแพทย์แผนไทยให้ง่ายขึ้น เป็นการสืบทอดต่อไปยังอนุชน และผู้สนใจ
ให้มีความรู้ในการรักษาบำบัดโรคพึ่งพาตนเองได้ ขอขอบคุณเจ้าของภาพ
ขอให้อนุโมทนาส่วนบุญกุศล เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขัง พลัง
และสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามโดยทั่วกันทุกท่าน เทอญ
ตรวจแล้ว
อพัทธะปิตตะพิการ แนะนำตำรับไหนได้บ้างครับ
ReplyDelete