เวชกรรมไทย เล่ม 1
(โรคของมารดา และเด็ก)
คัมภีร์ปฐมจินดา
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
เวชกรรมไทย เล่ม 1
(โรคของมารดา และเด็ก)
คัมภีร์ปฐมจินดา
คัมภีร์ปฐมจินดา เป็นโรคที่เกี่ยวกับสตรี มารดา และทารก หญิงมีครรภ์ก่อนคลอด ดังนี้
ถวายนมัสการแล้ว ซึ่งพระศรีสุคตทศพลญาณเจ้า เป็นที่พึ่งของโรค พระคัมภีร์แพทย์อันวิเศษ ชื่อ ปฐมจินดา นี้
เป็นหลักเป็นประธานแห่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ทั้งปวง อันพระอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์แพทย์
ได้แต่งไว้ในกาลก่อนโดยสังเขป เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลก ด้วยประการดังนี้
พรหมปุโรหิต (กำเนิดมนุษย์) ต้นเหตุที่มนุษย์เกิด เมื่อจะตั้งแผ่นดินใหม่มีเหตุการณ์ผ่านมาเป็นอันมาก แล้วเกิดฝนตกห่าใหญ่ลงมาถึง 7 วัน 7 คืน น้ำท่วมไปชั้นพรหมปุโรหิตๆ จึงเล็งลงมาดูจึงเห็นดอกอุบล 5 ดอก ผุดขึ้นมาเหนือน้ำ งามหาที่จะอุปมาไม่ได้
ท้าวมหาพรหม จึงบอกแก่พรหมทั้งหลายว่า แผ่นดินใหม่นี้
จะบังเกิดสมเด็จพระพุทธเจ้ามาตรัส 5 พระองค์ เพราะได้เห็นดอกอุบลนั้น 5 ดอก คือ
1.
พระพุทธกกุสันโธ
2. พระพุทธโกนาคม
3. พระพุทธกัสสป
4. พระพุทธสมณโคดม
5. พระศรีอริยเมตไตรย์
ครั้น และบังเกิด "บุพนิมิต" ขึ้นแล้ว จึงน้ำค้างเปียกจากฝนซึ่งได้ตกลงมา 7 วัน 7 คืน
แล้วก็เป็นระคนปนกันสนับข้นเข้า ดุจดังสวะอันลอยอยู่เหนือน้ำ
โดยหนาสองแสนสีหมื่นโยชน์ อันนี้มีแจ้งอยู่ในพระคัมภีร์จักรวาลทีปนี
1. สัตว์ที่มาปฎิสนธิในชมพูทวีป มี 4 สถาน
1) สัตว์ทีมาปฎิสนธิในครรภ์เป็น ชลามพุชะ (ตัว)
2) สัตว์ที่มาเกิดเป็นฟองฟักฟองไข่ นั้น คือ อัณฑะชะ (ไข่)
3) สัตว์ที่ปฎิสนธิด้วยเปือกตมนั้นชื่อ สังเสทชะ (หนอน)
4) อุปปาติกะ สัตว์ปฎิสนธิเกิดเป็นอุปปาติกะ ไม่มีสิ่งใดๆ ก็เกิดขึ้น
2. มนุษย์ทั้งหลายถือปฎิสนธิแล้ว ก็คลอดจากครรภ์มารดา ถ้าเป็น สตรี จะมีประเภทผิดจากบุรุษ 2 ประการ คือ
1) ต่อมเลือด (มดลูก)
2) น้ำนมสำหรับเลี้ยงบุตร
ในคัมภีร์ปฐมจินดา กล่าวถึง พระดาบสองค์หนึ่ง ชื่อว่า ฤทธิยาธรดาบส ได้ซึ่งญานอันเป็นโลกีย์ หยั่งรู้ลักษณะหญิง และน้ำใจสตรีทั้งดี และชั่วต่างๆ และท่านดาบสพระองค์นี้ ได้เป็นอาจารย์ของชีวกโกมารภัจจ์
ชีวโกมารภัจจ์ จึงนมัสการถามถึงโรคแห่งกุมารว่า
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อันว่ากุมาร และกุมารีทั้งหลาย ซึ่งเกิดมาในโลกนี้ ย่อมบังเกิดโรคต่างๆ ไม่เหมือนกัน ในพระคัมภีร์ปฐมจินดา กำเนิดซางนั้นว่า ถ้ากุมาร และกุมารีผู้ใด คลอดจากครรภ์ในวัน 2, 5, 6 (วันจันทร์, พฤหัสบดี, ศุกร์) โรคเบาบาง ฉันใดแลผู้เป็นเจ้า โรคนั้นจึงกลับมากลับไปเล่า ที่ว่ากุมาร และกุมารีคลอดออกจากครรภ์ในวัน 1, 3, 4, 7 (วันอาทิตย์, อังคาร, พุธ, เสาร์) นั้นว่าร้ายนักเลี้ยงยาก และโรคนั้นก็มาก ฉันใดแลผู้เป็นเจ้า โรคนั้นจึงเบาบางกลับเป็นดีไปเล่า คลอดวันที่ดีกลับร้าย รักษายากรักษาไม่รอดรักษาง่าย คลอดวันที่ร้ายกลับดี รักษาง่าย ดังนี้เป็นประการดังฤๅ พระคัมภีร์ปฐมจินดากำเนิดซางนั้นร้ายนักเลี้ยงก็ยาก กุมารกุมารีเกิดมาในวัน 1, 3, 4, 7 จะไม่ตายเสียสิ้นแลหรือ เกิดมาในวัน 2, 5, 6 นั้นเลี้ยงง่ายก็วิตกซึ่งว่ากุมาร กุมารี เกิดมาในวันเหล่านี้ จะไม่รู้ตายแล้วหรือพระผู้เป็นเจ้า
ฝ่ายพระฤๅษี ฤทธิยาธรดาบส จึงวิสัชนาว่า สัตว์เกิดมาในภพสงสารนี้ ซึ่งเกิดมาในวันที่ดีไม่มีสิ่งอันใดขัดขวาง พ้นแผนซางที่ร้ายแล้ว แต่ว่าเลี้ยงยากนั้น เหตุทั้งนี้ก็เพราะน้ำนมของมารดานั้นให้โทษแก่กุมารนั้นเอง อนึ่ง
กุมารจะเกิดมาในวันที่ร้ายแล้วต้องแผนซางที่ร้าย แต่ว่าเลี้ยงง่ายนั้น อาศัยน้ำนมแห่งมารดานั้นดี กุมารีได้บริโภคจึงวัฒนาการเจริญขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะน้ำนมสตรีดี และร้ายมีอยู่6 จำพวก ท่านจงทราบด้วยประการดังนี้ พระฤๅษีสิทธิดาบส
เธอจึงนำเอาลักษณะน้ำนมชั่ว ซึ่งกุมารบริโภคเป็นโทษ 2 จำพวก และลักษณะแห่งน้ำนมแม่ที่ดี ซึ่งกุมารดื่มแล้วไม่ได้เป็นโทษ 4 จำพวก ดังนี้
3. ลักษณะน้ำนมให้โทษแก่กุมารในหญิง 2 จำพวก คือ
1) หญิงมีกลิ่นตัวคาวดังน้ำล้างมือ
