Search This Blog

Sunday, November 17, 2013

แพทย์พื้นบ้านทำคลอดโดยแม่ทาน (หมอตำแย)

แพทย์พื้นบ้านทำคลอด

โดยแม่ทาน (หมอตำแย)



จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


แพทย์พื้นบ้านทำคลอด

โดยแม่ทาน (หมอตำแย)

           เมื่อสมัยก่อน การคลอดบุตรต้องอาศัยแม่ทานหรีอหรือตำแยช่วยคัดท้องจัดท่าทางทารกในครรภ์คลอดง่าย ซึ่งถือว่าเป็นภูมิปัญญาของคนไทยแต่ละท้องถิ่นตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันนี้หลังจากถูกครอบงำด้วยระบบแพทย์แผนต่างชาติ ที่เข้ามาตั้งแต่รัชกาลที่ 3 ตอนแรกๆ คนไทยยังไม่นิยม แต่ใช้อุบายแจกนมผงผ้าอ้อม จึงทำให้คนไทยเข้าไปเป็นลูกค้าตาม รพ. ต่างๆ มากขึ้นจนแน่น รพ.

          ปัจจุบันมีลูกค้าพะม่าเข้าไปอยู่ที่ รพ. มาก จึงทำให้ราคาค่าทำคลอดแพงขึ้นมากมายหลายหมื่น บาท หญิงไทยไม่มีเงินค่าทำคลอด ต้องกลับบ้าน และเด็กออกมาตายอย่างน่าอนาถ ถ้าเป็นสมัยก่อน แม่ทานในชุมชนช่วยทำคลอดได้เด็กคงไม่ตายแน่ๆ น่าเสียดายเด็กคนนั้นอาจเป็นบุคคลสำคัญของชาติก็ได้ใครเล่าจักรู้ ถ้ายังมีแม่ทานหมอตำแยก็ไม่ต้องไปทำคลอดที่ รพ. ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทารกคลอดในรถยนต์หลายคน เพราะรถติด จึงควรส่งเสริมให้มีแพทย์พื้นบ้านแม่ทานทำคลอด (หมอตำแย) 
หรือโต๊ะบีแด
         
      

 





          ผู้เขียนก็เคยเกิดด้วยวิธีทำคลอดแบบโบราณเมื่อปี 2488 ต้องอยู่ที่บ้านแม่ทานซึ่งเป็นแม่ยก 6 เดือน จึงได้กลับบ้านไปอยู่กับแม่ได้ เพราะมีสายรกพันรอบคอ เขาว่าเลี้ยงยากเลยยกให้เป็นลูกแม่เจิม ณ ถลางซึ่งเป็นแม่ทานเป็นแม่ยกกินหมากปากแดงเมื่อ 68 ปีมาแล้ว บ้านอยู่ที่ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


          แม่ทาน (หมอตำแย) หรือโต๊ะบีแด ที่ช่วยเหลือทำคลอดให้ชาวบ้านเป็นจำนวนมากสมควรได้รับเกียรติยกย่อง เช่น แม่เจิม ณ ถลาง แม่หนุ่ย ต่อวงศ์ ก๊ะเดี๊ย และก๊ะแดง ที่ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ได้มรณภาพไปนานแล้ว และไม่มีผู้สืบทอดอย่างน่าเสียดาย

             ชาวบ้านส่วนใหญ่จะให้แม่ทาน (หมอตำแย) หรือโต๊ะบีแด เป็นผู้ทำคลอดให้ เป็นเพราะมีความผูกพันกันมาหลายช่วงอายุคน หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ไปฝากท้องกับทางโรงพยาบาล ก็เพราะว่า มีความไว้เนื้อเชื่อใจ รวมทั้งมีความผูกพันมาตั้งแต่เด็ก รู้สึกไว้วางใจ ส่วนการคลอดที่โรงพยาบาลนั้น ต่างจากการทำคลอดที่บ้าน ซึ่งที่โรงพยาบาลเราไม่รู้จักใครเลย ทั้งหมอ ทั้งพยาบาล แต่กับแม่ทาน (หมอตำแย) หรือโต๊ะบีแดนั้น ผูกพันกันมาตั้งแต่เกิด  