ลูกตาแดง เนื้อขาวเหลือง นมยาน หัวนมเล็ก เสียงพูดแหบ เครือดังเสียงการ้อง ฝ่ามือและเท้ายาว ห้องตัวยาว จมูกยาว หนังริมตาหย่อน สะดือลึก ไม่พี ไม่ผอม สันทัดคน
กินของมาก ลักษณะหญิงอย่างนี้ชื่อว่า หญิงยักขินี เป็นหญิงมีกามแรง ถ้าให้กุมารบริโภคน้ำนมเข้าไป มักบังเกิดโรคต่างๆ แม่นมออย่างนี้ท่านให้ยกเสียพึงเอา
2) หญิงที่มีกลิ่นตัวดังบุรุษ
ตาแดง ผิวเนื้อขาว นมดังคอน้ำเต้าริมฝีปากกลม เสียงแข็ง ดังเสียงแพะ ฝ่าเท้าใหญ่ข้างหนึ่งเล็กข้างหนึ่ง เจรจาปากไม่มิดกัน เดินไปมามักสะดุด ลักษณะหญิงอย่างนี้ ชื่อว่า หญิงหัศดี เป็นหญิงกามแรง ถ้าให้กุมารบริโภคน้ำนมเข้าไป ดุจดังเอายาพิษให้บริโภค แม่นมอย่างนี้
ท่านให้เลือกออกเสีย อย่าพึงเอา
4. ลักษณะแห่งแม่นมที่ดี ซึ่งกุมารดื่มน้ำนมไม่ได้เป็นโทษนั้นมี อยู่ 4 จำพวก คือ
2. มนุษย์ทั้งหลายถือปฎิสนธิแล้ว ก็คลอดจากครรภ์มารดา ถ้าเป็น สตรี จะมีประเภทผิดจากบุรุษ 2 ประการ คือ
ชีวโกมารภัจจ์ จึงนมัสการถามถึงโรค
ลูกตาแดง เนื้อขาวเหลือง นมยาน
ตาแดง ผิวเนื้อขาว นมดังคอน้ำเต้า
1) หญิงที่มีกลิ่นตัวหอมดังกล้วยไม้
ไหล่ผาย สะเอวรัด หลังราบ สัณฐานตัวดำ และเล็ก แก้มใส มือ และเท้าเรียว เต้านมดังอุบลพึ่งแย้ม ผิวเนื้อแดง เสียงดังเสียงสังข์ รสน้ำนมนั้นหวาน มันเจือกัน ลักษณะหญิงอย่างนี้ ท่านจัดเป็นหญิงเบญจกัลยาณี
ให้เลือกเอาไว้ให้กุมารบริโภคเถิดดีนัก
2) หญิงที่มีกลิ่นตัวดังดอกอุบล
เสียงดังเสียงแตร ไหล่ผาย ตะโพกรัด แก้มพอง นิ้วมือ และนิ้วเท้าเรียวแฉล้ม เต้านมดังบัวบาน ผิวเนื้อเหลือง น้ำนมมีรสหวาน ลักษณะหญิงอย่างนี้ท่านจัดเป็นหญิงเบญจกัลยาณี ให้เลือกเอาไว้ให้กุมารบริโภคเถิดดีนัก
3) หญิงที่มีกลิ่นตัวไม่ปรากฏหอมหรือเหม็น
เอวกลม ขนตางอน จมูกสูง เต้านมกลม หัวนมงอนดังดอกอุบลพึ่งจะแย้ม
รสน้ำนมนั้นหวานมันสักหน่อย ลักษณะหญิงอย่างนี้ ท่านว่าเป็นหญิงเบญจกัลยานี
ให้เลือกเอาไว้ให้กุมาร บริโภคเถิด น้ำนมดีนัก
4) หญิงที่มีกลิ่นตัวหอมเผ็ด
เสียงดังเสียงจักจั่น ปากดังปากเอื้อน ตาดังตาทราย ผมแข็งชัน ไหล่ผาย
ตะโพกผาย หน้าผากสวย ท้องดังกาบกล้วย นมพวง น้ำนมขาวดังสังข์
รสน้ำนมมันเข้มสักหน่อย เลี้ยงลูกง่าย ลักษณะหญิงจำพวกนี้
ท่านคัดเป็นหญิงเบญจกัลยาณี ให้เลือกเอาไว้ให้กุมารบริโภคเถิดน้ำนมดีนัก ลักษณะแม่นม 4 จำพวกนี้ แม่นมเบญจกัลยานี ท่านจัดสรรเอาไว้ถ่ายพระมหาบุรุษราชเจ้าได้
เสวยครั้งนั้น เรียกว่า ทิพโอสถประโยธร ดุจน้ำสุรามฤต ถ้ากุมาร และกุมารีผู้ใดได้บริโภค ดุจดื่มกินซึ่งโอสถ อันเป็นทิพย์
น้ำนมที่กล่าวมาทั้ง 4 จำพวก ถึงว่ากุมารผู้นั้นจะมีโรค ก็อาจบำบัดโรคได้ เพราะน้ำนมมีคุณดังโอสถ และมิได้แสลงโรค
ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษากุมารไปเบื้องหน้า ให้พิจารณาดุน้ำนมแห่งแม่นม และน้ำนมแห่งมารดานั้นก่อน
ถ้าเห็นว่านมนั้นยังเป็นมลทินอยู่ ท่านให้แต่งยาประสะน้ำนม นั้นเสียก่อน จึงจะสิ้นมลทินและโทษทั้งปวง
ถ้าแพทย์จะพิจารณาดูน้ำนมดีและร้ายนั้น ให้เอาใส่ขันแล้วให้แม่นมนั้นหล่อนมองดู
ถ้าสี และน้ำนมขาว ดังสีสังข์ และจมลงในขัน สัณฐานเหมือนดังลูกบัวเกาะ นมอย่างนี้
จัดเอาเป็นน้ำนมอย่างเอก ถ้าหล่อน้ำนมลง และน้ำนมนั้นกระจาย แต่ว่าขันจมลงถึงก้นขันแค่ไม่กลมเข้า
น้ำนมอย่างนี้ จึงเอาเป็นน้ำนมอย่างโท ถ้าพ้นจากน้ำนม 2 ประการนี้แล้ว
ถึงจะมีลักษณะประกอบไปด้วยยศ ศักดิ์ชาติตระกูลปานใดก็ดี
ถ้ามีกุศลหนหลังยังติดตามบำรุงรักษา ไม่ให้เกิดโรคาพยาธิ รสน้ำนมนั้นเปรี้ยว ขม, ฝาด, จืด, จาง, และมีกลิ่นอันคาวนั้น ก็จัดเป็นน้ำนมโทษทั้งสิ้นดุจกล่าวมา
นอกจากนี้ยังมีน้ำนมพิการอีก 3 จำพวก ถ้าให้กุมารบริโภคเข้าไป ดุจให้บริโภคยาพิษ
จะบังเกิดโรคต่างๆ
5. สตรีมีโลหิต 5 ประการ โลหิตปกติโทษ
( สตรีมีโลหิตระดูปกติโทษ) 5 ประการ คือ
ไหล่ผาย สะเอวรัด หลังราบ สัณฐาน
เสียงดังเสียงแตร ไหล่ผาย ตะโพกรัด
เอวกลม ขนตางอน จมูกสูง เต้านมกลม
เสียงดังเสียงจักจั่น ปากดังปากเอื้อน
สัตว์ที่จะมาปฎิสนธิ
ในมาตุคัพโภทร (ในท้องมารดา) ก็เพราะโลหิตระดูบริบูรณ์
1) ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่หทัย (หัวใจ)
2) ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่ดี และตับ
3) ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่เนื้อ
4) ลักษณะโลหิตระดูบังเกิดแต่เส้นเอ็น
5) ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่กระดูก
6. ลักษณะน้ำนมพิการ 3 จำพวก คือ
1) สตรีขัดระดู
2) สตรีอยู่ไฟมิได้ และน้ำนมนั้นเป็นน้ำนมดิบ
3) สตรีมีครรภ์อ่อน เป็นน้ำเหลือง ไหลหลั่งลงในน้ำเป็นสายโลหิตกับน้ำนมระคนกัน
ถ้าแพทย์จะพยาบาล
ให้พึงพิจารณา โรคพยาธิและชาตินรลักษณ์ แห่งแม่นมนั้นก่อน ถ้าประกอบไปด้วยโทษประการหนึ่งประการใดก็ดี ให้ประกอบยา ประจะโลหิต และรุน้ำนม
บำรุงธาตุ ให้โลหิตและน้ำนมนั้น บริบูรณ์ ก่อนจึงจะสิ้นโทษร้าย ถ้าน้ำนมลอยเรี่ยรายอยู่ไม่คุมกันเข้าได้ ท่านว่าเป็นเพราะโลหิตกำเริบ ให้แต่งยา ประจุโลหิตร้ายเสียก่อน โลหิตจึงจะงาม น้ำนมจึงจะบริบูรณ์
7. ลักษณะน้ำนมเป็นโทษ อีก 3 จำพวก
2) ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่ดี และตับ
3) ลักษณะโลหิตระดู บังเกิดแต่เนื้อ
คือ มารดาอยู่ไฟมิได้
ท้องเขียวดังท้องค่าง ครั้นมารดาออกจากเรือนไฟแล้วให้กุมารดื่มน้ำนมเข้าไป
ก็อาจให้เป็นโรคต่างๆ ด้วยดื่มน้ำนมเป็นโทษ 3 ประการ ดังนี้
1) น้ำนมจาง สีเขียวดังน้ำต้มหอยแมลงภู่
2) น้ำนมจาง มีรสเปรี้ยว
3) น้ำนมเป็นฟองลอย
น้ำนมทั้ง 3 ประการนี้ย่อมเบียดเบียนกุมาร กุมารีทั้งหลาย
ซึ่งได้บริโภคนั้นกระทำให้เกิดโรคต่างๆ บางทีกระทำให้ลงท้อง
บางที่กระทำให้ท้องขึ้น บางที กระทำ ให้ตัวร้อน บางทีกระทำให้ปวดมวนในท้อง
ทั้งนี้เป็นมลทินโทษแห่งน้ำนม เพราะน้ำนมดิบให้โทษเป็น 3 ประการดังนี้
พระอาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้
อันว่าแพทย์ทั้งหลายมิได้ถือเอาซึ่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ อิ่มไปด้วยโลภ ด้วยหลงมี
ใจอันถือทิฐิมานะ อันว่าแพทย์ผู้นั้น ชื่อว่ามีตาอันบอดประกอบไปด้วยโทษ
ด้วยประการดังนี้
แพทย์ผู้ใดมิได้เรียนซึ่งคัมภีร์ฉันทศาสตร์ มิได้รู้จักกำเนิดแห่งซาง และสรรพคุณยาทั้งหลาย ได้แก่ ตำราซึ่งท่านเขียนไว้
ก็นำไปเที่ยวรักษา ด้วยใจโลภ จะใคร่ได้ทรัพย์แห่งท่านประการ 1 ถือทิฐิมานะว่า ตัวรู้กว่า
คนทั้งหลายประการหนึ่ง หลงใหลถือผิดเป็นชอบประการ 1 มีความโกรธแก่ท่านประการ 1 ทั้ง 4 ประการนี้ ท่านว่าเป็นหมอโกหก อย่างนี้ในเมืองโสฬสมหานคร ท่านจับเอาตัวมาฆ่าเสียเป็นอันมาก ท่านทั้งปวงพึงรู้เถิด ท่านว่าเป็นหมอโกหก
อย่างนี้ในเมือง โสฬสมหานคร ท่านจับเอาตัวมาฆ่าเสียเป็นอันมาก
ท่านทั้งปวงพึงรู้เถิด
อนึ่งแพทย์มิได้รู้จักกำเนิดแห่งโรคนั้น และวางยาให้ผิดแก่โรค มีดุจพระบาลีกล่าวไว้ ดังนี้
1. วางยาผิดโรคครั้งหนึ่ง ดุจประหารด้วยหอก
2. วางยาผิดโรคสองครั้ง ดุจเผาด้วยไฟ
3. วางยาผิดโรคสามครั้ง ดุจต้องสายฟ้าฟาดคือฟ้าผ่า
อันว่า
โรคจะกำเริบขึ้นกว่าเก่า ได้ร้อยเท่า พันเท่า อันว่าแพทย์ผู้นั้น ครั้นกระทำผิดซึ่งกาลกิริยาตายแล้ว
ก็จะเอาไปปฏิสนธิในนรก
8. ครรภ์รักษา
1) น้ำนมจาง สีเขียวดังน้ำต้มหอยแมลงภู่
สตรีทั้งปวงครรภ์ก็ตั้งขึ้น
( มีครรภ์) ได้ 15 วันก็ดี หรือ 1 เดือนก็ดี จะแสดงให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายว่า
ตั้งครรภ์มีเส้นเอ็นสีเขียวผ่านหน้าอก หัวนมก็ดำคล้ำขึ้น และตั้งขึ้น กับมีเม็ดครอบหัวนม แพทย์พึงรู้ว่า สตรีนั้นตั้งครรภ์แล้ว ในระหว่างตั้งครรภ์ ตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 10 เดือน มารดา มักจะมีโรคหรืออาการต่างๆ จึงมียาครรภ์รักษา
ใช้รักษาและป้องกันไม่ให้มีการแท้ง หรือตกเลือดได้
9. ครรภ์วิปลาส
ว่าด้วยสาเหตุที่ทำให้ครรภ์ตกไป (เกิดการแท้งหรืออันตรธาน) มีอยู่ 4 ประการคือ
1) สตรีมีครรภ์นั้น บังเกิดกามวิตกหนา ไปด้วยเตโชธาตุสมุฏฐาน
ไฟราคะเผาผลาญแรงกล้าอยู่เป็นนิจ ทำให้ครรภ์นั้นตกไป ( แท้ง) หรืออันตรธานไป(
เพราะธาตุไฟกำเริบ)
2) สตรีมีครรภ์ กินของที่ไม่ควรจะกินก็กิน กินของที่เผ็ดร้อนต่างๆ หรือของที่กินแล้ว ให้มีอาการ ลงท้อง หรือยาที่ให้แสลงโรคต่างๆ กินยาขับโดยตั้งใจ (
เพราะธาตุน้ำกำเริบ)