            ส่วนความเห็นของแพทย์โรงพยาบาล บางคน  บอกว่า แม่ทาน (หมอตำแย) หรือโต๊ะบีแด ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน และเป็นวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน โดยบางโรงพยาบาลก็ได้มีการสนับสนุน ด้วยการให้ความรู้ เกี่ยวกับการทำคลอด และการคำนึงถึงความสะอาดให้ระหว่างการทำคลอด รวมทั้งแนะนำให้สวมถุงมือยาง และให้วัตถุต่างๆที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้เพื่อให้แม่และลูกที่คลอดออกมา 
มีความปลอดภัยสูงสุด



หน้าที่ของแม่ทาน (หมอตำแย) หรือโต๊ะบีแดนั้น ก็จะมีส่วนในการช่วยเหลือดูแลหญิงมีครรภ์ได้อย่างใกล้ชิดกว่าทางโรงพยาบาล เนื่องจากส่วนใหญ่ก็คือชาวบ้านในหมู่บ้านนั่นเอง ซึ่งหลังจากคลอดแล้ว ก็ยังมีหน้าที่ดูแลหญิงหลังคลอดด้วย








วิธีของการดูแลหลังคลอดแบบแผนไทย โดยมารดาหลังคลอด 1 คน อาจจะใช้เพียง 1-2 วิธีเท่านั้น ดังต่อไปนี้

1. การอบสมุนไพร
การอบสมุนไพรไทยหลังการคลอด เป็นวิธีการที่จะทำให้ร่างกายได้ขับของเสียออกทางผิวหนัง ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้ผิวพรรณสดชื่น แจ่มใส สะอาด สำหรับผู้ที่คลอดปกติ จะทำการอบได้เมื่อครบกำหนด 7 วัน และสำหรับผู้ที่คลอดโดยการผ่าคลอด จะอบได้เมื่อ
ครบหลังคลอด 30 วัน

ตัวยาในการอบรมสมุนไพร มีดังนี้ คือ ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบมะกรูด และผิวมะกรูด ใบหญ้าคา ใบพลับพลึง ว่านน้ำ ว่านชักมดลูก ว่านมหาเมฆ ว่านนางคำ ใบเปล้าหลวง ขิง ใบช้าพลู ใบส้มป่อย

วิธีอบ ควรอบวันละประมาณ 20 นาที และอบสมุนไพรทุก ๆ วัน
จนครบ 7 วัน

2. การประคบสมุนไพร
เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แผลฝีเย็บแห้งดีและลดการอักเสบ และลดการคัดของเต้านม ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังคลอดบุตร 7 วัน สามารถประคบด้วยลูกประคบ ซึ่งมีตัวยาหลักดังนี้ ไพล ตะไคร้ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด เถาขมิ้นอ่อน ใบส้มป่อย ใบมะขาม การบูร

วิธีประคบ ใช้ลูกประคบ 3 ลูก ใช้นั่งทับ 1 ลูก อีก 2 ลูก ใช้ประคบตามร่างกายและเต้านมประคบทุกวันจนนมหายคัด หลังจากประคบอาจใช้น้ำที่เหลือจากการอบสมุนไพร ทิ้งไว้ให้พออุ่นแล้วอาบให้หมดแล้วจึงอาบน้ำอุ่น ๆ ล้างอีกครั้งหนึ่ง

3. การนั่งถ่าน
เป็นการใช้ความร้อนและควันจากการเผาไหม้ของตัวยาสมุนไพร เพื่ออบบริเวณช่องคลอด ซึ่งช่วยสมานแผลจากการคลอดบุตร ส่วนประกอบในตัวยามีดังนี้ ผิวมะกรูดแห้ง เหง้าว่านน้ำ ว่านนางคำ ไพล ขมิ้นอ้อย ชานหมาก เปลือกต้นชะลูด ขมิ้นผงและใบหมาก

วิธีการนั่งถ่าน
หั่นตัวยาสมุนไพรให้ละเอียด แล้วนำมาตากแดดให้แห้งก่อเตาไฟเล็ก ๆ และกลบขี้เถ้าให้ร้อนพอทนได้ นั่งเก้าอี้ไม้เจาะรูตรงกลางวางครอบเตาไฟเอาตัวยาสมุนไพรโรยบนเตาถ่าน จะเกิดควันจากการเผาไหม้ ตัวยาจะพลุ่งขึ้นมาเองมารดาหลังคลอดนั่งบนเก้าอี้ให้ควันและความร้อนเข้าสู่ช่องคลอด ให้มารดาหลังคลอดนั่งถ่านวันละ 1 ครั้ง ๆ ละ ½ ชม. โดยทำภายหลังจากการนาบหม้อเกลือ

----------------------------------------------------------

ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต 






Friday, November 8, 2013

แพทย์พื้นบ้านสมุนไพรผักไร้สารพิษ

 

แพทย์พื้นบ้านสมุนไพรผักไร้สารพิษ

แปลงปลูกผักไร้สารพิษในล้อยาง

จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

  
หมออ้านกับหมอสุชาติ 

 
ครอบจักรวาฬ (ครอบฟันสี)

 
ครอบจักรวาฬ (ครอบฟันสี) 

ครอบจักรวาฬ (ครอบฟันสี)

พญาวานร

 พญาวานร

ครอบจักรวาฬ (ครอบฟันสี) อบแห้ง

 ครอบจักรวาฬ (ครอบฟันสี) อบแห้ง

ตู้อบแสงแดด

ตู้อบแสงแดด

ผักไร้สารพิษ 

 ผักไร้สารพิษ
  
 ผักไร้สารพิษ

 ผักไร้สารพิษ

  ผักไร้สารพิษ

ผักไร้สารพิษ

ตัวอย่างจดหมายที่ส่งมาขอสมุนไพร และรายงานผลการใช้

ตัวอย่างจดหมายที่ส่งมาขอสมุนไพร และรายงานผลการใช้

ตัวอย่างจดหมายที่ส่งมาขอสมุนไพร และรายงานผลการใช้


 ตัวอย่างจดหมายที่ส่งมาขอสมุนไพร และรายงานผลการใช้



ตัวอย่างจดหมายที่ส่งมาขอสมุนไพร และรายงานผลการใช้

ตัวอย่างจดหมายที่ส่งมาขอสมุนไพร และรายงานผลการใช้

ตัวอย่างจดหมายที่ส่งมาขอสมุนไพร และรายงานผลการใช้

ตัวอย่างจดหมายที่ส่งมาขอสมุนไพร และรายงานผลการใช้

ตัวอย่างจดหมายที่ส่งมาขอสมุนไพร และรายงานผลการใช้

หากมีใครนึกถึงเทศกาลถือศีลกินผักของจังหวัดภูเก็ต ก็คงจะพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงความยิ่งใหญ่ และน่าเลื่อมใสศรัทธาของประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่หากจะนึกถึงใครสักคนที่มีความเกี่ยวข้อง ในเทศกาลกินผัก ก็คงจะไม่มีใครไม่นึกถึงเขา “ธีรวุธ ศรีตุลารักษ์”หรือ “แป๊ะอ้าน” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ในภาพลักษณ์ของผู้อุทิศตนเสียสละเพื่อช่วยเหลือสังคมภูเก็ตด้วยดีตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเทศกาลกินผักของทุกปี และในวันนี้ นอกจากที่เราจะได้เห็นแป๊ะอ้านในด้านการช่วยเหลือสังคมและดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ด้านการกุศลในภูเก็ตแล้ว เรามารู้จักอีกมุมมองหนึ่งของแป๊ะอ้าน ในฐานะผู้ใจบุญ ที่ใช้เวลายามว่างในแต่ละวันมาปลูกต้นสมุนไพรรักษาโรคกันค่ะ