3) สตรีมีครรภ์มีจิตมากด้วยความโกรธแล้วทำร้ายตัวเอง หรือเป็นผู้หญิงปากร้าย ไม่รู้จักซึ่งโทษมีแก่ตน ใช้ถ้อยคำหยาบช้าด่าว่าสามีตนและผู้อื่น
ถูกเขาทำโทษทุบถองโบยตี ด้วยกำลังแรงต่างๆ สตรีผู้นั้นก็เจ็บ ซึ่งครรภ์แห่งหญิงนั้นก็ตกไป
4) สตรีมครรภ์ลูกถูกปีศาจทำโทษต่างๆ ครรภ์นั้นก็มิตั้งขึ้นได้ หรือต้องสาตราคมคุณไสยเขากระทำก็ดี
ลูกที่อยู่ในครรภ์นั้นก็ตกไป
10. ครรภ์ปริมณฑล
4) สตรีมครรภ์ลูกถูกปีศาจทำโทษต่างๆ
ครรภ์นั้นก็มิตั้งขึ้นได้ หรือต้องสาตราคม
คุณไสยเขากระทำก็ดี
ลูกที่อยู่ในครรภ์นั้นก็ตกไป
10. ครรภ์ปริมณฑล
ในระยะ 10 เดือน ที่สตรีตั้งครรภ์ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บ เกิดขึ้นได้จัดยา ไว้สำหรับแก้ไข้ แก้บิดมูกเลือด แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด แก้ไข้ร้อนๆหนาวๆ ระส่ำระสาย
ลิ้นกระด้างคางแข็ง ยาสำหรับครรภ์ 7-8 เดือน กุมารไม่ดิ้น ยาให้คลอดง่าย
และยาชักมดลูก เป็นต้น
11. ครรภ์ประสูติ
ว่าด้วยทารกคลอดจากครรภ์มารดา ด้วยอำนาจแห่งลม กัมมัชวาตพัดกำเริบ ให้เส้นและเอ็นที่รัดตัว กุมารไว้คลายออกพร้อมก็ให้ศีรษะกลับลงเบื้องต่ำ ฤกษ์ยามดี แล้วก็คลอด จากครรภ์มารดา เรียกว่า
ตกฟาก และในระยะปฐมวัย ตั้งแต่ทารกรู้ชันคอ จนถึงระยะรู้ย่าง รู้เดิน
ก็จะมีลักษณะสำรอก 7 ประการ และระยะ ดังกล่าวก็จะมีโรคเกิดกับทารกอยู่ก่อน แล้ว
มีโรคอื่นจรมาแทรกมาทับ เรียกโรคทับ 8 ประการ
12. ดวงซาง
เกิดซาง 9 จำพวก เกิดขึ้นจรในกินไส้พุง ตับ ปอด และหัวใจ
1) ซางฝ้าย เกิดในลิ้น ในปาก เป็นซางจรมาแทรกซางน้ำเจ้าเรือนลักษณะ
เป็นฝ้าขาวดาดไปเป็นเหมือนวงฝ้ายมีใยดุจสำลี ขึ้นที่เพดาน กระพุ้งแก้ม ไรฟัน
และที่ลิ้น อาการ ให้ปากร้อน,ปากแห้ง,น้ำลายแห้ง,หุบปากไม่ลง,อ้าปากร้อง,อาหารไม่ได้ อาเจียนเป็นกำลัง, ให้ท้องเดิน, กลิ่นเหม็นดังไข่เน่า ซางฝ้ายทำโทษ กำหนด 6 เดือน รวมกับซางน้ำเจ้าเรือน
ถึงอายุ 2 ขวบ 15 วัน
2) ซางขุม กลางลิ้นนั้นขึ้นซีดขาว
3) ซางข้าวเปลือก เกิดในลิ้น ในปาก ดังลิ้นวัว
4) ซางข้าว ดวงดังนี้
5) ซางควาย ดวงดังนี้
6) ซางม้า ดวงดังนี้ ครั้นถึง 2 วันติดกันเข้ามา มีสีดำ เขียวร้ายนัก
7) ซางช้าง ดวงดังนี้ ถ้าหวำและกลางแดง มักให้ลงท้อง
8) ซางโจร ดวงดังนี้ มักขึ้นในไส้พุง และหัวตับ กระดูกสันหลัง ครั้นแก่นานหนัก ขึ้นมาดังดอกบุก
9) ซางไฟ ถ้าขึ้นกลางลิ้นนั้น
ลิ้นดำและริมแดง ร้ายนัก
13. ลักษณะซาง
7) ซางช้าง ดวงดังนี้ ถ้าหวำและกลางแดง
1) ซางโจร ขึ้นยอดดำเชิงแดง ขึ้นที่ต้นกรามทั้งสองข้าง ให้ลงท้องแต่ในเขตอายุ 1 เดือน ไปจนถึง 10 เดือน ให้ลงท้องเป็นดังส่าเหล้า ถ้าขึ้นตับ ถ่ายอุจจาระดำ ออกมา
ขึ้นในไส้อ่อน ( ลำไส้เล็ก) ให้ถ่ายอุจจาระสีเขียวดังใบไม้ ถ้าขึ้นในให้หลังโกง
และขัดปัสสาวะ มักให้เป็นนิ่ว ( นิ่วซาง) ให้ ปัสสาวะขาวดุจน้ำปูน
2) ซางนิล ซางนี้มาเกิดในกระหม่อม แล้วลงมาเกิดขึ้นในเพดานยอด 1 หรือ 3 ยอด 4 ยอด ครั้นได้ 2 เดือน 3 เดือน
ก็กระจายออกมาขึ้นเหงือก และกรามทั้ง 2 ข้าง ให้เจ็บปวด มีพิษทั่วไป
--------------------------------------------------------
อ้างอิง ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1
กองการประกอบโรคศิลปะ
------------------------------------------------------
ตรวจแล้ว ซางประจำวัน (ในคัมภีร์ ปฐมจินดา)
2) ซางนิล ซางนี้มาเกิดในกระหม่อม แล้วลง
มาเกิดขึ้นในเพดานยอด 1 หรือ 3 ยอด 4 ยอด
ครั้นได้ 2 เดือน 3 เดือน
ก็กระจายออกมา
ขึ้นเหงือก และกรามทั้ง 2 ข้าง ให้เจ็บปวด
มีพิษทั่วไป
--------------------------------------------------------
สาขาเวชกรรม เล่ม 1
กองการประกอบโรคศิลปะ
------------------------------------------------------
ตรวจแล้ว
คือ มีซางเจ้าเรือน,ซางจร,หละประจำ,ละอองประจำ
และลมประจำทารก ที่เกิดมาในวันทั้ง 7 ขอกล่าวแต่ชื่อรวมไว้เพื่อสะดวกแก่การท่องจำ
วันเกิด ซางเจ้าเรือน ซางจร หละประจำ ละอองประจำ ลมประจำ
1. อาทิตย์ ซางไฟ ซางกราย หละอุทัยกาฬ ละอองเปลวไฟฟ้า ลมประจำ
2. จันทร์ ซางน้ำ ซางฝ้าย หละแสงพระจันทร์ ละอองแก้ววิเชียร ลมประจำ
3. อังคาร ซางแดง ซางระแนะ หละอุทัยกาฬ ละอองแก้วมรกฎ ลมอุทรวาต
4. พุธ ซางสะกอ ซางกะตัง หละนิลเพลิง ละอองแสงเพลิง ลมสุนทรวาต
5. พฤหัสบดี ซางโค ซางข้าวเปลือก หละนิลกาฬ ละอองมหาเมฆ ลมหัสคินี
6. ศุกร์ ซางช้าง ซางกระดูก หละแสงพระจันทร์ ละอองกาฬสิงคลี ลมอริศ
7. เสาร์ ซางโจร (ขโมย) ซางนางริ้น หละมหานิลกาฬ ละอองเปลวไฟฟ้า ลมกุมภัณฑ์ยักษ์
ลักษณะอาการซาง
1. ซางไฟ เป็นซางเจ้าเรือน
ประจำทารกที่เกิดวันอาทิตย์
ลักษณะ
เป็นเม็ดที่ยอด มีแม่ซาง 4 ยอด มีบริวาร 40 ยอด รวมเป็น 44 ยอดๆ นั้นแดงดังผล
มะไฟ ขึ้นในที่ต่างๆ
อาการ ทำให้ตัวร้อน ตกมูกเลือด และหนอง อุจจาระเป็นน้ำส่าเหล้า น้ำคาวปลา,น้ำล้างเนื้อ,น้ำไข่เน่า, ซางไฟ ทำโทษถึงอายุ 1 ปี กับ 11 เดือน แต่แรกล้มเจ็บมากำหนด 11 วันจึงถอย ถ้าไม่ถอย อาจจะเป็นอันตราย เกิดขึ้นเพื่อกำเดา
ซางกราย เป็นซางจรมาแทรกซางไฟเจ้าเรือน
ลักษณะ
ผุดขึ้นมาเป็นเม็ดคล้ายผด มีแม่ซาง 4 ยอด มีบริวาร 40 ยอด ขึ้นในที่ต่างๆ
อาการ ให้บิดตัวนอนสะดุ้ง,ตัวร้อน,ท้องเดิน,อาเจียน กระหายน้ำ กินอาหารไม่ได้ ซางกราย โทษกำหนด 7 เดือน รวมกับซางไฟเจ้าเรือน ถึงอายุ 2 ขวบ 6 เดือนกับ 6 วัน
หละอุทัยกาฬ ประจำ ซางไฟเจ้าเรือน
ลักษณะ
ขึ้นบริเวณ ปาก,ลิ้น และที่ต่างๆ
อาการ ให้ตัวร้อน ชักมือกำเท้างอ ขัดปัสสาวะ มักกระทุ่มเท้า ร้องให้
ละอองเปลวไฟฟ้า หรือละอองทับทิม ประจำ ซางไฟเจ้าเรือน
ลักษณะ
เมื่อตั้งขึ้นเป็นเม็ดยอดแดงดังน้ำชาดหรือดังยอดต้นทับทิมเกิดแทรกในไฟ หรือเกิดขึ้นเมื่อหมดกำหนดซางไปแล้ว
อาการ ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง ตาแข็ง ตัวร้อนจัด ชักมือกำเท้างอ
2. ซางน้ำ เป็นซางเจ้าเรือน ประจำทารกที่เกิดวันจันทร์
ลักษณะ
มีแม่ซาง 19 ยอด แต่ละยอดโตเท่าใบพุทรา ยอดสีแดง ดังผลผักปลังห่าม ขึ้นที่ต้นแขน,ขา,หน้าขา, กลางหลัง และแก้มทั้งสอง อาการ
เมื่อเม็ดยอดแตกเป็นน้ำเปื่อยไป รอบตัวแล้วหลบใน ทำให้หัวร้อน ,ตัวร้อน,เจ็บตาม ท้อง ซางน้ำทำโทษถึงอายุ 1 ขวบ 6 เดือน แต่แรกล้มเจ็บ มากำหนด 12 วัน จึงถอย เจ็บตามท้อง ซางน้ำ ทำโทษถึงอายุ 1 ขวบ 6 เดือน แต่แรกล้มเจ็บ มากำหนด 12 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอย ไข้นั้นหลักขึ้นเพื่ออาโป
ซางฝ้าย เป็นซางจรมาแทรกซางน้ำเจ้าเรือน
ลักษณะ
เป็นฝ้าขาวดาดไปเป็นเหมือนวงฝ้ายมีใยดุจสำลี ขึ้นที่เพดาน กระพุ้งแก้ม ไรฟัน
และที่ลิ้น อาการ
ให้ปากร้อน, ปากแห้ง, น้ำลายแห้ง,หุบปากไม่ลง, อ้าปากร้อง, อาหารไม่ได้อาเจียนเป็นกำลัง, ให้ท้องเดิน, กลิ่นเหม็นดังไข่เน่า ซางฝ้ายทำโทษ กำหนด 6 เดือน รวมกับซางน้ำเจ้าเรือน
ถึงอายุ 2 ขวบ 15 วัน
หละแสงพระจันทร์ ประจำซางน้ำเจ้าเรือน
ลักษณะ
เกิดขึ้นเป็นสีเหลืองเท่าเม็ดข้าวโพด ขึ้นที่ต้นขากรรไกร ขวาและซ้าย
อาการ ให้ลิ้นกระด้างคางแข็ง ตาแข็ง ร้องให้ไม่มีน้ำตา ท้องเดินหน้าผากตึง
และตัวร้อน
3. ซางแดง เป็นซางเจ้าเรือนประจำทารกที่เกิดวันอังคาร
ลักษณะ
เป็นแม่ซาง 6 ยอด มีบริวาร 6 ยอด มีบริวาร 72 ยอด รวมเป็น 78 ยอดขึ้นในที่ต่างๆ
อาการ ให้ท้องเดิน อาเจียน กระหายน้ำ ไอคอแห้ง เซื่องซึม ผอมเหลือง ตกมูกเลือด อาหารไม่ได้ ซางแดงมี 2 อย่าง เรียกว่าตัวผู้ตัวเมีย ตัวผู้รักษายาก ซางแดง ทำโทษถึงอายุ 3 ขวบ 6 เดือน แต่แรกล้มเจ็บมา กำหนด 13 วัน จึงถอย อาจจะเป็นอันตรายเกิดเพื่อโลหิต
ซางระแหนะ เป็นซางจร มาแทรกซางแดงเจ้าเรือน
อาการ ให้ท้องเดิน อาเจียน กระหายน้ำ
ลักษณะ
มีแม่ซาง 3 ยอด มีบริวาร 30 ยอด รวมเป็น 33 ยอด ขึ้นในที่ต่างๆ
อาการ ให้ท้องเดิน เป็นมูกเลือด เป็นเสมหะเป็นน้ำล้างเนื้อ ซูบผอม เบื่ออาหาร ปวดมวนท้อง ซางระแหนะ ทำโทษ1 ขวบ 6 เดือน รวมกับซางแดงเจ้าเรือน ถึงอายุ 5 ขวบ 8 วัน
หละอุทัยกาฬ ประจำ ซางแดงเจ้าเรือน
อาการ ให้ท้องเดิน เป็นมูกเลือด เป็นเสมหะ
ลักษณะ
ขึ้นบริเวณ ปาก,ลิ้น และที่ต่างๆ
อาการ ให้ตัวร้อน ชักมือกำเท้ากำ ขัดปัสสาวะ มักกระทุ่มเท้า ร้องให้
ละอองแก้วมรกต ประจำ ซางแดงเจ้าเรือน
ลักษณะ
เมื่อบังเกิดขึ้นนั้นร้ายนัก
อาการ ทำให้หน้าเขียว หน้าดำ ชักมือ เท้ากำ ปากอ้ามิออก ให้ลิ้นกระด้าง คางแข็ง
ลมอุทรวาต ประจำ ซางแดงเจ้าเรือน
ลักษณะและอาการ ไม่ปรากฏ คงมีแต่ชื่อเฉยๆ