จุดเริ่มต้นของการปลูกสมุนไพรตรงนี้มีที่มาอย่างไรคะ
“ที่มาที่ไปตรงนี้ เกิดจากการที่ก่อนหน้านี้ ผมเองก็มีโครงการปลูกไม้ประดับเป็นกระถางประมาณ 500 กระถาง ไว้สำหรับให้คนมายืมไปใช้ในงานพิธีต่างๆ อยู่ก่อนแล้ว คือใครต้องการใช้ในงานอะไร ก็ให้มายืมได้ที่บริษัทของผม ซึ่งผมก็บริการขนส่ง ไปให้ฟรีถึงที่ อีกทั้ง 4 ปีที่ผ่านมา ที่ผมได้ดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ผมก็ได้ใช้ที่ดินของผมปลูกผักบุ้งจำนวน 26 แปลง เพื่อใช้ในการประกอบอาหารในเทศกาลถือศีลกินผักของศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย เพื่อเป็นการลดต้นทุนให้กับทางศาลเจ้า คราวนี้ผมยังพอมีที่ดินอยู่ จึงคิดปลูกต้นยาสมุนไพรครอบจักรวาล แล้วผมก็นำสมุนไพรเหล่านี้มาตากแห้ง ตามสูตรที่ได้มาจากโกหมิ่น เจ้าของร้านเฮียบโห ถนนบางกอก และบรรจุใส่ถุงเพื่อแจกจ่ายฟรี ให้กับผู้ที่เดือดร้อน โดยเฉพาะโรคไตหรือเบาหวาน หรือจะนำมาดื่มเป็นน้ำสมุนไพรก็ได้ ส่วนต้นพญาวานรหรือต้นฮวาน-ง็อก นั้นเป็นยาดีจากประเทศเวียดนามที่ผมได้พันธุ์ไม้ชนิดนี้มาจากเพื่อนที่ จ.ตรัง ซึ่งผมได้ปลูกแจกจ่ายต้นพญาวานรนี้ ให้กับคนทั่วไปไว้นำไปปลูกที่บ้านเพื่อทานเป็นยารักษาโรคโดยมีตำราแจกคู่กันไปกับต้นไม้ด้วย”

ทราบมาว่า ต้นพญาวานรหรือต้นฮวาน-ง็อก เป็นสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคมะเร็งด้วย
“ใช่ครับ ผมเองก็เพิ่งมารู้ทีหลังว่าสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ เพราะมีแม่ค้าที่ตลาดเกษตรเขาเอาหนังสือเล่มหนึ่งมาให้ดู ซึ่งเป็นหนังสือชื่อ "12 วิธีพิชิตมะเร็ง"ที่ อ.ชาญชัย บุญเฮ้า ผู้พิชิตมะเร็งระยะสุดท้ายได้เขียนไว้ ซึ่งปกหลังของหนังสือเล่มนี้เป็นรูปของต้นพญาวานร ตอนนี้สำหรับคนที่เป็นมะเร็งและมารับต้นพญาวานรจากผม ผมก็จะแจกหนังสือเล่มนี้ให้ เพื่อที่เขา จะได้ไปศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งด้วย ส่วนต้นครอบจักรวาลนั้น ก็เป็นสมุนไพรดีรักษาได้หลายโรค ที่เดือนๆ หนึ่งผมทำประมาณพันกว่าถุง ซึ่งผมแจกฟรีทั้งนั้น ซึ่งตอนนี้แพร่หลายไปทั่วจังหวัดภูเก็ตแล้ว และก็ส่งไปที่ต่างจังหวัดอีกประมาณ 26 จังหวัด ในหน้าซองเราจะเขียนไว้หมดว่าให้ฟรี ห้ามจำหน่าย แต่ขอให้คนที่นำไปแล้วตั้งใจหน่อย ตั้งใจกิน แล้วอาการต่างๆ จะหาย เพราะว่าจากประสบการณ์ของผู้ที่ มาเอายาของผม หลายๆ คนก็บอกว่าได้ผล”