4. ซางสะกอ เป็นซางเจ้าเรือน ประจำทารกที่เกิดวันพุธ
ลักษณะ
มีแม่ซาง 4 ยอด มีบริวาร 40 ยอด รวมเป็น 44 ยอด ขึ้นในที่ต่างๆ
อาการ ให้ท้องเดิน อาเจียน กระหายน้ำ เป็นไข้ ตัวร้อน เซื่องซึม กระสับกระส่าย ซางสะกอ
ทำโทษ ถึงอายุ 1 ขวบ 4 เดือน แต่แรกกลับเจ็บมากำหนด 14 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอย
ไข้นั้นหนัก เกิดขึ้นเพื่ออาโป
ซางกระตัง เป็นซางจรมาแทรกซางสะกอเจ้าเรือน
ลักษณะ
มีแม่ซาง 3 ยอด มีบริวาร 30 ยอด รวมเป็น 33 ยอด ขึ้นในที่ต่างๆ
อาการ ให้ขัดเบา จุกเสียด อาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ หายใจขัด คอแห้ง ร้องไม่ใคร่ออก ซางกระตัง ทำโทษกำหนด 1 ขวบ 3 เดือน รวมกับซางสะกอ
เจ้าเรือนถึงอายุ 2 ขวบ 7 เดือน กับ 15 วัน
หละเนรกันฐี หรือนิลเพลิง ประจำ ซางสะกอเจ้าเรือน
ลักษณะ
แรกจะเกิดเห็นเขียวดังใบไม้สด แล้วเป็นสายโลหิตผ่านไปอยู่ใน 4 วัน
อาการ ริมฝีปากแห้ง คอแห้ง ท้องเดิน ท้องขึ้น
ละอองแสงเพลิง ประจำ ซางสะกอเจ้าเรือน
ลักษณะ
เป็นกระขาว ข้างกระพุ้งแก้ม แล้วกลายเป็นสีเขียวคล้ำ
อาการ ให้เซื่องซึม ท้องเดิน อุจจาระเขียวดังใบไม้
ลมสุนทรวาต ประจำ ทรางสะกอเจ้าเรือน
ลักษณะ
เกิดขึ้นที่สะดือ ท้องน้อย
อาการ ให้เจ็บท้อง ท้องขึ้น ท้องเดิน มักให้นอนหลับไป ชักมือเท้าหงิกงอ หน้าเขียว
5. ซางโค เป็นซางเจ้าเรือนประจำทารกที่เกิดวันพฤหัสบดี
ลักษณะ
มีแม่ซาง 4 ยอด มีบริวาร 40 ยอด รวมเป็น 44 ยอด ทรางจะขึ้นในที่ต่างๆ
อาการ ให้ตัวร้อน อาเจียน กระหายน้ำ อุจจาระตกเป็นมูกเลือด ทรางโคทำโทษ ถึงอายุ 2 ขวบ 5 เดือน แต่แรกล้มเจ็บ มา 15 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอย
อาจจะเป็นอันตรายเกิดขึ้นเพื่อกำเดา
ซางข้าวเปลือก เป็นซางจร มาแทรก ซางโคเจ้าเรือน
ลักษณะ
มีแม่ซาง 5 ยอด มีบริวาร 50 ยอด รวมเป็น 55 ยอด ขึ้นในที่ต่างๆ
ให้ผื่นคันตามตัวดังละอองข้าวเปลือก บางที่ผุดขึ้นดังปานแดง ปานดำ
บางทีเป็นรอยดังถูกตีดัวยนิ้วมือสีดำ แดง เขียว
อาการ
ให้ปากร้อน ท้องขึ้น อาเจียน อาหารไม่ได้ คันตามที่ผุดขึ้น บางทีชัก ลิ้นกระด้างคางแข็ง ซางข้าวเปลือกทำโทษ กำหนด 1 ขวบ 6 เดือน รวมกับซางโค เจ้าเรือนถึงอายุ 3 ขวบ 11 เดือน กับ 19 วัน
หละนิลกาฬ ประจำ ซางโคเจ้าเรือน
ลักษณะ
เมื่อจะบังเกิด ขึ้นให้ตายไปครึ่งตัว
อาการ
ร้องไม่ออก เป็นอยู่ 2-3 วัน จะกลายเป็น มหานิลกาฬ อาการร้ายนัก เขียวไปทั้งตัว
ละอองมหาเมฆ ประจำ ซางโคเจ้าเรือน
ลักษณะ
บังเกิดขึ้นดังดอกตะแบกช้ำ มีพิษร้ายมาก
อาการ
จับให้ชักมือกำหงิกงอ อุจจาระ ปัสสาวะไม่ออก
ลมหัสคินี ประจำ ซางโคเจ้าเรือน
ลักษณะอาการ
ให้ชักมือกำเท้ากำ ท้องขึ้น หลังแข็ง เหงื่อตก เป็นแต่เวลาเช้าถึงเที่ยงตาย
6. ทรางช้าง เป็นทรางเจ้าเรือนประจำทารก ที่เกิดวันศุกร์
ลักษณะ
มีแม่ซาง 5 ยอด มีบริวาร 85 ยอด ขึ้นในที่ต่างๆ
อาการ
ให้เซื่องซึม อาเจียน กระหายน้ำ ไอแห้งคอ เจ็บคอ อาหารไม่ได้ มีผื่นขึ้น รอบคอ
เปื่อยเน่า คันทั้งตัว ทรางช้าง ทำโทษถึงอายุ 2 ขวบ 9 เดือน แต่แรกล้มเจ็บ มา
กำหนด 16 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอย อาจเป็นอันตราย เกิดขึ้นเพื่อวาโย
ซางกระดูก เป็นซางจรมาแทรกซางช้างเจ้าเรือน
ลักษณะ
เป็นยอดขึ้นราว 2 วันแล้วหลบเข้าท้อง และกลับขึ้นโคน ลิ้นยอดแข็ง ดังตาปลา
อาการ
ให้ท้องเดิน มือเท้าเย็น ทรางกระดูกทำโทษ 7 เดือน รวมกับซางช้าง เจ้าเรือนถึงอายุ 3 ขวบ 4 เดือน กับ 21 วัน
หละแสงพระจันทร์ ประจำ ซางช้างเจ้าเรือน
ลักษณะ
เกิดขึ้นเป็นสีเหลืองเท่าเมล็ดข้าวโพด ขึ้นที่ต้นขากรรไกรขวาและซ้าย
อาการ
ให้ลิ้นกระด้าง คางแข็ง ตาแข็ง ร้องให้ไม่มีน้ำตา ท้องเดิน หน้าผาก ตึงและตัวร้อน
ลมอิลิต ประจำ ซางช้างเจ้าเรือน
ลักษณะ และอาการ
เมื่อบังเกิดขึ้น ทำให้คอเขียว ชักมือกำเท้ากำ บางทีชักข้างขวา บางทีชักข้างซ้าย
ลิ้นกระด้างคางแข็ง ร้องไม่ออก น้ำลายฟูมปาก ตากลับกลอก ยักคิ้วหลิ่วตา
เสมหะปะทะคอดังครอกๆ เมื่อตายแล้ว ตัวเหลือง ดังทาขมิ้นสด ลมนี้เกิดเพื่อละอองพระบาท คล้ายโรคลมกาฬสิงคลี
7. ซางโจร (ซางขโมย) เป็นซางเจ้าเรือนประจำทารก ที่เกิดวันเสาร์
ลักษณะ