แป๊ะอ้านใช้เงินทุนของตนเองหมดเลยหรือคะ
“ผมใช้ทุนทรัพย์ของตนเองทั้งหมดครับ อย่างต้นพญาวานร ก็ลงทุนแค่ซื้อถุงดำอย่างเดียว แล้วก็ให้ลูกน้องของผมมาช่วยกันปลูกหลังจากที่ทำงานหลักเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนต้นครอบจักรวาลที่ผมปลูกบนที่ดินประมาณ 3 ไร่นั้น ก็สามารถขยายพันธุ์ได้เอง โดยเมื่อเมล็ดตกลงสู่พื้นดินก็จะขยายพันธุ์เป็นต้นใหม่อย่างนี้เรื่อยๆ จนเต็มพื้นที่ การปลูกต้นสมุนไพรเหล่านี้จึงแทบไม่ต้องใช้การลงทุนอะไรมากเลย”

ทำงานเพื่อสังคมมากขนาดนี้ มีผลกระทบกับงานหลักของแป๊ะอ้านบ้างไหมคะ
“ไม่ครับ โชคดีที่งานในบริษัทศรีธรรมรินทร์ ฟิชเชอรี่ จำกัด ของผมที่รับซื้อปลา ก็มีลูกชายคนโต เขารับช่วงต่อมาบริหารกิจการของครอบครัวอย่างเต็มตัวแล้ว ทำให้ผมมีเวลาทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อสังคมภูเก็ตได้อย่างเต็มที่ ทุกวันนี้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ของชีวิตผมคือการช่วยเหลือสังคม”

มีวิธีการดูแลสุขภาพกายและใจอย่างไร แป๊ะอ้านถึงได้ดูมีความสุขอยู่ตลอด
"ผมไม่เคยมีเรื่องเครียดหรือทุกข์ใจเลย ผมมีความสุขกับสิ่งที่ทำและสิ่งที่ผมได้รับจากการกระทำมาตลอด ครอบครัวของผมมีความสุขมาก ลูกชายของผมทั้งสี่คนไม่เคยเลยสักครั้งเดียวที่จะทำความยุ่งยากใจให้ ซึ่งผมคิดว่าจากการที่ผมได้ช่วยในการกุศลต่างๆ เบื้องบนเขาคงจะช่วยให้ผม ประสบความสำเร็จในเรื่องครอบครัว ทำให้ผมมีกำลังใจมากขึ้นที่ได้ช่วยเหลือสังคม ด้านสุขภาพกาย ผมก็ใช้การออกกำลังกาย โดยการเดินดูต้นไม้ที่เราได้ปลูก ผมเดินดูต้นยาสมุนไพรครอบจักรวาล ที่ผมปลูกเพื่อทำยาสมุนไพร ซึ่งผมปลูกไว้บนพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ พอต้นโตเต็มที่ ผมและลูกน้องของผมก็จะช่วยกันถอนแล้วก็เอาต้นมาสับ และนำมาตากแดด กิจวัตรของผมเป็นอย่างนี้ ผมมีความสุขมาก"

คิดว่าจะทำงานเพื่อสังคมอย่างนี้ตลอดไปไหม
"ผมตั้งปณิธานไว้แล้วว่า จะช่วยเหลือสังคมภูเก็ตไปตลอดจนกว่าเรี่ยวแรงของผมจะหมด เพราะรางวัลที่ผมได้รับจากการที่ได้ช่วยเหลือสังคมก็คือความสุข ครอบครัวของผมอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ลูกน้องผมทุกคนอยู่กันอย่างสามัคคี เราอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ที่รักใคร่ปรองดองกันดี นี่คือสิ่งที่ผมได้รับและตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะช่วยสังคมต่อไปจนกว่าจะหมดเรี่ยวแรง"

นี่คืออีกหนึ่งบุคคลในสังคมภูเก็ตที่น่ายกย่องในการเสียสละและอุทิศตนเพื่อสังคม ท้ายสุดนี้ แป๊ะอ้านได้กล่าวทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้มทั้งสีหน้าและแววตากับทีมงานบูลเลทินออนไลน์ ไว้ว่า "ผมมีความสุขมากกับชีวิตที่ได้ช่วยเหลือสังคมภูเก็ตอย่างทุกวันนี้ เพราะผมทำทุกอย่างด้วยใจ"


ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต และสมุนไพร
https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/03/blog-post.html