มีแม่ซาง 9 ยอด มีบริวาร 58 ยอด รวมเป็น 67 ยอด ขึ้นในที่ต่างๆ
อาการ
ให้อาเจียน กระหายน้ำ ท้องเดิน ดุจส่าเหล้า น้ำคาวปลา น้ำล้างเนื้อ น้ำไข่เน่า ตกเป็นมูก เลือด หนอง สีเขียวดังใบไม้ ทรางโจร ทำโทษถึงอายุ 3 ขวบ 8 เดือน แต่แรกล้มเจ็บ มากำหนด 17 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอย อาจจะเป็นอันตราย
เกิดขึ้นเพื่อวาโย
ทรางนางริ้น เป็นซางจร มาแทรกซางโจรเจ้าเรือน
ลักษณะ
มีแม่ทราง 4 ยอด มีบริวาร 56 ยอด รวมเป็น 60 ยอด ขึ้นในที่ต่างๆ บางทีขึ้นแทรกทรางเจ้าเรือน บางทีขึ้นเมื่อหมดทรางเจ้าเรือนแล้ว
อาการ
ตาแดงดังโลหิต ลิ้นขาว ไอ คอแห้ง กระหายน้ำ ท้องเดินเป็นมูก เป็นโลหิตสดหรือเน่า
ตับย้อย เป็นไข้จับบางเวลา ปัสสาวะขัด บางทีออกเป็นน้ำขาว หรือดินสอพอง
เป็นหนองหยดย้อย ทรางนางริ้น ทำโทษ กำหนด 1 ขวบ 7 เดือน รวมกับ ทรางโจร เจ้าเรือน ถึงอายุ 5 ขวบ 4 เดือน กับ 10 วัน
หละมหานิลกาฬ ประจำซางโจรเจ้าเรือน
ลักษณะ
ขึ้นยอดดำ ดังยอดนิล ขึ้นอยู่ 1 วัน จึงแปรเป็นแสงเพลิง ขึ้นอยู่ 2 วัน
ย้ายไปขึ้นสลักเพชร์ ทั้งคู่
อาการ
ตายไปครึ่งตัว ร้องมิออก
ละอองเปลวไฟฟ้า หรือละอองทับ ประจำ ซางโจรเจ้าเรือน
อาการ ตายไปครึ่งตัว ร้องมิออก
ลักษณะ
เมื่อตั้งขึ้นเป็นเม็ดยอดแดง ดังน้ำชาด หรือดังยอดต้นทับทิม เกิดแทรกใน ทรางไฟ
หรือเกิดขึ้นเมื่อกำหนดทรางไปแล้ว
อาการ
ให้ลิ้นกระด้าง คางแข็ง ตาแข็ง ตัวร้อนจัด ชักมือกำเท้างอ
ลมกุมภัณฑ์ยักษ์ และลมบาทยักษ์ ประจำ ทรางโจรเจ้าเรือน
ลักษณะ
และอาการ ให้จับตาช้อนสูง หน้าเขียว ชักมือกำ เท้างอ หลังแอ่น กัดฟัน
ลมนี้เกิดสบทบกับอาการอื่น ที่เป็นพิษอยุ่แล้ว เกิดขึ้นเพราะถูกบาทเสี้ยนหนาม
เป็นบาดแผลเข้าที่ใดๆย่อมเป็นไข้พิฆาตให้เกิดลมกุมภัฑ์ยักษ์ลมบาทยักษ์ลมจำปราบ ที่กล่าวมานี้
กำหนดเวลาซางเจ้าเรือน ทำโทษ และเหตุที่เกิด
วัน 1 ซางไฟ เริ่มไข้ถึง 11 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอยอาจจะอันตราย เกิดขึ้นเพื่อกำเดา
วัน 2 ซางน้ำ เริ่มไขถึง 12 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอยอาจจะอันตราย เกิดขึ้นเพื่ออาโปธาตุ
วัน 3 ซางแดง เริ่มไข้ถึง 13 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอยอาจจะอันตราย เกิดขึ้นเพื่อโลหิต
วัน 4 ซางสะกอ เริ่มไข้ถึง 14 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอยอาจจะอันตราย เกิดขึ้นเพื่ออาโปธาตุ
วัน 5 ซางโค เริ่มไข้ถึง 15 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอยอาจจะอันตราย เกิดขึ้นเพื่อกำเดา
วัน 6 ซางช้าง เริ่มไข้ถึง 16 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอยอาจจะอันตราย เกิดขึ้นเพื่อลม
วัน 7 ซางโจร เริ่มไข้ถึง 17 วัน จึงถอย ถ้าไม่ถอยอาจจะอันตราย เกิดขึ้นเพื่อลม
-----------------------------------------------
-----------------------------------------------
อ้างอิง คู่มือการศึกษาวิชาเวชกรรม พ.ศ. 2522
รวบรวมโดย คณะกรรมการ และอาจารย์ สมาคม ร. ร. แพทย์แผนไทยโบราณ
วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ท่าเตียน -----------------------------------------------
ยารักษาโรคซาง
อ้างอิง คู่มือการศึกษาวิชาเวชกรรม พ.ศ. 2522
รวบรวมโดย คณะกรรมการ และอาจารย์
สมาคม ร. ร. แพทย์แผนไทยโบราณ
วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ท่าเตียน
-----------------------------------------------
1. ยาแสงหมึก
ส่วนประกอบ
หมึกหอม จันทน์ชะมด จันทน์เทศ ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู ใบพิมเสน
ใบกะเพรา ใบสันพร้าหอม ดีงูเหลือม หนักสิ่งละ 4 ส่วน ชะมด พิมเสน หนักสิ่งละ 1 ส่วน
วิธีทำ
บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ 0.2 กรัม
สรรพคุณ
แก้ตัวร้อน ละลายน้ำดอกไม้เทศ
แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง ละลายน้ำใบกะเพราต้ม
แก้ไอ ขับเสมหะ ละลายน้ำลูกมะแว้งเครือ หรือลูกมะแว้งต้น กวาดคอแก้ปากเป็นแผล แก้ละออง ละลายน้ำลูกเบญกานี ฝนทาปาก
ขนาดรับประทาน
ใช้กวาดคอ วันละ 1 ครั้ง หลังจากนั้น รับประทาน ทุก 3 ชม.
เด็ก อายุ 1-6 เดือน ครั้งละ 2 เม็ด
เด็ก อายุ 7-12 เดือน ครั้งละ 3 เม็ด
2. ยาประสะเปราะใหญ่
ส่วนประกอบ
เปราะหอม 20 ส่วน จันทน์แดง จันทน์เทศ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู โกฐหัวบัว โกฐเขมา โกฐสอ โกฐจุฬาลัมพา โกฐเชียง เทียนดำ เทียนแดง เที่ยนขาว
เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกบุนนาค
เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ 1 ส่วน
วิธีทำ
บดเป็นผง
สรรพคุณ ถอนพิษไข้ตานซาง สำหรับเด็ก ละลายน้ำดอกไม้เทศ หรือน้ำสุก รับประทาน หรือผสมน้ำสุราสุมกระหม่อม
ขนาดรับประทาน รับประทานทุก 3 ชั่วโมงครั้งละ 1/2 – 1 ช้อนกาแฟ
----------------------------------------------
----------------------------------------------
ชื่อยาและสรรพคุณ อ้างอิง ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 2
กองการประกอบศิลปะ
สาขาเวชกรรม เล่ม 2
กองการประกอบศิลปะ
--------------------------------------------
--------------------------------------------
คำศัพท์บางคำที่ควรรู้
สำรอก คือ อาการที่เด็กขย้อนเอาน้ำนม หรืออาหารที่กินเข้าไปแล้วกลับออกมาอีก อาการนี้
ถ้าพิจารณาดูก็เป็นอาการที่เกิดแก่เด็ก ด้วยเหตุธรรมดา สามัญอย่างหนึ่ง คือ กระเพาะอาหารของเด็ก ถ้ายิ่งเป็นเด็กอ่อน กระเพาะอาหาร ก็ยิ่งตึง
และมีความยืดหยุ่นมาก ยังไม่เคยบรรจุอาหารได้มากเท่าผู้ใหญ่ ประกอบกับการเลี้ยงดูเด็ก เช่น การให้นม ให้อาหารเด็ก คนโดยมากให้ไม่มีปริมาณ ไม่เป็นกำหนดเวลา เมื่อเด็กกินเข้าไปมาก หรือบ่อย กระเพาะอาหารของเด็กยังไม่โตพอที่จะรับอาหารได้มาก ก็บีบหรือหดรัดตัวขย้อนเอาน้ำนม และอาหารที่กินเข้าไปมากนั้นออกเป็นอาการสำรอก หรือแม้ให้กินแต่น้อยแต่พอดีเป็นเวลากำหนด เด็กก็อาจสำรอกได้ด้วย
ความยืดหยุ่นของกระเพาะอาหาร ด้วยการกระเทือน การเรอ การดิ้น
และการร้องของเด็กเป็นธรรมดา การให้นม และอาหารเด็กไม่เป็นกำหนด ให้กินเร็วๆ บางทีทำให้เด็กสำรอก และสะอึกบ่อยๆ เคยตัว หรือบางทีเกิดการบูดการเสียขึ้น ในท้องทำให้ท้องเสีย ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
ก็สำรอกมากถึงขนาดอาเจียน กินอะไรก็อาเจียน กลายเป็นโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ บางทีอุจจาระร่วง คือ ทั้งลง ทั้งราก กินไม่ได้ ท้องก็เดิน เด็กก็ผอมลง เป็นซาง
ซาง, ตานซางเนื่องจากเด็กกินนม และอาหาร แล้วเกิดบูดเน่าเสียขึ้น กินอะไรก็อาเจียน กลายเป็นโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเด็กกินไม่ได้ ท้องเดิน และผอมลงหรืออาจเกิดเป็นเม็ด เป็นฝ้า เป็นแผล เป็นเปื่อยก็เรียกว่า เป็นซาง บางทีเรียกตานซาง เรียกหละการให้เด็ก กินอาหารสกปรก ติดเชื้อโรค บางทีเป็นบิด เป็นมูก เป็นเลือด
หรือมูกเลือด บางทีก็เรียกตานซาง เรียกท้องเดิน
บางทีท้องอักเสบ เป็นไข้เพราะพิษเชื้อโรค หรือพิษอาหาร หรืออุจจาระเสีย
ก็เรียกว่าซาง
หรือไข้ซางเด็กบางคนกินอาหารสกปรก ติดไข่ หรือตัวพยาธิ ไส้เดือนเข้าไป ไส้เดือนเกิดเป็นตัวขึ้นในท้อง
เด็กกินอาหารเท่าใดไม่เจริญ คล้ายกับมีผีปอบ คอยขโมยกินอาหารในท้องเด็กอยู่ ก็เรียกตานขโมย หรือ ซางขโมยเด็กผอมลง ตะกละและอยากกินของแปลกๆ เพราะความหิว และธาตุพิการ ประสาทพิการ ท้องป่อง หรือพุงโร ก้นปอด แขนขาลีบ ไม่มีแรง ผิวพรรณหม่นหมอง จิตใจเศร้าซึม
หน้าตาจ๋อย เสียงเบา เหล่านี้เป็นตานขโมย ซางขโมย
เด็กที่เจ็บไข้ด้วยเหตุเหล่านี้ บางทีหรือนานๆ ผิวหนังแห้งเป็นสะเก็ด
นัยน์ตาเป็นเกล็ดกะดี่ ดูอะไรไม่เห็น ธาตุขาดอาหาร หรือวิตามิน ก็ยังคงเรียก
กันว่าเป็นซางบางทีมีโรคอื่นเข้าซ้ำ เข้าแทรก เข้าเติม เป็นฝีในท้อง เป็นหวัด ก็ว่าเป็นซาง
เป็นตานซางบางทีติดเชื้อหนองฝี เกิดเป็นเม็ด เป็นฝีตามร่างกายตามหัว ก็ว่าเป็น ฝีตาน, ฝีซางหรือต่อมน้ำเหลือง ตามร่างกาย หรือที่คอบวม หรือต่อมทอนซิลอักเสบ ก็ว่าเป็นซาง
เด็กที่ท้องเสีย เพราะกินนม กินกล้วย กินข้าว หรือกินอาหารอื่นๆ มากเกินไป หรือไม่เป็นเวลา เมื่อท้องเสีย เกิดเป็นพิษ เป็นไข้ ตีนกำ มือกำ กะตุก ชัก หอบ บางทีว่าเด็กต้องผีรก บางทีเรียกลมซาง บางทีก็เรียกปักษี เรียกสะพั้นปักษี บางทีเรียก สะพั้น หรือซางชัก บางทีเด็กเป็นหวัด หรือหวัดลงปอด ตัวร้อนเป็นไข้ต่างๆ ชัก ก็ว่าเป็นสะพั้นบ้าง ซางชักบ้าง
หละ, ซางหละ
เม็ดที่ขึ้นในปากในคอ บางทีเรียกหละ ซางหละ
บางทีท้องขึ้น หรือชัก ก็เรียก ลมหละ ลมซาง
ละออง
อาการเป็นฝ้าที่ลิ้นที่คอ และในปาก เรียกละออง บางที่เรียกละอองพระบาท
เนื่องจากเด็กกินนม และอาหาร แล้วเกิดบูดเน่า
เสียขึ้น กินอะไรก็อาเจียน กลายเป็นโรค
กระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ
เด็กกินไม่ได้ ท้องเดิน และผอมลง
หรืออาจเกิดเป็นเม็ด เป็นฝ้า เป็นแผล เป็นเปื่อย
ก็เรียกว่า เป็นซาง บางทีเรียกตานซาง เรียกหละ
บางทีท้องอักเสบ เป็นไข้เพราะพิษเชื้อโรค
หรือไข้ซางเด็กบางคนกินอาหารสกปรก ติดไข่
เด็กที่เจ็บไข้ด้วยเหตุเหล่านี้ บางทีหรือนานๆ
เด็กที่ท้องเสีย เพราะกินนม กินกล้วย กินข้าว
บางทีท้องขึ้น หรือชัก ก็เรียก ลมหละ ลมซาง
อาการเป็นฝ้าที่ลิ้นที่คอ และในปาก เรียกละออง
-------------------------------------------------
-------------------------------------------------
อ้างอิง อายุรเวทศึกษา โดย ขุนนิทเทศสุขกิจ 2 กุมภาพันธ์ 2516 เรื่องสรรพยาวิจารณ์ 2
เรื่องสรรพยาวิจารณ์ 2
-------------------------------------------------
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/03/blog-post.html
-------------------------------------------------
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
-------------------------------------------------
-------------------------------------------------
No comments:
Post a Comment